หลายคนอยากลงทุนทำธุรกิจร้านอาหาร แต่ไม่อยากลองผิดลองถูก หรือเสียเวลาปั้นแบรนด์ขึ้นมาใหม่ จึงเลือกที่ซื้อแฟรนไชส์ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จแล้ว มาเปิดเป็นของตัวเอง เพราะมองว่าช่วยลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจได้ แนวคิดเช่นนี้อาจไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะการทำธุรกิจ แฟรนไชส์ร้านอาหาร ก็มีความเสี่ยงและมีโอกาสไปไม่รอดได้เหมือนกัน แม้ว่าจะเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง หรือมีฐานลูกค้าอยู่แล้วก็ตาม
หากคุณกำลังศึกษาธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารที่น่าลงทุน อยากแนะนำให้อ่านบทความนี้ เรามีเทคนิคในการเลือก แฟรนไชส์ร้านอาหาร ที่ใช่ ไม่เสี่ยงเจ๊งมาฝาก
เทคนิคเลือก แฟรนไชส์ร้านอาหาร ที่ใช่ ไม่เสี่ยงเจ๊ง
1. สำรวจตลาด ทำเล และคู่แข่ง:
ก่อนจะเลือกแฟรนไชส์ใดก็ตาม คุณจำเป็นต้องสำรวจตลาด และวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ ให้ดีเสียก่อน เพื่อประเมินว่า ลูกค้าในพื้นที่นั้นเป็นใคร มีรายได้เท่าไหร่ มีพฤติกรรมและความชอบอย่างไร ใช่กลุ่มลูกค้าของอาหารที่เราจะอุดหนุนอาหารของเราจริงหรือเปล่า
การสำรวจตลาดและการเลือกทำเล มีส่วนสำคัญมากๆ ต่อความอยู่รอดของร้านอาหาร แม้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่เราซื้อมานั้นจะมีชื่อเสียงโด่งดังแค่ไหน แต่ถ้าเลือกทำเลพลาด หรือไม่ได้ศึกษาตลาดให้รอบคอบ ก็มีโอกาสเจ๊งได้เหมือนกัน
นอกจากนี้คุณควรศึกษาคู่แข่งในพื้นที่เดียวกันด้วย หากมีร้านคู่แข่งอยู่แล้ว ก็ต้องวิเคราะห์ต่อว่า อะไรคือจุดเด่นที่ทำให้ลูกค้าอุดหนุนร้านเหล่านั้น และอะไรคือจุดต่าง ที่ทำให้ลูกค้าเปลี่ยนใจมาอุดหนุนร้านของเรา
2. เลือกแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียง และมีประสบการณ์:
การลงทุนซื้อแฟรนไชส์ ควรพิจารณาเลือกแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียงที่ดี และมีประสบการณ์ เป็นที่ยอมรับ เพราะชื่อเสียงที่ดีช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาลูกค้าได้
นอกจากนี้แฟรนไชส์ที่มีประสบการณ์มักจะมีระบบการทำธุรกิจที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ซอร์ได้ดี รวมไปถึงมีความมั่นคงทางการเงิน มีคู่ค้าทางธุรกิจ และแผนธุรกิจที่ช่วยให้คุณสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างราบรื่นและมั่นคง
3. พิจารณาการซัพพอร์ตจากแฟรนไชส์ซอร์:
หลายคนเปรียบเทียบไว้ว่า เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซอร์ ก็เหมือนกับพี่เลี้ยง เมื่อไหร่ที่กิจการมีปัญหา แฟรนไชส์ซอร์ต้องพร้อมช่วยเหลือให้กิจการอยู่รอดไปได้ตลอดอายุสัญญา
ดังนั้น ก่อนลงทุนกับแฟรนไชส์ใด คุณจะต้องมั่นใจว่า แฟรนไชส์นั้นๆ มีการอบรมหรือเทรนนิ่งอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน นอกจากนี้ต้องมีแผนการตลาด เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับเราอย่างสม่ำเสมอ
บางคนเมื่อซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว กลับไม่ได้รับการดูแลจากแฟรนไชส์ซอร์เท่าที่ควร โดยเฉพาะด้านการตลาด ทำให้รู้สึกเหมือนกับถูกทอดทิ้ง และไปต่อไม่ได้ ส่วนใหญ่คนที่มักเจอปัญหานี้ คือ แฟรนไชส์ซีที่ซื้อแฟรนไชส์แบบที่ไม่ต้องจ่ายค่า Royalty fee ซึ่งก็คือค่าสิทธิ์ หรือ ค่าธรรมเนียมการจัดการรายเดือน ที่เรียกเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย ดังนั้น หากคุณเจอว่า แฟรนไชส์เจ้าไหนไม่ได้เก็บค่า Royalty Free อย่าลืมถามให้ละเอียดว่า คุณจะได้การซัพพอร์ตอะไรบ้างจากแฟรนไชส์ซอร์
4. มองหาแฟรนไชส์ที่มีระบบและมาตรฐานที่ชัดเจน:
การซื้อแฟรนไชส์ร้านอาหาร ไม่ใช่แค่เพียงการซื้อสูตรอาหาร หรือซื้อชื่อแบรนด์มาทำต่อเท่านั้น แต่คือการซื้อระบบบริหารงานทั้งหมดมาจัดการ ดังนั้น ก่อนที่คุณจะลงทุนซื้อแฟรนไชส์เจ้าไหน ควรมองให้ลึกถึงระบบและมาตรฐานในการบริหารงานของแฟรนไชส์เจ้านั้นๆ
หากแฟรนไชส์มีระบบในการบริหารจัดการร้านที่ดี คุณจะไม่ต้องเสียเวลามาปวดหัวกับการวางแผนว่า จะต้องให้พนักงานรับออร์เดอร์อย่างไร ใช้ระบบแบบไหนในการจัดการร้านอาหาร จะส่งออร์เดอร์เข้าครัวอย่างไร เพราะแฟรนไชส์ซอร์มีการวางระบบทั้งหมดนี้ไว้ให้เป็นมาตรฐานแล้ว
นอกจากนี้แฟรนไชส์ที่ดีควรจะมีระบบเพื่อตรวจสอบมาตรฐานของทุกๆ สาขา ให้เป็นไปในทางเดียวกันอยู่เสมอ เพื่อรักษาภาพลักษณ์และชื่อเสียงของแบรนด์ไว้ให้อยู่ในมาตรฐาน และเมื่อไหร่ที่เกิดปัญหากระทบภาพลักษณ์ของแบรนด์ แฟรนไชส์ซอร์ก็จะมีวิธีจัดการที่เป็นมืออาชีพ ทำให้แฟรนไซส์ซีไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
หวังว่า ทั้ง 4 เทคนิคในการเลือกแฟรนไชส์ร้านอาหาร ที่นำมาแนะนำนี้ จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีตัวช่วยในการเลือกแฟรนไชส์ที่ใช่สำหรับคุณ
คำศัพท์เกี่ยวกับแฟรนไชส์
- แฟรนไชส์ซอร์ (Franchisor) คือ ผู้ให้สิทธิในการประกอบธุรกิจ หรือเจ้าของแบรนด์
- แฟรนไชส์ซี (Franchisee) คือ ผู้รับ สิทธิในการประกอบธุรกิจ หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- แฟรนไชส์ฟี (Franchise Fee) คือ ค่าธรรมเนียมแรกเข้าก่อนจะเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ ที่แฟรนไชส์ซีต้องจ่ายให้กับแฟรนไชส์ซอร์
- รอยัลตี้ฟี (Royalty Fee) คือ ค่าธรรมเนียมที่แฟรนไชส์ซีต้องจ่ายให้กับแฟรนไชส์ซอร์อย่างต่อเนื่อง เช่น รายเดือน รายปี ส่วนใหญ่มักจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายรายเดือน
ขอบคุณรูปภาพจาก Freepik
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
แนะนำมือใหม่ อยากลงทุนแฟรนไชส์ ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง
10 สิ่งที่ต้องทำ ถ้าอยาก เปิดร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จ
เตรียมพร้อมก่อนเปิดร้านอาหาร ทำ 8 สิ่งเหล่านี้ให้เสร็จก่อนเปิดร้าน
7 วันก่อนเปิดร้าน แชร์เทคนิค เทรนพนักงานครัว ให้เป๊ะ เป็นงานไว
จะตั้งชื่อร้านต้องเริ่มต้นยังไง แบบไหนถึงเรียกว่าดี? 4 เทคนิค ตั้งชื่อร้านยังไงให้ปัง
แสงสว่างสำคัญแค่ไหน ข้อควรรู้สำหรับ เทคนิคจัดไฟในร้านอาหาร
ทำเลไม่ดี แต่ก็ย้ายที่ไม่ได้ รวมวิธีแก้ปัญหาเรื่องทำเล สำหรับร้านอาหาร