ยุคนี้ใคร ๆ ก็อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง บางคนมีไอเดียสร้างแบรนด์ สร้างสินค้าเป็นของตัวเองได้ แต่สำหรับบางคนที่ไม่รู้จะเริ่มขายอะไร ก็อาจจะมองธุรกิจแฟรนไชส์เป็นอีกหนึ่งทางเลือก เพราะไม่ต้องคิดแบรนด์ขึ้นมาเอง แค่สนใจแบรนด์ไหนที่มีเปิดขายแฟรนไชส์ก็สามารถไปติดต่อได้เลย แต่ว่าจะง่ายก็ไม่เชิงเพราะการทำธุรกิจประเภทนี้นอกจากค่าใช้จ่ายทั่วไปในการตกแต่งร้าน สถานที่แล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์ยังมีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ต้องเสียเพิ่มด้วย เพราะฉะนั้นมือใหม่ อยากลงทุนแฟรนไชส์ มาลองกันก่อนว่ามีค่าธรรมเนียมอะไรที่ต้องจ่ายบ้าง
แนะนำมือใหม่ อยากลงทุนแฟรนไชส์
ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง
ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น Franchise Fee
เป็นค่าธรรมเนียมแรกเข้า ที่ผู้ซื้อต้องจ่ายให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ ก่อนที่จะทำการเริ่มต้นเปิดสาขาใหม่ของคุณ พูดง่าย ๆ ก็เหมือนเป็นการจ่ายให้กับค่าเครื่องหมายการค้าของแบรนด์เพื่อให้ได้สิทธิ์ในการขายสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ซึ่งรวมถึงระบบ เทคนิคการบริหารจัดการ ซึ่งแต่ละแบรนด์ก็มีเงื่อนไขการครอบคลุม Franchise Fees ที่ต่างกันไปเพราะฉะนั้นต้องสอบถามให้ดีก่อนตัดสินใจ
ค่าธรรมเนียมสิทธิต่อเนื่องใช้ชื่อแบรนด์ Royalty Fee
ค่าธรรมเนียมส่วนนี้มีทั้งรุปแบบชำระรายเดือน หรือรายปี แล้วแต่ข้อตกลงแต่ละแบรนด์ ซึ่งผู้ซื้อจ่ายให้เจ้าของแบรนด์ มีตั้งแต่ 1-3% ของยอดขาย แล้วแต่เงื่อนไขแต่ละแบรนด์อีกเช่นกัน โดยเงินส่วนนี้ ส่วนใหญ่มักเก็บไปเพื่อการพัฒนาแบรนด์ต่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งเสริมการขาย การขนส่ง พัฒนาสินค้า การบริการ ฯลฯ สำหรับในอนาคตให้ยังคงมาตรฐานเช่นเดิม หรือดีกว่าเดิม และธุรกิจเติบโตต่อไป
ค่าการตลาด Marketing Fee
ค่าธรรมเนียมส่วนนี้ผู้จะซื้อแฟรนไชส์ต้องจ่ายให้เจ้าของแบรนด์เช่นกัน โดยอาจจะชำระเป็นรายเดือน ส่วนกี่เปอร์เซ็นต์นั้น ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงแต่ละแบรนด์เช่นกัน อาจจะเฉลี่ยประมาณ 3-5%ซึ่งแน่นอนว่าเงินส่วนนี้จะถูกนำไปใช้สนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการขายต่าง ๆ ของแบรนด์ เพื่อเป็นการเพิ่มยอดขายให้แต่ละสาขา ได้มียอดขายที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง
ค่าธรรมเนีนมอื่น ๆ
หลัก ๆ ก็จะประมาณที่บอกไป แต่ในบางแบรนด์ก็อาจจะมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ อีกได้ เช่น ค่าธรรมเนียมฝึกอมรมการขาย เพื่อให้ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ไปสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีแนวทางมากขึ้น หรือจะเป็นค่าธรรมเนียมการจัดประชุม ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อให้ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์เข้าใจแบรนด์มากขึ้น หรืออาจมีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันกับสาขาอื่น ๆ เพื่อปรึกษาปัญหา และผลักดันธุรกิจให้ดีขึ้น
ต้องบอกว่า ค่าธรรมเนียมของแต่แบรนด์มีเงื่อนไข และข้อตกลงที่แตกต่างกันออกไป นี่อาจจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะฉะนั้นผู้ที่สนใจควรศึกษารายละเอียดก่อนตัดสินใจอย่างถี่ถ้วน ว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เคล็ดลับ นับสต๊อกร้านอาหาร และจัดการวัตถุดิบ ทำเป็นเห็นกำไร
สร้างเมนูใหม่กำไรเข้าร้าน ด้วยไอเดีย จัดการ Food Waste สไตล์ตะวันตก
รวมสารพัดวิธีแก้ ปัญหาลูกค้าแน่นร้าน จัดการดีไม่มีสะดุด
รับช่วงต่อกิจการ อย่างไรไม่ให้เจ๊ง!
เทคนิคเก็บ เซอร์วิสชาร์จร้านอาหาร ทำอย่างไรให้ลูกค้าพอใจที่ต้องจ่าย
ข้อดีและข้อเสียของการทำ เมนู QR CODE หรือ เมนูอาหารออนไลน์
Lucky’s Hungry ข้าวผัดอเมริกันบนเดลิเวอรี ที่ไม่ได้ใช้แค่ “โชค” เป็นส่วนประกอบ
เช็กเลย! คุณกำลัง ลดต้นทุนร้านอาหาร แบบผิด ๆ อยู่หรือเปล่า?