ตัดสินใจให้เฉียบ

ตัดสินใจให้เฉียบ แบบผู้ก่อตั้งและอดีต CEO Amazon ‘Jeff Bezos’

 

“เราไม่สามารถใช้วิธีเดียวกันในการตัดสินใจทุกอย่าง และทุกเรื่องได้” – Jeff Bezos

Amazon เว็บอีคอมเมิร์ซที่ขายสินค้ากว่า 6,500 ชิ้น ภายในเวลา 1 นาที และในปีที่ผ่านมา Amazon ถูกจัดอันดับให้เป็นแบรนด์เทคโนโลยีที่มีมูลค่าสูงทีสุดในโลก โดยสูงถึง 299,280 ล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ Amazon ยังมีผลิตภัณฑ์และบริการอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น amazon Prime, amazon Prime music, amazon drive, amazon web service, amazon kindle และอื่น ๆ

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในแรงขับเคลื่อนที่ทำให้ amazon มาได้ไกลอย่างทุกวันนี้ มีส่วนประกอบในการตัดสินใจของ Jeff Bezos ด้วย

‘การตัดสินใจที่ดี คือการตัดสินใจที่มีคุณภาพและรวดเร็ว’ เบโซส์เชื่อว่าสิ่งที่ทำให้ธุรกิจนวัตกรรมประสบความสำเร็จนั่นคือ การตัดสินใจที่มีคุณภาพและรวดเร็ว ในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นของ Amazon เบโซส์ก็ได้บอกเล่าความคิดและการบริหารต่างๆ ของเขาไว้ รวมถึงเรื่องเทคนิคการ ตัดสินใจให้เฉียบ ของเขาด้วย

 

1.รู้ว่าเรากำลังตัดสินใจแบบไหน

แบบที่ 1 : การตัดสินใจแบบ One Door : เป็นการตัดสินใจที่ต้องคิดอย่างรอบครอบเพราะย้อนกลับไม่ได้

แบบที่ 2 : การตัดสินใจแบบ Two Doors : การตัดสินใจที่ถ้าประตูแรกที่เลือกไม่เวิร์ก ก็ย้อนกลับมาเลือกอีกทางได้ เป็นการตัดสินใจที่ต้องเจอเป็นประจำ เพราะโดยมากแล้วทุกอย่างล้วนกลับมาแก้ไขได้

ในทุกๆ การตัดสินใจมีความแตกต่าง บางคนต้องใช้การคิดอย่างลึกซึ้ง บางครั้งอาจต้องการเพียงความรวดเร็วเท่านั้น เบโซส์ได้บอกว่าหลาย ๆ ครั้งที่การตัดสินใจหนึ่งก็สามารถใช้ได้หลายวิธีคิด เราจึงต้องไตร่ตรองให้ดีก่อน ว่าวิธีที่เลือกมานั้นเหมาะสมหรือยัง

 

2. มีข้อมูลแค่70%ก็เพียงพอแล้ว

การรอจนกว่าเราจะรู้ข้อมูลครบทุกอย่างทำให้กระบวนการตัดสินใจของเราช้าเกินไป ไม่ทันกินกันพอดี เบโซส์เลยได้เสนอกฎง่ายๆ เพื่อจัดการกับปัญหานี้ นั่นก็คือ ถ้ามีข้อมูลประมาณ 70% แล้ว ให้ตัดสินใจเลย เพราะถ้าให้รอให้ถึง 90% ก็มักจะสายไปแล้ว นอกจากนั้นหากเราตัดสินใจผิดพลาดก็ยังสามารถแก้ไขได้อย่างทันถ่วงทีอีกด้วย การทำผิดอาจมีราคาที่ต้องจ่ายน้อยกว่าที่เราคิด ในขณะที่การช้ามีราคาที่ต้องจ่ายจ่ายสูงอย่างแน่นอน

 

3.จัดการปัญหาตั้งแต่เนิ่นๆ

เบโซส์ได้บอกไว้ว่า จัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งซะตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนจะตัดสินใจทำอะไรไป อย่างในองค์กร เมื่อคนในทีมมีมุมมองต่างกัน ย่อมทำให้องค์กรเกิดความยุ่งเหยิง ไม่ว่าจะประชุมถกเถียงกันอีกกี่ครั้งก็ไม่สามารถแก้ได้ หากไม่ยกปัญหาขึ้นมาแจกแจงให้ชัดเจน สุดท้ายแล้วการตัดสินใจและภาระก็จะมาตกอยู่กับคนที่ยังรับมือไหวอยู่

เมื่อผลลัพธ์ออกมาไม่ดี จะไม่มีการขิงกันว่านั้นเป็นการตัดสินใจที่ผิด แต่เปลี่ยนมุมมองเป็นการค้นหาและทดลองไอเดียใหม่ ๆ เพราะเมื่อไหร่ที่เราขิง หรือแขวนไอเดียที่ไม่สำเร็จ พนักงานในองค์กรจะมีความกดดันในการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไอเดียทีอาจจะพาบริษัทปัง ไม่ได้รับการเสนอเข้าที่ประชุม

 

นอกจากการตัดสินใจที่แม่นยำ หัวใจสำคัญที่เป็นเคล็ดลับความสำเร็จของ Amazon ก็คือ การให้ความสำคัญลูกค้า และการมัดใจลูกค้าด้วย Customer Experience

 

Source

 

‘เพราะการตัดสินใจที่ดีที่สุดในธุรกิจ คือการตัดสินใจที่ทำให้ประสบการณ์ของลูกค้าดีขึ้น’ หวังว่าบทความนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ประการทุกท่านนะคะ ฝากติดตาม Torpenguin ในทุก ๆ ช่องทางด้วยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ 😊

 

 

📌 ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin

 

📌 อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อ