คู่แข่งขายตัดราคา

เชื่อว่าคนทำธุรกิจอาหาร ต้องเคยเจอปัญหาเจอ คู่แข่งขายตัดราคา โดยเฉพาะถ้าคุณเปิดร้านอาหารที่ขายอาหารหรือเครื่องดื่มประเภทเดียวกัน บางครั้งเหมือนกันเลยมาเปิดใกล้ ๆ กัน หรือขายเมนูที่กำลังเป็นที่นิยม ต้องเจอคู่แข่งตัดราคาแน่นอน และปัญหานี้ก็ไม่ใช่จะเจอแค่กับร้านที่เปิดขายหน้าร้านเท่านั้น แม้กระทั่งขายในช่องทางออนไลน์ แพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ใหญ่ ๆ ที่เรารู้จักกันดีก็เจอปัญหาตัดราคากันสุด ๆ เจอแบบนี้คุณที่เป็นเจ้าของธุรกิจแบบคุณจะมีวิธีสู้กลับอย่างไร แต่ก่อนจะบอกว่า จะมีวิธีสู้กลับอย่างไร คุณควรรู้ก่อนว่า คู่แข่งแบบไหนกันนะ ที่ชอบตัดราคาคนอื่น

7 วิธีสู้กลับ เมื่อเจอคู่แข่งขายตัดราคา

>> คู่แข่งที่ชอบขายตัดราคา คือคู่แข่งแบบไหน

1. คู่แข่งที่ไม่สินค้าที่โดดเด่นเป็นของตัวเอง
เป็นกลุ่มที่พบบ่อยที่สุดโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางถึงเล็ก มากกว่า 90% ไม่มีจุดเด่นของตัวเอง ส่วนมากเป็นการทำธุรกิจแบบซื้อมาขายไป หรือที่เห็นบ่อยคือ ธุรกิจที่เห็นว่ากำลังเป็นกระแส มีคนริเริ่มแล้วขายดี ก็แห่กันทำออกมาขายเหมือน ๆ กันไปหมด ไม่มีความแตกต่า หรือมีความพิเศษอะไร ที่จะช่วยเพิ่มคุณค่าของสินค้าหรือร้านนั้น ๆ นอกจากยอมลดราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจจ่ายน้อยลงกับสินค้าหรือประเภทอาหารที่เหมือนกัน

2. คู่แข่งที่เพิ่งเริ่มเปิดร้านหรือทำธุรกิจใหม่ และต้องการสร้างฐานลูกค้า
เพราะแน่นอนว่าเปิดร้านใหม่ ก็ยังไม่เป็นที่รู้จัก จึงตัดราคาขายเพื่อหวังว่าจะดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้ดี แต่กลยุทธ์นี้อาจจะอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งไม่ยาวนาน

3. ธุรกิจที่กำลังขาดสภาพคล่องทางการเงิน
หรือร้านกำลังพบกับปัญหาทางการเงิน คือ ขาดเงินสด จำเป็นต้องตัดราคาเพื่อให้มียอดเงินเข้าร้าน นำมาหมุนใช้จ่ายเพื่อความอยู่รอดของร้านให้ร้านไปต่อไปในระยะเวลาอันใกล้ เพระาหากปล่อยไว้นานร้านมีสิทธิ์เจ๊ง

4. คู่แข่งที่มีสต๊อกล้น ต้องรีบระบาย
แน่นอนว่าถ้าร้านไหนมีสต๊อกสินค้าที่เยอะมาก ๆ และดูเหมือนว่าจะระบายออกไม่ทัน จึงจำเป็นต้องใช้วิธีตัดราคาเพื่อระบายสินค้าให้เร็วที่สุดนั่นเอง ยิ่งถ้าเป็นธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร การที่ของถูกสต๊อกไว้นานย่อมไม่เป็นผลดีต่อคุณภาพของสินค้าอาหารแน่นอน อาจทำให้เสียชื่อเสียงได้เลย

5. คู่แข่งที่ต้องการยึดตลาด
คู่แข่งประเภทนี้มักใช้วิธีตัดราคา เฉือนเนื้อตัวเอง และรอให้คู่แข่งที่ทุนไม่หนาพอ สู้ไม่ไหวค่อย ๆ ล้มหายตายจากไป แล้วกลุ่มพวกนี้ถึงจะค่อยหาวิธีถอนทุนคืนภายหลัง ซึ่งคู่แข่งพวกนี้ส่วนใหญ่จะมีเงินทุนและอำนาจต่อรองสูง
.
จะบอกว่านี่แค่ส่วนหนึ่งของ ประเภทคู่แข่งที่จะชอบตัดราคา และคุณจะต้องมีวิธีสู้กลับ หรือรับมือยังไง
.
>> วิธีสู้กลับและรับมือเมื่อเจอ คู่แข่งขายตัดราคา

1. ให้คุณค่าของสินค้าหรือบริการของร้าน นำราคา
คุณต้องมั่นใจในคุณค่าสินค้าของคุณว่ามีคุณภาพและมีประโยชน์กับลูกค้า ถ้าเป็นร้านอาหารก็แน่นอนว่า คุณมั่นใจในคุณภาพของอาหาร เพราะคัดสรรวัตถุดิบที่ดี สะอาด อร่อย และถ้าบริการดีด้วย ลูกค้ายังไงก็ไม่หาย ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องคู่แข่งขายตัดราคาเลย เพราะถ้าคุณภาพร้านของคุณดีในทุก ๆ ด้าน แม้ราคาสูงกว่า แต่เชื่อว่าลูกค้ายอมจ่ายแน่นอน

2. ประเมินมูลค่าของสินค้าว่าอยู่ในระดับไหนในสายตาของผู้บริโภค
กลุ่มเป้าหมายร้านของคุณ หากกลุ่มลูกค้าร้านคุณเชื่อมั่นและอยู่ในระดับที่รับได้กับราคาและคุณภาพที่ร้านคุณตั้งไว้อยู่แล้ว การจะก้าวลงไปในสนามตัดราคา แบบลดลงมาเกินไปนั้น อาจทำให้ลูกค้าเกิดความสงสัยหรือหมดความเชื่อมั่นในคุณภาพของร้านคุณก็เป็นได้ กลายเป็นผลเสียมากกว่าผลดี

3. ขยับตัวเองขึ้นไปสู่ตลาดพรีเมียม
ถ้าคู่แข่งตัดราคา คุณไม่จำเป็นต้องลดราคาตามเลย กลับกันเรียกว่าลองพลิกจับตลาดกลุ่มพรีเมียมดูก็ได้ เพราะในตลาดพรีเมียมจะมีกลุ่มลูกค้าที่สงสัยในคุณภาพของสินค้าที่ราคาถูกถึงถูกมาก ว่าคุณภาพจะแค่ไหนถ้าขายราคาถูกขนาดนี้ ซึ่งถ้าอยากเจาะกลุ่มลูกค้าพรีเมียมแบบนี้ไปเลย การใช้วัตถุดิบที่ดีพรีเมียมและขายของในราคาที่สูงกว่าอาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพียงแค่คุณสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า และต้องทำให้ร้าน สินค้า และบริการของคุณดีจริง ๆ ด้วย แค่นี้ก็มีโอกาสไปรอดแล้ว

4. เพิ่มกลยุทธ์การขายแบบเป็นเซ็ต
หากร้านของคุณไม่ต้องการลดราคาตามคู่แข่ง เพราะมั่นใจว่าใช้วัตถุดิบดี คุณภาพดี และมีต้นทุนที่สูงกว่า คุณสามารถลองปรับวิธีการขายจากรายชิ้น มาลองจัดขายเป็นเซ็ตก็ได้ ลูกค้าก็อาจจะรู้สึกว่าคุ้มค่ากว่า และคุณไม่ต้องลดคุณภาพหรือลดราคาตามไปด้วยนั่นเอง

5. เพิ่มมูลค่าด้วยความแตกต่างและสร้างสรรค์
ไม่เห็นจำเป็นจะต้องยอมลดราคาเพราะเห็นว่าคู่แข่งขายถูกกว่าเราเลย ถ้าร้านของคุณมีสินค้าที่ดีอยู่แล้ว แค่ลองเพิ่มความน่าสนใจ เพิ่มมูลค่าให้สินค้าอย่างสร้างสรรค์ด้วยการสร้างเรื่องราว ที่มาที่ไปของเมนูนั้น ๆ ให้ดูมีสตอรี่มีความหมายมากขึ้น เพราะลูกค้าไม่ใช่เพียงแค่ต้องการรสชาติที่อร่อย บริการที่ดีอย่างเดียว แต่ลูกค้ายังจะได้รับประสบการณ์ในการรับประทา

6. คิดค้นเมนูใหม่ ๆ มาขายบ้าง ไม่หวังขายแต่เมนูเดิม ๆ
การที่ร้าน ๆ หนึ่งจะมีเมนูซิกเนเจอร์ของร้านมันก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะร้านของคุณก็จะมีเมนูที่คนจดจำและรู้ว่าต้องมาทานร้านนี้ แต่บางครั้งที่คู่แข่งเริ่มเยอะขึ้น การยึดติดและหวังอยู่กับเมนูที่คิดว่าเป็นจุดขายเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอ ถ้าไม่ต้องการจะหั่นราคาตามคู่แข่ง คุณอาจต้องลองคิดค้นเมนูใหม่ ๆ ออกมาให้ลูกค้าได้ตื่นเต้นและอยากมาลองบ้าง เพราะถ้าขายแต่แบบเดิม ๆ แล้วยิ่งถูกตัดราคาโดยคู่แข่งด้วย ย่อมไม่มีประโยชน์ การทำเมนูใหม่ออกมาเป็นระยะอาจจะช่วยดึงลูกค้าใหม่ ๆ ให้เข้าร้านคุณได้เรื่อย ๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องลดราคาเลย

7. ตีตลาดใหม่ ผุดแบรนด์ลูกในเครือ
ข้อนี้ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีตัวเลือกที่น่าสนใจ ในเมื่อถูกคู่แข่งขายเหมือนกันแถมยังมาตัดราคาอีก ก็สร้างแบรนด์ใหม่ ตีตลาดใหม่สำหรับอีกกลุ่มไปเลย เรียกว่าเป็นการสร้างแบรนด์ลูกหรือแบรนด์รองขึ้นมาอีกตัว แล้วขายสินค้าตัวเดิม แต่เป็นในส่วนที่ใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าเดิมได้ เพื่อกลุ่มลูกค้าที่สามารถจ่ายในราคาที่ถูกลงได้ โดยไม่เสียคุณภาพมากเกินไป ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการกวาดส่วนแบ่งทางการตลาดที่ให้ผลดีมาแล้ว จากนักขายของริมทาง ไปจนถึงแบรนด์ดังระดับประเทศ

อย่างที่บอกว่า เป็นปัญหาที่แทบจะหนีไม่พ้นของคนทำธุรกิจ ๆม่ว่าจะธุรกิจอาหารหรือธุรกิจอื่น ๆ ย่อมเจอคู่แข่งตัดราคาทั้งสิ้น แต่ที่สำคัญไม่ว่าคุณจะหาทางออกอย่างไร ก็อย่าละเลยในคุณภาพสินค้า ไม่ใช่แข่งกันลดราคาจนคุณภาพแย่ เพราะถ้าเป็นแบบนั้น ลูกค้าก็คงไม่เลือกทั้งคุณและคู่แข่งเลยด้วยซ้ำ

 

📌 ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin

👉 อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
7 วันก่อนเปิดร้าน แชร์เทคนิค เทรนพนักงานครัว ให้เป๊ะ เป็นงานไว
ร้านอาหารต้องรู้ บาลานซ์เมนู ร้านอาหาร ให้ดี เสิร์ฟได้ไว ไม่ติดขัด
สารพัด กลโกงในร้านอาหาร ปัญหายอดฮิตที่เจ้าของร้านอาจต้องเจอ
น้ำเต้าหู้ปูปลา ร้านน้ำเต้าหู้แนวใหม่ ส่งมอบความสุขในความทรงจำแบบครบเครื่อง
Yield คืออะไร สำคัญแค่ไหน เรื่องต้องรู้ก่อนตั้งราคาอาหาร
กฎหมาย PDPA ร้านอาหาร ที่ผู้ประกอบการต้องรู้
เคล็ดลับ นับสต๊อกร้านอาหาร และจัดการวัตถุดิบ ทำเป็นเห็นกำไร
สร้างเมนูใหม่กำไรเข้าร้าน ด้วยไอเดีย จัดการ Food Waste สไตล์ตะวันตก
รวมสารพัดวิธีแก้ ปัญหาลูกค้าแน่นร้าน จัดการดีไม่มีสะดุด
รับช่วงต่อกิจการ อย่างไรไม่ให้เจ๊ง!
เทคนิคเก็บ เซอร์วิสชาร์จร้านอาหาร ทำอย่างไรให้ลูกค้าพอใจที่ต้องจ่าย
ข้อดีและข้อเสียของการทำ เมนู QR CODE หรือ เมนูอาหารออนไลน์