‘กะเพรา’ อาหารสิ้นคิดสำหรับการทำธุรกิจร้านอาหาร…
แต่พี่แป๊ะ เจ้าของร้าน กะเพราตาแป๊ะ ที่เปลี่ยนกะเพราอาหารบ้าน ๆ ให้ดู Specialty ขึ้น พี่แป๊ะเล่าถึงจุดเริ่มต้นในการเปิดร้าน กะเพราตาแป๊ะ ว่าเกิดจากการที่ครอบครัวล้มละลาย แล้วทุกคนในบ้านทุบกระปุกออกมาดูว่าเงินตรงนี้เอาไปจ่ายค่าอะไร แล้วเหลือค่ากินเท่าไหร่ นั่นเป็นภาพฝังใจที่ทำให้พี่แป๊ะไม่คิดจะย้อนกลับไปเป็นแบบนั้นอีก
พี่แป๊ะตั้งเป้าหมายว่าจะประสบความสำเร็จผ่านการทำธุรกิจมาหลายอย่าง แต่ก็ไม่รอด ธุรกิจแรกเจ๊ง ธุรกิจต่อมาก็เจ๊ง แต่พี่แป๊ะบอกว่าทุกความล้มเหลวมันทำให้เขาลุกกลับมาเร็วขึ้นจนกระทั่งเขามาเจอกับ กะเพรา อาหารบ้าน ๆ ที่คนไทยสั่งกันเป็นเรื่องปกติ
กะเพราตาแป๊ะ ใช้เวลาในการคิดสูตรอยู่เกือบ 1 ปี
อยู่กับกะเพรา ปรับเปลี่ยนจนกว่าจะลงตัวแล้ว ซึ่งตอนนั้นเขาเริ่มต้นจากการขายอยู่ในหมู่บ้าน จนกระทั่งขยับขยายมาเป็น เจ้าของธุรกิจร้านอาหารอย่างเต็มตัวด้วยการเปิดร้านกะเพราตาแป๊ะ ขึ้นมาในที่สุด ซึ่งกว่าจะเปิดร้านได้ผ่านการคิดหลายอย่างมาก
คุณแป๊ะกล่าวถึงกะเพราของเขาว่า “เป็นมากกว่าลูก” เพราะกิจการร้านอาหารนี้ให้ทั้งครอบครัวที่อยู่ดีกินดี ให้รายได้ ให้ทุกอย่าง และเหมือนกับเป็นชีวิตของคุณแป๊ะไปแล้ว
เขาเลยตั้งใจที่จะพัฒนาร้านอาหารร้านนี้ ให้เติบโตขึ้นไปมากกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นทำเลการเปิดร้าน ที่ตั้งเป้าลูกค้ากลุ่มระดับกลางถึงบนเอาไว้
เพราะกะเพราของคุณแป๊ะมีความพิเศษมากกว่ากะเพราปกติทั่วไปเพราะเขาปรับแล้วปรับอีกเพื่อให้กะเพรามีรสชาติกลมกล่อม และทิ้งรสชาติแสนประทับใจไว้ในปากหลังจากทานไปแล้วหรือที่เรียกว่า After Taste
แนวคิดในการเลือกกลุ่มลูกค้า
น่าสนใจเลยทีเดียว เขามีความเข้าใจในอาหารของตัวเอง จึงเลือกกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบนเพราะคนกลุ่มนี้จะเข้าใจอาหารของเขาได้มากกว่า เข้าใจถึงเทคนิคการทำที่ค่อนข้างซับซ้อนแตกต่างจากกะเพราะทั่ว ๆ ไป แล้วกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ก็จะเป็นกลุ่มที่บอกเล่าความพิเศษของกะเพราของคุณแป๊ะได้ดีที่สุด เปรียบเสมือนการตลาดผ่านการบอกต่อ
โครงสร้างของราคาอาหารที่ทำให้ธุรกิจร้านอาหารกะเพราตาแป๊ะขายดีคือ ไม่ขาดทุนแต่กำไรไม่ต้องเยอะมาก แต่ให้ความคุ้มค่ากับลูกค้าให้มากที่สุด ชูโรงร้านอาหารด้วย “ความอร่อย”
และเพิ่มการตลาดด้วยการทำคอนเทนต์ “เผ็ดที่สุดในโลก” ขึ้นมาสร้างกระแสโซเชียลมีเดีย เพราะยุคนี้ทุกอย่างมันอยู่ในโลกของโซเชียลไปหมดแล้ว เราต้องสร้างคอนเทนต์เพื่อให้คนอื่นเอาไปพูดต่อ ๆ กันได้ด้วย
มุมมองในการทำให้ร้านอาหารของตัวเองเป็นที่รู้จัก
คุณแป๊ะ เอาคำว่าเผ็ดที่สุดในโลกมาเป็นเรือธง เพื่อให้คนเข้ามาลองกินแล้วเอาไปรีวิวกัน พอลูกค้ามาที่ร้านจะมีการสั่ง เป็ดที่สุดในโลก 1 จานและที่เหลือก็จะเป็นกะเพราเมนูปกติซึ่งเขาก็ประทับใจเช่นกัน
ในที่สุดจากการมาลองเมนูเด็ด ก็กลายเป็นการเปิดใจไปสู่เมนูอื่น ๆ รีวิวร้านอาหารออกมาเป็น ร้านกะเพราที่อร่อย พอมีรีวิวเหล่านี้เข้ามาก็ทำให้คนรู้จักร้านมากขึ้น และมีคนที่อยากจะมาลองทานที่ร้าน
กับคนที่ไม่สามารถมาได้คุณแป๊ะก็มีบริการส่งผ่านทาง Application ทำให้ธุรกิจร้านอาหารของคุณแป๊ะโตทั้งหน้าร้าน โตทั้งเดลิเวอร์รี่ และไม่นานร้านกะเพราะตาแป๊ะก็กลายเป็นร้านในดวงใจของลูกค้าหลาย ๆ คนได้นั่นเอง
บทสรุปของร้านกะเพราตาแป๊ะ นั้นชัดเจนตั้งแต่ต้น คือเจ้าของกิจการที่ไม่ยอมท้อถอยและใส่ใจกับผลิตภัณฑ์ของตัวเองตั้งแต่การสร้างไปจนถึงการประกาศให้คนรู้จักร้าน ซึ่งแนวความคิดของเจ้าของธุรกิจแบบนี้นี่ล่ะครับที่จะทำให้ร้านอาหารประสบความสำเร็จได้ไม่ยากเลย
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
- Cafe Cococano ร้านกาแฟคิดต่าง โดดเด่นและมีจุดยืน จนลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ
- น้ำเต้าหู้ปูปลา ร้านน้ำเต้าหู้แนวใหม่ ส่งมอบความสุขในความทรงจำแบบครบเครื่อง
- บ้านอาจ้อ ร้าน MICHELIN ที่ไม่ได้มีดีแค่อาหาร แต่ดีต่อชุมชน
- คุยกับ เจนลูกสาวป้าดำ คาเฟ่ที่มีแบรนด์ดิ้งอยู่ในทุกอณูของร้าน
- จากไส้เดือน สู่ เห็ด เรื่องราวของชายผู้เกิดมาจากหนอน สู่ คนบ้าเห็ด และโอมากาเสะในแบบ ‘โอมากาเห็ด’
- Phed Phed อาณาจักรความแซ่บ ร้านอาหารอีสานที่ยืนหยัดในความเป็นตัวเอง อาศัยปากต่อปากจนเปิด 6 สาขาได้ใน 6 ปี
- ผงชูรส ร้านอาหารไทย-อีสาน กับเส้นทางสุดจัดจ้านที่ไม่ได้โรยด้วยผงชูรสแม้แต่นิดเดียว
- มิตรไมตรี จาก Food Truck สู่ร้าน ‘รับแขก’ คนสำคัญของจังหวัดปัตตานี
- รสิก : สนับสนุนวัตถุดิบจากท้องถิ่นทั่วไทย เสิร์ฟเมนูไทยทวิสต์ และเชื่อว่าการรักษามาตรฐานคือหัวใจสำคัญของร้านอาหาร
- แม่คำนวณ ต่อยอดความมุ่งมั่นที่อยากเห็นคนกินสุขภาพดี สู่ร้านอาหารจานด่วนที่คำนวณแคล ฯ ทุกจาน
- Office of Fish โอมากะเสะในเชียงใหม่ กับแนวคิดทะลายกรอบรสชาติด้วยปลา Dry aged
- ‘ข้าวราษฎร์แกง’ เปลี่ยน Pain point ให้เป็นจุดแข็ง กับแนวคิดธุรกิจที่เชื่อว่าเราต้องใส่ใจในสิ่งแวดล้อม สังคม และพนักงาน
- ที่นี่ Basil กะเพราป่า ร้านกะเพราลูกครึ่งบาร์ ที่เกิดจาก ‘โอกาส’ ในวันที่บาร์เจอวิกฤติ
- ใครเห็นก็ว่าบ้า ‘ดุกด้ง’ เพิ่มมูลค่าให้เมนูปลาดุกจากหลัก 10 เป็นหลัก 100
- Fishmonger ร้านฟิชแอนด์ชิพ ที่เชื่อมคนเมือง กับ ประมงท้องถิ่น ผ่านปลาไทย
- บริหารร้านฉบับตั้งใจไม่บังเอิญของเชฟไอ กับการทำร้านนิยมปักษ์ใต้ ที่มี ‘I LOVE PASTA & RISOTTO’ ซ่อนตัวอยู่ข้างใน