USP คืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับร้านอาหาร?
ถ้าถามคุณว่า ‘จุดขายของร้านอาหารคุณคืออะไร?’
‘อะไรที่ทำให้ร้านอาหารของคุณแตกต่างจากร้านอื่น?’
‘เหตุผลอะไรที่ทำให้ลูกค้าต้องมากินที่ร้านคุณแทนที่จะเป็นร้านคู่แข่ง?’
ฉะนั้นความอร่อย ความสด และสะอาด จึงไม่ถือว่าเป็นจุดขาย แต่มันคือมาตรฐานต่ำสุดที่ร้านอาหาร พึงจะต้องทำให้ลูกค้า และไม่จำเป็นที่ลูกค้าทุกคนจะบอกว่าร้านคุณอร่อย
เพราะความอร่อยของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน
สิ่งที่ดีที่สุดคือการทำอาหารให้อร่อยในมุมมองของกลุ่มลูกค้าหลักของคุณก็พอ เพราะคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้หลักให้กับร้านของคุณ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านอาหารหลายๆ ประเภทในบ้านเรา เช่น ร้านส้มตำ ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านบุฟเฟ่ต์หมูกระทะ หรือแม้กระทั่งร้านกาแฟ ที่เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาและทุกร้านก็ดูเหมือนๆ กันไปซะหมด
ถ้าคุณเป็นคนที่ต้องการทำร้านประเภทนี้ คุณจะทำยังไงให้ร้านของตัวเองเป็นตัวเลือกแรกๆ สำหรับลูกค้า เพราะเมื่อไหร่ที่คุณไม่สามารถทำร้านให้แตกต่างจากคู่แข่งที่มีในตลาดได้แล้วนั้น ลูกค้าย่อมจะพิจารณาในเรื่องของราคาเป็นอันดับแรกและทำให้คุณไม่สามารถหลุดออกจากสงครามราคาไปได้เลย
USP คืออะไร?
Unique selling point สำหรับร้านอาหารคือสิ่งที่ถ้าพูดถึงร้านอาหารของคุณแล้ว จะต้องนึกถึงเรื่องนี้มาเป็นอันดับแรก เป็นสิ่งที่จะทำให้ลูกค้าจำร้านคุณได้ และทำให้ลูกค้าอยากกลับมาใช้บริการคุณอีกครั้ง
ซึ่ง USP นั้นสามารถเป็นได้ทั้งเรื่องของเมนูที่ขาย วัตถุดิบที่ใช้ กระบวนการปรุงอาหาร การตลาดที่ทำ การบริการที่แตกต่าง หรือเทคโนโลยีที่ร้านคุณนำมาใช้
USP ที่ดีนั้นควรกระชับเข้าใจง่าย ไม่ต้องการคำอธิบายเยอะ
ฟังรอบเดียวแล้วรู้เรื่อง เห็นภาพ เพราะลูกค้าไม่ได้มีเวลามานั่งฟังทั้งหมดว่าคุณขายอะไร และของคุณดียังไง หาก USP ของคุณแข็งแรงพอ ร้านของคุณจะเป็นตัวเลือกแรก ๆ ในใจของลูกค้าอย่างแน่นอน
และยิ่งร้านอาหารของคุณต้องการรายได้ต่อหัวสูงมากเท่าไหร่ การมีจุดขายที่แตกต่างหรือเอกลักษณ์เฉพาะตัวย่อมทำให้คุณมีโอกาสชาร์จราคาได้สูงมากขึ้น และจับกลุ่มลูกค้าได้ในวงกว้างมากขึ้นเช่นกัน เพราะร้านอาหารของคุณจะเป็น ร้านจุดหมายปลายทาง (Destination restaurant) ของลูกค้า
“ลูกค้าต้องการอะไร เราทำอะไรได้ดี จุดตรงกลางนี่แหละคือคุณค่าที่มีร่วมกัน” นี่เป็นสิ่งที่ต้องรู้เพราะนี่คือ แต้มต่อของคุณ และพยายามนำเสนอจุดนี้ เอาตรงนี้มาเป็นจุดขาย
ถ้าไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ฝาก 3 คำถามเรื่องจุดขาย ที่อยากให้คนทำร้านอาหารไปทำการบ้านต่อไว้ตามนี้เลย
1. จุดขายของร้านคืออะไร?
2. อะไรที่ทำให้ร้านของคุณแตกต่างจากร้านอื่น?
3. ทำไมลูกค้าต้องมากินที่ร้านคุณ แทนที่จะไปกินร้านคู่แข่ง?
สำหรับคนที่ทำร้านอยู่แล้วลองย้อนกลับมามองที่ร้านตัวเองตอนนี้ดู ถ้าคำตอบมันไม่ชัด หรือ แค่เราตอบออกมาแล้วยังรู้สึกว่าธรรมดา อาจถึงเวลาแล้วที่เราต้อง “กลับมาเข้าใจตัวเองให้ลึกขึ้น” เพราะในวันที่ร้านอาหารเยอะขึ้นทุกวัน คนจะไม่จำร้านที่อร่อยที่สุด แต่จะจำร้านที่ “เขารู้สึกบางอย่าง” ด้วยเสมอ
สำหรับมือใหม่ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่วงการนี้ ทำการบ้านเรื่องนี้ให้ดีเลย เพราะยุคนี้คนไม่สนใจเรื่องขนาดของธุรกิจ เขาสนใจความ ‘เจ๋ง’ ในตัวคุณมากกว่า หาเวย์ หาสไตล์ให้ได้ แล้วคุณจะกลายเป็นร้านที่อยู่รอดในตลาดนี้
การที่เราจะเปิดร้านขายอะไรสักอย่างหนึ่ง เราต้องเจอกับคู่แข่งหลาย ๆ ร้าน แต่จะทำยังไงให้ร้านเรามีลูกค้าเข้ามาได้แบบไม่ขาดสายและอยู่กับเราไปนาน ๆ นั่นแหละคือคำถามที่หลายกิจการต้องกลับไปหาคำตอบให้ได้ หวังว่าบทความที่นำมาฝากกันในวันนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการและคนที่อยากเปิดร้านอาหารทุกท่านนะคะ ฝากติดตาม Torpenguin ในทุก ๆ ช่องทางด้วยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ 😊
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อ
- ทำร้าน ทำธุรกิจ อย่าใส่แค่ “จุดขาย” แต่ให้ใส่ “จุดซื้อ” เข้าไปด้วย
- การตลาดร้านอาหาร ที่ควรเลี่ยง ถ้าไม่อยากเข้าเนื้อแบบไม่รู้ตัว
- ลูกค้าเปลี่ยนไป ตลอดเวลา? 12 สิ่งที่ลูกค้าจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง แม้โลกจะเปลี่ยนไปก็ตาม
- เทรนด์การตลาดร้านอาหาร ปี 2025 ลูกค้าเปลี่ยน การตลาดก็เปลี่ยนเหมือนกัน มาอัปเดตก่อนลุยต่อในปีนี้กัน
- กลยุทธ์ 5C การตลาดร้านอาหาร ที่เหมาะสำหรับร้านไซส์เล็กที่สุด
- วางแผนการตลาด ร้านอาหาร บริหารร้านในแต่ละช่วงยังไงให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
- การวิเคราะห์คู่แข่ง ก่อนเปิดร้านอาหาร ทำยังไง? เผยเคล็ดลับสำหรับ SME
- 10 สิ่งที่ต้องทำ ถ้าอยาก เปิดร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จ
- มือใหม่ อยาก เปิดร้านอาหาร ควรวางคอนเซปต์ร้านอย่างไรให้ปัง
- สถิติและข้อมูลร้านอาหารต่าง ๆ ในปี 2024 ที่ผ่านมา จาก LINE MAN WONGNAI
- รู้จัก COGS ต้นทุนก้อนใหญ่ที่สุดของคนทำร้านอาหาร ร้านเจ๊งไม่เจ๊ง ดูกันตรงนี้
- ทำไมไม่ควรขายถูก เหตุผลที่บริษัทขนาดกลางและเล็กไม่ควรใช้กลยุทธ์นี้