Sense of Purpose ทฤษฎีสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน แม้ไฟในใจมอดก็ยังอยากทำงานให้สำเร็จ
เมื่อการอยากมีส่วนร่วมในการทำงานของพนักงาน ส่งผลต่อความสำเร็จระยะยาวของกิจการโดยตรง ‘เราจะมีวิธีใดบ้าง’ ที่จะปลุกความรู้สึกอยากมีส่วนร่วมของพนักงานขึ้นมา?
หลายครั้งที่เราใช้วิธีสร้างแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมเพียงชั่วคราว เช่น ไฟในการทำงาน Passion แต่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นและดับลงตามเวลา
การสร้างแรงจูงใจที่ให้พนักงานอยากมีส่วนร่วมในการทำงาน เป็นเชื้อเพลิงที่ยั่งยืนมากกว่า เพราะแม้ไฟจะมอด พวกเขาจะยังอยากจุดไฟใหม่อีกครั้ง และคอยเติมถ่านเรื่อย ๆ
สำหรับทฤษฎีสร้างแรงจูงใจ วิธีนี้เราจะใช้อ้างอิงจากหลักการของมาสโลว์ ดังนี้ “ถ้าหลักการของมาสโลว์ เป็นความต้องการพื้นฐานในการใช้ชีวิต พนักงานเองก็มีความต้องการพื้นฐานที่ทำให้อยากทำงานมากขึ้นเช่นเดียวกัน”
ความต้องการขั้นที่ 1 : ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
ค่าตอบแทน และความมั่นคงในงานจะถูกมองข้ามในทันที เมื่อพนักงานรู้ว่าพวกเขาได้รับค่าตอบแทนที่ไม่แฟร์ ไม่เท่าเทียม และไม่เป็นธรรม
ดังนั้นถ้าเราเป็นร้านที่พนักงานตำแหน่งเดียวกันเงินเดือนแตกต่างกัน เราต้องชี้แจงให้ชัดเจนว่าทำไมเงินเดือนถึงต่าง มีหลักเกณฑ์ใดบ้างที่เรานำมาตัดสินว่าพนักงานแต่ละคนควรได้รับค่าตอบแทนเท่าไหร่ ไปจนถึงสิ่งที่พนักงานต้องทำเมื่ออยากเพิ่มเงินเดือน
ความต้องการขั้นที่ 2 การสื่อสารความต้องการที่ชัดเจน และความสม่ำเสมอในการสื่อสาร
พนักงานจะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งมากขึ้นเมื่อเขารู้สึกได้รับการยอมรับ และความรู้สึกของการถูกยอมรับจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดการสื่อสารที่ชัดเจน และการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ เราอาจเริ่มต้นจากการทักทายพนักงานวันละนิด จากนั้นจัดเวลาพูดคุยกับพนักงานทีละคนเพื่อกระชับความสนิทสนม พร้อมจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้พนักงานได้สนิทสนมกันมากขึ้น
การใช้คำพูดก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พนักงานรู้สึกได้รับการยอมรับ แทนการสั่งให้เช็ดโต๊ะ ถูพื้น หรือหั่นผัก เราอาจใช้คำว่า ‘ช่วย’ นำหน้า เพื่อแสดงออกว่าเรา Respect พนักงานเป็นคนหนึ่งคน ไม่ใช่หุ่นยนต์
ความต้องการขั้นที่ 3 การเปิดโอกาสให้พนักงานได้เติบโต และได้ภูมิใจกับสิ่งที่พวกเขาทำ
ในขั้นนี้ จะเป็นขั้นที่เราสร้าง Sense of belonging และ Sense of purpose เราอาจเริ่มต้นจาก
1. ตั้งเป้าหมายของกิจการ
เมื่อพนักงานทำเป้าหมายที่กิจการตั้งไว้ได้สำเร็จ พนักงานจะรู้สึกถึงความสำเร็จที่มีพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งในนั้น สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือทุกครั้งที่เป้าหมายสำเร็จ เราต้องให้เครดิตพนักงานเสมอ หากเราไม่สื่อสารและให้เครดิตกับพนักงาน เขาจะรู้สึกว่าสิ่งที่เขาทำนั้นว่างเปล่า
2. เปิดโอกาสให้ไอเดียของพนักงานได้ถูกนำไปใช้
เช่น เมื่อมีการจัดกิจกรรมในร้าน ถ้าเราได้รับไอเดียจากพนักงาน แล้วไอเดียนั้นถูกนำไปใช้ พนักงานจะรู้สึกมีส่วนร่วมในการจัดงานมากขึ้น เพราะเขาจะรับรู้ได้ทันทีว่าส่วนหนึ่งของความสำเร็จมาจากความทุ่มเทของเขา
3. เป้าหมายของกิจการ ต้องมีส่วนที่ต้องการทำให้โลกน่าอยู่มากขึ้น
พนักงานจะอยากทำงาน และสนับสนุนองค์กรที่ส่งเสริมเรื่องที่พวกเขาให้ความสำคัญ
อีกหนึ่งสิ่งพื้นฐานที่พนักงานต้องการ คือการมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพที่แข็งแรง ดังนั้นนอกจากการโฟกัสที่จะผลักดันกิจการให้เติบใหญ่ไปข้างหน้า ในเวลาเดียวกันเราอยากให้ทุกคนโฟกัสที่ความพร้อมและความต้องการของพนักงานด้วย เพราะเราคงไม่สามารถเติบโตได้ หากคนในองค์กรของเรายังไม่พร้อมที่จะเติบโต
หวังว่า Sense of Purpose ทฤษฎีสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน ที่นำมาฝากกันในวันนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการทุกท่านนะคะ ฝากติดตาม Torpenguin ในทุกช่องทาง แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ 😊
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อ
- เทรนพนักงานด้วย 70 20 10 เทคนิคที่องค์ชั้นนำใช้เพิ่มศักยภาพให้กับคนในองค์กร
- สร้าง Growth Mindset ให้พนักงาน เจ้าของร้านสามารถทำยังไงได้บ้าง?
- ลูกน้องดี ๆ แบบไหนที่เราเจ้าของธุรกิจควรรักษาไว้ให้ได้
- สื่อสารข้ามเจน ให้ไม่มีติดขัด ด้วยหลัก 4E
- เพิ่มยอดขายด้วยพนักงาน ง่าย ๆ แค่เทรนนิ่งให้ถูกวิธี
- ทำให้พนักงานเก่ายอมเปิดใจให้กับการวางระบบใหม่ ที่เรากำลังสร้าง ทำยังไง?
- ติยังไงให้ได้งาน และไม่ทำร้ายจิตใจลูกน้อง