Power of Detail ความสำเร็จ วัดกันที่รายละเอียด ถอดไอเดียจาก สุกี้ตี๋น้อย และ Karun
ธุรกิจร้านอาหาร เป็นหนึ่งในธุรกิจ Red Ocean ตลอดกาลเลยก็ว่าได้ เพราะมักเป็นตัวเลือกแรก ๆ ของการเริ่มต้นเป็นเจ้าของธุรกิจ แม้ว่าจะมีผู้เล่นถูกคัดออกระหว่างทางไปบ้าง แต่ผู้เล่นในตลาดนี้ก็ยังมีจำนวนมากอยู่ดี
ในวันที่ทุกคนต่างสู้เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจตัวเอง ท่าพื้นฐานในการทำธุรกิจไม่เพียงพอแล้ว เพราะใคร ๆ ก็สามารถทำได้ แล้วอะไรล่ะ? ที่จะทำให้ธุรกิจของเราสามารถยืนอยู่ได้ท่ามกลาง Red Ocean อันดุเดือดนี้…
คำตอบอยู่ใน ‘รายละเอียด’
วันนี้ขอพาทุกคนท่องเข้าไปในโลก ‘รายละเอียด’ ของ 2 แบรนด์ดัง อย่าง สุกี้ตี๋น้อย และ Karun ว่าแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้เขามองอะไร และทำงานกันยังไง เนื้อหาจาก Session Power of Detail ความสำเร็จ วัดกันที่รายละเอียด ในงาน The Entrepreneur Forum 2024 ที่ผ่านมา
The Detail of Price
#ตี๋น้อย
ไม่ใช่เจ้าแรกที่ทำราคานี้ แต่เป้าหมายของของตี๋น้อย คือ ระดับแมส จึงเลือกเรทราคานี้ แต่ถ้าอยากขายราคาเหมือนคนอื่น จะทำยังไงให้มันต่างละ?
’ราคาเข้าถึงทุกคน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่อยากมา‘
ตี๋น้อย เลือกที่จะต้องเด่นกว่าคนอื่น เริ่มจากหา Pain Point และเลือกที่จะเพิ่มความสะดวกสบาย บรรยากาศ วิธีในการบริการ เอาทุกจุดที่พัฒนาได้มาปรับหมดเลย
แอร์ต้องเย็น ของต้องออกไว ที่จอดรถต้องมี ในราคาที่เท่ากับคนอื่น เหตุผลที่ลูกค้าจะเลือกเราก็มีมากขึ้น
#karun
แค่ชาไทย ร้อยกว่าบาทเลยหรอ? ทำไมถึงคิดว่าจะมีคนซื้อ
Karun ไม่เคยโกหกตัวเอง ทำทุกอย่างตามต้นทุน เราใช้ Custom Made ทุกอย่าง ทุกอย่างผลิตจากครัวกลาง คุมรสชาติที่สเถียรสุด ๆ แต่เรื่องที่พูดมาทั้งหมดลูกค้าไม่รู้กับเรานะ เรามีหน้าที่ต้องทำให้เขา appriciate สิ่งที่เราตั้งใจทำขนาดนี้ให้ได้
‘ถ้าอยากขายราคาสูงขึ้น ก็ต้องทำให้คุ้ม’
Karun เลือกวางรากฐานในการทำแบรนด์ดิ้ง เพื่อทำให้รู้สึกว่ามันมีคุณค่าในสายตาของลูกค้า ทำให้เขายอมจ่าย แม้จะเพิ่มเงินอีกหน่อยก็กินตี๋น้อยได้แล้วก็ตาม
การจะขายสินค้าธรรมดาทั่วไปให้มีราคาสูงขึ้น มันจะต้องคุ้มค่าที่จะจ่ายจริง ๆ คือดีเทลที่เราต้องใส่ใจขึ้น ให้แตกต่างแต่ยังอยู่ในความเป็นตัวเองที่สุด ในทุกมิติไม่ว่าลูกค้ามองยังไงก็จะเห็นแต่เราเท่านั้น
The Detail of Location
#ตี๋น้อย
61 สาขาในระยะเวลา 6 ปี ตี๋น้อยเริ่มจาก stand alone ด้วยความที่เปิดดึกมาก ๆ ถ้าเปิดในห้างไม่สามารถทำได้ เพราะเราอยากเริ่มจากพลังของเราเอง และเราก็อยากได้ที่จอดรถ Match กับจำนวนโต๊ะ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้ลูกค้า ตาม Pain Point ที่เจอมา
’เรารู้ว่าเราอยากเป็นอะไร เราจะทำให้เห็น‘
เราอยากอยู่แถวหน้าแบบเหมือนร้านแมส ๆ แบบสตาบัค แต่ในช่วงแรกไม่มีใครเชื่อเรา เราเลยต้องทำให้เห็นให้ได้ ตั้งใจทำ stand alone ให้ดี ทำให้คอมมูนิตี้มอลเห็นว่าถ้าฉันไปอยู่บนห้างเธอ เธอไม่แพ้ใครนะ
#karun
เลือกเปิดตาม persona อยู่ เราเล็งแล้วว่าเข้าจะเป็นกลุ่มลูกค้าเราเขาทำงานที่ไหน เรียนที่ไหน แฮงเอ้าท์ที่ไหน บ้านอยู่ไหน ห้างแต่ละชั้นคนเดินแตกต่างกัน ห้างคาแรคเตอร์ก็ไม่เหมือนกัน
เวลากำหนด persona ต้องทำให้ละเอียด ลงลึกถึงหน้าตา แบรนด์กระเป๋าที่ใช้ นั่นทำให้สาขาแรก Karun เลือกเปิดที่ emquatier
เมื่อเราเลือกถูก มันจะไม่มีคำบ่นเลย ชาแก้วละร้อยกว่า ๆ มันจะมีแต่คำชม เพราะเราเลือกกลุ่มเป้าหมายถูก
‘เจอคนที่ใช่ อะไรก็ถูกต้อง เขาก็จะพูดถึงเราแต่เรื่องดี ๆ’
The Detail of Marketing
#ตี๋น้อย
เราจะไม่ลดราคาเพื่อแข่งกับคนอื่น เราไม่อยากลดคุณภาพ แต่เราเลือกที่จะเพิ่มให้คุ้มความ wow ให้กับลูกค้า หรือ offering เมนูใหม่ ๆ อย่างน้ำซุปใหม่ ๆ เราพยายามทำให้ลูกค้ายังตื่นเต้นกับเราอยู่เสมอ นี่เป็นแนวทาง marketing ของเรา
การเปิดสาขาใหม่เราใช้โปรกินฟรีแบบจำกัดจำนวนคน เพื่อสร้างแรงกระเพื่อมให้ลูกค้ารู้ว่ากำลังมีสาขาใหม่ โดยใช้งบแค่ประมาณไม่กี่หมื่นที่จะไม่มากไม่น้อยไปกว่านี้ แต่แลกกับการบอกต่อของลูกค้า ทำให้บรรยากาศวันแรกคึกคัก และราคาที่ต้องจ่ายเราก็รู้แล้ว ดังนั้นมันเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ เราจะจ่ายก็ต้องเมื่อเรารู้ว่าเราจะได้กลับมา
#karun
‘แบรนด์ที่ใช้งบการตลาดไม่ถึง 1 % เป็นไปได้จริง แค่ทำตัวเองให้ชัดตั้งแต่แรก’
เพราะเราเลือกกลุ่มลูกค้าถูกตั้งแต่แรก รากฐานที่ดีส่งผลต่อธุรกิจระยะ ทำให้เราเสียค่า PR น้อยมาก ลูกค้าทำคอนเทนต์ให้เราเอง
การไปแต่ละสาขาก็แตกต่างกัน ประสบการณ์ในการรับบริการก็ไม่เหมือนกัน เป็นกิมมิคให้ลูกค้าตื่นเต้น ทำให้เราไม่ต้องเกลี่ยเงินไปลงมาเก็ตติ้งเยอะ
เราไม่ค่อยเล่นสินค้าตามกระแสด้วย เพราะไม่ใช่ branding stratigy ของเรา ทุกอย่างจะยืนพื้นอยู่บนคำว่า Branding
The Detail of People
#ตี๋น้อย
‘องค์กรระดับ 5000 คน เรื่องคนเป็นงานยากที่สุด ยากกว่าขายสุกี้อีก’
ช่วงแรกเราต้องยอมรับว่างานบริการมีอัตรา Turn Over ที่สูงมา หน้าที่ของเราคือรู้ให้ได้ว่าจะทำยังไงให้เขาอยู่กับเรานาน ค่าตอบแทนก็เป็นเรื่องหนึ่ง งานร้านสุกี้หนักมาก ค่าตอบแทนก็ต้องสมน้ำสมเนื้อ เงินอินเทนซีฟ โบนัสปี
‘ถ้าเราไม่เริ่มให้ เขาก็ไม่ให้เราเหมือนกัน’ แม้บางครั้งต้องกัดฟันก็ต้องเป็นคนให้ก่อน
ล่าสุดตี๋น้อยพึ่งมีโบนัสไตรมาสเพิ่มเข้ามาด้วย เพราะพนักงานบริการไม่ได้เหมือนพนักงานบริษัทที่มานั่งรอรายปี เราต้องเข้าใจเนเจอร์เขา พนักงานสาขาเขาจะไม่ได้มองยาวขนาดนั้น แบบไตรมาส ทุก ๆ 3 เดือนเลยค่อนข้างตอบโจทย์และดีต่อใจพนักงานของตี๋น้อยมากกว่า
‘เพราะเขาหาเงินให้เรา เราควรจะต้อง appriciate’
ไม่ต้องเรียนสูง Background ไม่จำเป็น ตี๋น้อยมี career path ชัดเจน แค่เปิดใจเรียนรู้ ก็สามารถโตได้ คุณสามารถเติบโตจากเด็กเสิร์ฟไปเป็นผู้จัดการสาขา หรือผู้จัดการภาค ได้เหมือนกัน
‘ทำให้เขาเห็นอนาคตตัวเอง‘
ให้ความสำคัญกับทุกตำแหน่งจริง ๆ เราไม่อยู่หอคอยงาช้าง เราต้องรู้ทั้งหมดว่าเขามองยังไง
‘คน‘ คือส่วนสำคัญที่สุด จากร้านอาหารสู่องค์กร อย่างอื่นเราจ่ายได้ แต่ ’บริการ‘ เราใช้เงินซื้อใจคนไม่ได้ ทุกอย่างผ่านจากตัวพนักงานไปยังลูกค้า เงินที่เราจ่ายไปเรื่องแอร์ เรื่องร้านสวย อาหารอร่อย แต่บริการไม่ดี ก็จบ
#karun
‘ความ karun’ เป็นสิ่งที่พนักงานทุกคนต้องเรียน Karun ต้องบ่มเด็กให้ได้มากที่สุด เพราะพนักงาน คือหน้าด่านที่จะส่งผ่านความเป็นแบรนด์ไปถึงลูกค้า ทั้งหมดเกิดจากเราที่เป็นเจ้าของ และ HR ที่ input ความเชื่อต่าง ๆ ของแบรนด์เข้าไป
‘CEO คือ ดาวเหนือ’
ทุกคนในทีมจะมองว่าเราจะไปในทิศทางไหน ความเชื่อมั่นในองค์กรขึ้นอยู่กับเรา นอกจากเรื่องเงิน คนเราทำงานด้วย ‘ความเชื่อ’ เสมอ เชื่อว่าชีวิตเราจะดีขึ้น CEO ต้องทำให้องค์กรเป็นแบบนั้น
ความสำเร็จ วัดกันที่รายละเอียด คำพูดนี้คงไม่เกินจริงเลย รายละเอียดที่ถูกคิดอย่างใส่ใจ คือกุญแจสำคัญที่ทำให้แบรนด์เติบโตได้อย่างยั่งยืน และนี่ก็คือ Power of Detail สิ่งที่เราหลายคนอาจลืมนึกถึงไป หวังว่าบทความนี้จะเป็นแรงบันดาลใจดี ๆ ให้กับผู้ประการทุกท่านนะคะ
ฝากติดตาม Torpenguin ในทุก ๆ ช่องทางด้วยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ 😊
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อ
- ชนยักษ์ใหญ่ในแบบ Jollibee แบรนด์ไก่ทอดจากฟิลิปปินส์ ที่เอาจุดแข็งและจุดอ่อนของ McDonald’s มาสร้างร้านของตัวเอง
- ดึงดูดลูกค้าแบบ Starbucks พาส่อง 5 หลักจิตวิทยาที่ Starbucks ใช้
- ‘First Place Coffee’ Coffee Truck ที่ยอดโตกว่า 550% ด้วยการปั้นคอมมูนิตี้
- EGG DROP แบรนด์แซนวิชไข่เกาหลี ที่ผลักดันตัวเองจนเป็น Soft Power
- ปรับธุรกิจให้เข้ากับคนพื้นที่ ด้วยกลยุทธ์ Localization Strategy ที่ร้านเชนใหญ่มักใช้