Khiri Thai Tea ร้านชาไทย ที่ตั้งใจส่งมอบเอกลักษณ์ของชาท้องถิ่นในไทย ให้ไทยและเทศได้ลิ้มลอง
.
ด้วยรัก ด้วยเรื่องราว ด้วยกลิ่นและรสชาติที่มีเอกลักษณ์ ร้านชาได้กลายเป็นอีกหนึ่งความฝันของคนหลายคน ตั้งแต่คนหนุ่มสาวจนถึงผู้ใหญ่ ไม่ต่างจากการเปิดร้านกาแฟ และไม่ต่างจากความฝันที่ต้องการจะเปิดร้านอาหาร
คุณแพร – มิญชยา บูรณะเศรษฐกุล คือหนึ่งในคนที่ชื่นชอบชามาตั้งแต่ยังเด็ก ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหน เธอจะหาโอกาสลิ้มลองชาในพื้นที่นั้น ๆ เสมอ ปัจจุบันนี้เธอคือเจ้าของร้านชา Khiri Tai Tea (คีรี ไทยที) ร้านชาไทย ที่นำชาท้องถิ่นจากจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย มาเสิร์ฟให้คนไทย และเทศได้ลิ้มลอง ภายใต้ความตั้งใจที่จะชูเอกลักษณ์ของชาจากแต่ละพื้นที่ให้ชัดที่สุด
.
“ชาแต่ละตัวเขาจะมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน พอเจอนมแล้วรสชาติอาจจะดรอปไป หรืออาจไม่ชัด เราต้องเบลน แล้วหาตรงกลางที่ยังชูเอกลักษณ์ของชานั้นได้
.
เช่น ชาจากน่าน แม่ฮ่องสอน ลำปาง แล้วก็พะเยา ชาทั้ง 4 เป็นชาอ่อนทั้งหมด สามารถใส่นมได้แค่ 2 ตัว อีก 2 ตัว แนะนำให้ทานเป็นชาดำ เพราะมีรสกลิ่นที่อ่อนมาก เมื่อเจอนม หรือเจอความหวาน รสชาติของชาจะเบาลง”
จุดเริ่มต้นของร้านเกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด – 19 ณ เวลานั้น คุณแพร ได้เดินทางไปที่เชียงใหม่ และได้รู้จักกับเกษตรกรในพื้นที่ พวกเขาได้คุยกันเรื่องชา คุณแพรเอง ก็ได้รู้จักชาหลากหลายแง่มุมมากขึ้นจากการเดินทางในครั้งนั้น
.
“มีโอกาสไหมที่เราจะนำชาที่เป็นผลผลิตของประเทศไทย มาให้คนไทยได้กิน” เป็นประโยคที่เธอพูดกับเกษตรกร และเป็นความตั้งใจแรกของเธอในการทำร้าน Khiri Thai Tea
#ชาไทยกับศิลป์
.
Khiri Thai Tea เสิร์ฟใบชาจาก 8 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ ปัตตานี แพร่ ลำพูน เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน พะเยา ลำปาง และชาสูตรเฉพาะที่ทางร้านได้เบลนขึ้นมาเอง
.
“ชาของเชียงราย พื้นดินบริเวณนี้เคยปลูกกาแฟ หรือผลไม้ตระกูลเบอรี่มาก่อน ผลผลิตของชาทที่ได้จะมีความฟลอรอล (Floral) และ ฟรุ๊ตตี้ (Fruity) เวลากินเข้าไปจะอ่อนนุ่มมากกว่า ขณะเดียวกันถ้าจังหวัดแพร่ หรือลำพูน พื้นที่ภูเขาจะเตี้ยกว่าที่เชียงราย และปลูกผลไม้อีกตระกูล เช่น ข้าวโพด มันสัมปรัง พอเราเอาใบชาไปปลูกก็จะเป็นอีกโทนหนึ่ง เป็นโทนที่ ถั่ว ๆ มีความช็อกโกแลต และโกโก้หน่อย
.
.
หลักการของชา มันคล้ายกับกาแฟเลย รสชาติที่ได้จะมาจากอากาศ ดิน แล้วก็น้ำ ชาบางตัวก็ใช้ได้ทั้งใบทั้งก้าน บางตัวก็ใช้ได้แค่ใบอย่างเดียว และบางตัวใช้ได้เฉพาะก้าน”
.
.
หากจะให้กล่าว ใบชาก็คงไม่ต่างจากชีวิตคน แม้จะมี DNA เดียวกัน และแม้จะเติบโตอยู่ในไร่เดียวกัน แต่ปริมาณของแสงแดดและน้ำที่ต่างกันเพียงเล็กน้อย ก็ทำให้ชาแต่ละต้นมีความเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน
.
#ชาไทยกับศาสตร์
.
นอกจากร้านชาไทย คุณแพรยังมีร้านกาแฟริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเรียบถนนทรงวาดชื่อว่า Woodbrook Bangkok ประสบการณ์ที่เธอสั่งสมกว่า 7 ปี ทำให้เธอแบ่งแผนการดำเนินร้าน Khiri Thai Tea ออกเป็น 3 ช่วง
.
ช่วงที่ร้านยังไม่เปิด (ช่วงที่ 1)
ช่วงดำเนินกิจการ (ช่วงที่ 2)
แผนการในอนาคต (ช่วงที่ 3)
.
ในช่วงที่ 1 ที่คุณแพรยังไม่เปิดร้าน สิ่งที่คุณแพรเตรียมคือความรู้เรื่องชา การพัฒนาสินค้า การทำ Research ลูกค้า เลือกทำเลร้าน และการดีไซน์ร้านให้สะดวกต่อการทำงานของพนักงาน แต่ก็ยังสวยงาม เข้าถึงลูกค้าได้ทุกกลุ่ม
คุณแพรเล่าเสริมว่าเมื่อเธอเห็นตึกนี้ก็ชอบเลยในทันที เพราะเป็นทำเลที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ในส่วนของการปรับปรุงตึก คุณแพรพยายามคงสะภาพเดิมทุกอย่างเอาไว้ให้ได้มากที่สุด โดยมากถึง 80% เพราะสถาปัตยกรรมนี้มีเสน่ห์เฉพาะตัวของย่านแห่งนี้อยู่แล้ว
.
ตั้งแต่ยังไม่ก้าวขาเข้ามาในร้าน เราก็คิดกับตัวเองตลอดว่า เราเลือกที่ตั้งร้านได้ดีจริง ๆ ขวามือเป็นวัดไตรมิตรที่มีเสียงกรุ๊งกริ๊งของกระดิ่ง ส่วนด้านซ้ายมือคือวงเวียนโอเดียน ที่ตั้งของซุ้มประตูซึ่งเป็นจุดตัดของถนนเข้าสู่เยาวราช
.
มันเหมือนกับว่าพื้นที่แห่งนี้ได้ผสานความหลากหลายทางวัฒนธรรม และกำลังจะกลายเป็นไอคอนสำคัญที่นำส่งเอกลักษณ์ของไทย สู่ทั้งไทยและเทศ
.
ช่วงที่ 2 เป็นช่วงเปิดร้าน ความท้าทายของช่วงนี้ อยู่ที่การเทรนพนักงาน และการคงคุณภาพของรสชาติ
.
“เราพยายามคิดก่อนด้วยว่าจะรับมือยังไง ความยากก็คือเราต้องคงคุณภาพให้ดีที่สุด และรักษารสชาติที่คงที่ แม้ปริมาณลูกค้าจะเยอะ ในส่วนของพนักงาน ต้องทำให้พนักงานบริการลูกค้าได้ดีที่สุด แม้คนจะเยอะ หรือจะน้อย ก็ต้องพร้อมให้บริการ ไม่หน้าบูดบึ้ง”
.
ช่วงที่ 3 เป็นแผนการในอนาคต ความตั้งใจของคุณแพรหลังจากนี้ประกอบไปด้วยการเปิด Workshop ชาไทย การนำชาไทยสำเร็จรูปจากพื้นที่ต่าง ๆ ในไทยเข้ามาขายในร้าน และการขยายสาขาผ่านการสร้างแฟรนไชส์
.
“ความยากของทั้ง 3 ช่วง มันคือการที่เราต้องโฟกัสกับเรื่องอื่น นอกจากเรื่องที่เราเคยโฟกัสมาแล้ว และมันเป็นความยากที่ไม่เหมือนกัน”
#ชาไทยกับสีส้มที่ค่อยๆจาง
.
หลังดื่มชาไทยเสร็จแล้ว หลายครั้งเราจะเจอว่าริมฝีปากของเราถูกย้อมด้วยสีส้มจากชา การพูดคุยกับคุณแพรในครั้งนี้ก็ได้ทิ้งสีของชาไว้ให้เราเช่นเดียวกัน แต่เป็นการทิ้งไว้ในความคิด
.
ก่อนจบบทสนทนาเราได้ถามคุณแพรว่าถ้ามีหลายคนที่อยากเปิดร้านแต่กลัวการเริ่มต้น พวกเขาจะเอาชนะความกลัวเหล่านั้นได้ยังไง
“แพรเป็นคนที่พอคิดแล้วก็อยากทำเลย เพราะเรากลัวว่าถ้าไม่ได้ทำแล้วเราจะเสียใจ แล้วเราก็จะเสียดาย ก็เลยคิดว่าถ้าคิด ถ้าเพียงแค่คิดมันจะไม่ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง ถ้าคิดว่าเดี๋ยวพรุ่งนี้ดีกว่ามันก็จะยังไม่มีสักที ก็เลยคิดว่าถ้าเราคิดแล้ว แล้วเราตั้งใจแล้วว่านั้นคือสิ่งที่เราชอบ เราตั้งใจอยากทำมันออกมาให้ดี ก็ลงมือทำเลย
.
ในอนาคต หรือวันข้างหน้ามันมีปัญหารออยู่แล้ว แต่ปัญหามันมีไว้แก้ไข ลงมือทำให้เต็มที่ แล้วก็เดินหน้าต่อไป”
.
.
#Torpenguin #KhirThaiTea
.
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านต่อบทสัมภาษณ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ร้าน Henryfry ความกรุบกรอบพิถีพิถัน ที่ต้องรอนานหน่อยนะ
เนื้อแคมป์ไฟ ร้านอาหารที่เกิดจาก Passion ของเด็กอายุ 11 ขวบ
Matsu Sushi จากซัพพลายเออร์ สู่เจ้าของร้านอาหารญี่ปุ่นในอีสาน
ถอดความสำเร็จ ผัดไทยหมี่กรอบ เจ้าแรกของไทย ร้านแม่ทุมผัดไทยเข่ง
ถอดความสำเร็จ The Bridge Bistro & Office Space เปิดคาเฟ่ชานเมืองให้ดึงดูดลูกค้า
ถอดบทเรียน พี่เขียวข้าวเหนียวห่อ ทำคอนเทนต์ยังไงให้ปังบน TikTok