FIFO FEFO ทั้ง 2 อย่างนี้ต่างกันยังไง? เลือกใช้งานยังไง?
การจัดการสต๊อกในร้านอาหารเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าทำได้ไม่ดีก็จะทำให้ต้นทุนบานปลาย วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับ 2 ระบบที่ช่วยคุณจัดการสต๊อกอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือ FIFO และ FEFO นั่นเอง
อย่างนี้ต่างกันยังไง? เราเหมาะกับแบบไหน ไปดูกันเลย
#FIFO มันคืออะไร?
FIFO ย่อมาจาก First In, First Out หรือแปลเป็นไทยง่าย ๆ ว่า “เข้าแรก ออกก่อน” หมายความว่า วัตถุดิบที่ซื้อเข้ามาก่อน จะถูกนำไปใช้ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้วัตถุดิบเก่าค้างสต๊อกจนหมดอายุ
สมมุติว่าคุณซื้อนมสดเข้ามา 10 กล่องในวันที่ 1 มกราคม และอีก 10 กล่องในวันที่ 3 มกราคม เวลาหยิบใช้ในครัว คุณต้องใช้กล่องที่ซื้อมาในวันที่ 1 มกราคมก่อน
FIFO ช่วยลดปัญหาวัตถุดิบหมดอายุ และทำให้เราจัดการสต๊อกได้ง่าย ซึ่งเหมาะมาก ๆ กับวัตถุดิบที่มีวันหมดอายุชัดเจนและเก็บได้นาน เช่น นม ไข่ แป้ง น้ำตาล น้ำมัน ซอส หรือของแห้ง
จุดที่ต้องระวังเลยก็คือ พนักงานต้องรู้จักระบบนี้เป็นอย่างดี และต้องหยิบวัตถุดิบตามลำดับที่ถูกต้องเสมอ ไม่อย่างนั้นวัตถุดิบเก่าอาจค้างจนเสียได้
#FEFO คืออะไร?
FEFO ย่อมาจาก First Expired, First Out หรือแปลว่า “หมดอายุก่อน ใช้ก่อน” ระบบนี้เน้นการดูวันหมดอายุเป็นหลัก โดยวัตถุดิบที่ใกล้หมดอายุก่อน จะถูกหยิบไปใช้ก่อน เพื่อป้องกันของเสียหาย
สมมุติว่าคุณมีนม 10 กล่องที่ซื้อมาในวันที่ 1 มกราคม และอีก 10 กล่องในวันที่ 3 มกราคม แต่กล่องที่ซื้อมาในวันที่ 3 มกราคมกลับมีวันหมดอายุก่อน พนักงานต้องหยิบกล่องที่หมดอายุก่อนออกมาใช้ก่อนเสมอ
FEFO ช่วยลดปัญหาวัตถุดิบเสียหาย แม้จะซื้อมาคนละรอบก็ตาม ซึ่งเหมาะกับวัตถุดิบที่มีวันหมดอายุไม่แน่นอน เช่น พวกผัก ผลไม้ หรือของสด หรือ วัตถุดิบที่วันหมดอายุเปลี่ยนแปลงได้เร็ว เช่น ขนมปัง หรืออาหารสำเร็จรูป
จุดที่ต้องระวังคือจะต้องมีการตรวจสอบวันหมดอายุอย่างละเอียดและถี่ รวมไปถึง FEFO นั้นใช้เวลาและต้องการความใส่ใจในการจัดการมากกว่า FIFO
FIFO vs FEFO: ร้านอาหารควรเลือกใช้แบบไหนดี?
อย่างที่เห็น คุณไม่จำเป็นต้องเลือกแค่ระบบใดระบบหนึ่ง คุณสามารถใช้ทั้งสองระบบควบคู่กันไปได้ ขึ้นอยู่กับประเภทของวัตถุดิบและความเหมาะสมในร้านของตัวเอง
1. ใช้ FIFO กับวัตถุดิบประเภทไหน?
- ของแห้ง เช่น แป้ง น้ำตาล เส้นพาสต้า
- วัตถุดิบที่มีวันหมดอายุชัดเจนและเก็บได้นาน เช่น นม น้ำมัน ซอสต่าง ๆ
2. ใช้ FEFO กับวัตถุดิบประเภทไหน?
- ของสด เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์
- วัตถุดิบที่วันหมดอายุเปลี่ยนแปลงได้เร็ว เช่น ขนมปัง หรืออาหารสำเร็จรูป
ที่สำคัญอย่าลืมว่าต้องมีการตรวจสอบสต๊อกสม่ำเสมอด้วย จะเช็กสต๊อกทุกวันหรือทุกสัปดาห์ ก็แล้วแต่จัดตารางให้เข้ากับร้านของตัวเองเลย
หวังว่าบทความที่นำมาฝากกันในวันนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการและคนที่อยากเปิดร้านอาหารทุกท่านนะคะ ฝากติดตาม Torpenguin ในทุก ๆ ช่องทางด้วยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ 😊
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อ
- Portion Control ทำยังไง ได้บ้าง? 3 ขั้นตอนเริ่มต้นง่าย ๆ สำหรับคนทำร้านอาหาร
- สต๊อกวัตถุดิบ ก็นับออกจะบ่อย ทำไมยังมีปัญหาเรื่องสต๊อกอยู่? เราพลาดตรงไหนกันแน่
- มาตรฐานสูตรอาหาร (Standard Recipes) คืออะไร ทำไมร้านอาหารทุกร้านถึงควรทำ
- Portion Spoons อุปกรณ์สำคัญที่ร้านอาหารยุคใหม่ต้องมี
- เคล็ดลับ นับสต๊อกร้านอาหาร และจัดการวัตถุดิบ ทำเป็นเห็นกำไร
- วิธีดูวันหมดอายุของซอส เรียนรู้เรื่อง Shelf Life สำหรับธุรกิจร้านอาหาร