Collaboration Marketing

ถ้าจะพูดว่ายุคนี้เป็นยุคแห่งการ Collab กันของแบรนด์ต่าง ๆ ก็คงจะไม่เกินจริง เพราะคุณเองในฐานะผู้โภค ก็คงจะเคยเห็นสินค้าแบรนด์ดังต่าง ๆ มีการ Collab กันอยู่เรื่อย ๆ แม้แต่ธุรกิจอาหารก็ไม่ต่างกัน แบรนด์ธุรกิจอาหารหลายแบรนด์จับมือกันสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แคมเปญใหม่ ๆ ออกมาตอบโจทย์ผู้บริโภคกันมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้เรียกว่า Collaboration Marketing หรือการเปลี่ยนคู่แข่งเป็นคู่ค้า ร่วมมือกันสร้างพันธมิตรทางธุรกิจอาหารซะเลย แทนที่จะแข่งกัน แล้วทำไมการตลาดรูปแบบถึงกำลังเป็นที่นิยม มาดูกัน

Collaboration Marketing เปลี่ยนคู่แข่งเป็นคู่ค้า
สร้างพันธมิตรธุรกิจอาหาร

Collaboration Marketing คือ กลยุทธ์การตลาดรูปแบบหนึ่งที่เป็นการร่วมมือกันระหว่างแบรนด์ เพื่อผลิตสินค้าหรือแคมเปญใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจร่วมกัน ช่วยยกระดับให้กับธุรกิจ และขยายฐานลูกค้าใหม่ ๆ และยังคงดึงดูดกลุ่มลูกค้าเดิมไว้ด้วย โดยการนำจุดเด่นที่เป็นข้อได้เปรียบ หรือเป็นจุดขายของแต่ละแบรนด์ มาอยู่บนผลิตภัณฑ์ หรือแคมเปญใหม่ ๆ ที่ร่วมกันทำ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่นิยมใช้กันทั่วโลก เพราะเป็นการทำการตลาดที่ช่วยเปิดโอกาสทางธุรกิจได้ในหลายมิติให้กับแบรนด์ และสามารถทำได้กับแทบธุรกิจ รวมถึงธุรกิจอาหารด้วยเช่นกัน ที่หลายแบรนด์ธุรกิจอาหารมีการใช้Collaboration Marketing กันอย่างคึกคัก สร้างความตื่นเต้น แปลกใหม่ให้กับผู้บริโภคมาก ๆ

>> ข้อดีของการทำ Collaboration Marketing สำหรับธุรกิจอาหารยุคใหม่

> รวมกันเราอยู่
แทนที่จะเป็นคู่แข่งกันเอง มาจับมือเป็นคู่ค้ากันซะเลยดีกว่า แล้วร่วมกันสร้างความโดดเด่นที่เหนือกว่ายิ่งขึ้นไปอีก ด้วยจุดขายของแต่ละแบรนด์ให้มีความแปลกใหม่ ตื่นเต้น ผู้บริโภคมีความสนใจ อยากลิ้มลองผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ

> ขยายฐานลูกค้า เพิ่มความน่าสนใจเป็น 2 เท่า
แน่นอนว่าเมื่อ 2 แบรนด์ตัดสินใจจับมือกันสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ต่างฝ่ายต่างมีฐานลูกค้าของตัวเองอยู่แล้ว เมื่อมาร่วมมือกัน ก็ย่อมเป็นการช่วยขยายฐานลูกค้า ขยายตลาดแชร์ลูกค้าร่วมกัน เป็นการเพิ่มลูกค้า เพิ่มรายได้ (Expanding Customer Base & Increasing Sales) และได้รับความสนใจจากกลุ่มลูกค้าอีกแบรนด์ได้โดยอัตโนมัติ

> ได้ประโยชน์จากทรัพยากรคุณภาพซึ่งกันและกัน
ธุรกิจของแต่ละแบรนด์ ย่อมมีบุคลากร ทรัพยากร แหล่งวัตถุดิบ ผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยี งบประมาณ หรือแม้แต่การตลาด ครอบคลุมทั้งหมดเป็นเรื่องปกติ แต่อาจจะมีประสิทธิภาพมากในแต่ละด้าน มากน้อยแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้น การร่วมมือกันจะเป็นการมาวิเคราะห์ว่าแบรนด์ไหน มีจุดเด่นในด้านใดมากกว่าที่จะทำให้แบรนด์ที่ collab กันโดดเด่นที่สุด ซึ่งเรียกว่าเป็นการกระจายและแบ่งปันกันระหว่าง 2 แบรนด์ ไม่ใช่แค่แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งต้องรับผิดชอบ เพื่อช่วยกันสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ให้โดนใจลูกค้า

> เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์
เรียกว่าเป็นการผนึกกำลังร่วมกันระหว่างแบรนด์ คุณลองคิดดูว่าการร่วมมือกันทำCollaboration Marketing ระหว่างแบรนด์นั้น หากแบรนด์หนึ่งก็เป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง มีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในตลาดอยู่แล้ว และยิ่งมาจับมือกันกับอีกแบรนด์ที่มีชื่อเสียง มีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่นิยมมากเช่นกัน ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือ ความแข็งแกร่งให้กับทั้ง 2 แบรนด์ และเพิ่มความมั่นใจ เรียกความสนใจให้ผู้โภคซื้อสินค้าของคุณได้ไม่ยากเลย

แต่ถ้าคุณเป็นแบรนด์เล็ก ๆ ก็ไม่ใช่ว่าจะหมดหวังและคิดว่าวิธีนี้จะใช้ได้กับแบรนด์ใหญ่เท่านั้น บางครั้งหากคุณเป็นแบรนด์เล็ก ๆ อยู่ในชุมชนทั่วไป อาจจะลองวิธีเจรจาและจับมือร่วมกันกับคู่แข่งในย่านนั้นให้กลายมาเป็นคู่ค้า แล้วคิดแคมเปญ โปรโมชัน หรือผลิตภัณฑ์เมนูใหม่ ๆ ออกมา ก็สามารถทำได้เช่นกัน

> ท้าทายความคิดสร้างสรรค์ ร่วมกันสร้างผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่
อยากที่บอกว่าการ Collaboration Marketing ระหว่างแบรนด์นั้นเป็นการร่วมกันคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีในท้องตลาดขึ้นมา แล้วถ้าประสบความสำเร็จ ผู้บริโภคชื่นชอบ ให้การตอบรับดี มียอดการขายสินค้าหรือเมนูใหม่นี้สูง ก็ยิ่งเป็นการทำให้เห็นว่าทั้งสองแบรนด์มีศักยภาพในการสร้างสรรค์สินค้าตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ ก็จะยิ่งทำให้คุณ มีแต้มต่อเหนือคู่แข็งในตลาดเดียวกัน ที่ยังมีคู่แข่งอีกมากมาย มองอีกมุมก็เป็นการท้าทายความคิดสร้างสรรค์ในการทำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และยิ่งถ้าเป็นคอลเลคชันพิเศษ หรือ สินค้า Limited Edition เพื่อนักสะสมแล้วล่ะก็ บอกเลยว่าจะยิ่งเพิ่มมูลค่าและยอดขายให้กับแบรนด์คุณได้เลย

> โอกาสเติบโตทางธุรกิจของแต่ละแบรนด์
นอกจากการเพิ่มมูลค่า เพิ่มรายได้ที่แบรนด์จะได้จากการทำCollaboration Marketing แล้ว แบรนด์ที่ร่วมมือกันยังได้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกัน ได้เรียนรู้กลยุทธ์ของแต่ละแบรนด์ แลกเปลี่ยนกันฝในแง่ของความเชี่ยวชาญในแต่ละแบรนด์ เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนา เพื่อปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองต่อไปในอนาคตหลังจบแคมเปญซึ่งกันและกัน

การทำCollaboration Marketing นั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่ต้องมีความรอบคอบอย่างมาก ในการที่จะเลือกแบรนด์มาคอลแลปกับแบรนด์ใดนั้น ยังมีสิ่งที่ต้องคำนึงรอบด้านด้วย ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ ความนิยมในตลาดของแบรนด์ ไม่มีประวัติเสื่อมเสีย มีการทำการตลาดที่ดีมาต่อเนื่อง และอื่น ๆ อีกมากมายตามเงื่อนไขของแต่ละแบรนด์ และที่สำคัญคือต้องกำหนดเป้าหมายของธุรกิจร่วมกันอย่างชัดเจนตั้งแต่แรกด้วย ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลงด้านฐานลูกค้า รายได้ยอดขาย ติดตามและประเมินผลเพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับกลยุทธ์กันต่อไปในอนาคต

📌 ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin

📌 อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
7 วันก่อนเปิดร้าน แชร์เทคนิค เทรนพนักงานครัว ให้เป๊ะ เป็นงานไว
ร้านอาหารต้องรู้ บาลานซ์เมนู ร้านอาหาร ให้ดี เสิร์ฟได้ไว ไม่ติดขัด
สารพัด กลโกงในร้านอาหาร ปัญหายอดฮิตที่เจ้าของร้านอาจต้องเจอ
น้ำเต้าหู้ปูปลา ร้านน้ำเต้าหู้แนวใหม่ ส่งมอบความสุขในความทรงจำแบบครบเครื่อง
Yield คืออะไร สำคัญแค่ไหน เรื่องต้องรู้ก่อนตั้งราคาอาหาร
กฎหมาย PDPA ร้านอาหาร ที่ผู้ประกอบการต้องรู้
เคล็ดลับ นับสต๊อกร้านอาหาร และจัดการวัตถุดิบ ทำเป็นเห็นกำไร
สร้างเมนูใหม่กำไรเข้าร้าน ด้วยไอเดีย จัดการ Food Waste สไตล์ตะวันตก
รวมสารพัดวิธีแก้ ปัญหาลูกค้าแน่นร้าน จัดการดีไม่มีสะดุด
รับช่วงต่อกิจการ อย่างไรไม่ให้เจ๊ง!
เทคนิคเก็บ เซอร์วิสชาร์จร้านอาหาร ทำอย่างไรให้ลูกค้าพอใจที่ต้องจ่าย
ข้อดีและข้อเสียของการทำ เมนู QR CODE หรือ เมนูอาหารออนไลน์