การทำงบกำไรขาดทุน ร้านอาหาร

วิธีง่ายๆ ใน การทำงบกำไรขาดทุน (P&L) สำหรับร้านอาหาร

การทำธุรกิจร้านอาหาร เป็นเรื่องที่ไม่สามารถใช้ความรู้สึกคาดเดาได้เลย บางครั้งเราอาจเห็นลูกค้าแน่นร้าน ออร์เดอร์เข้ารัวแบบไม่พัก เลย “คิดเอาเอง” ว่า ร้านของเราต้องได้กำไรเยอะแน่ๆ จึงเตรียมลงเงินไปกับสาขาใหม่ หรือปรับปรุงร้านเพิ่มเติม แต่อยู่มาวันหนึ่งร้านของเรากลับต้องปิดตัวลง เพราะไปต่อไม่ไหว และเพิ่งมารู้ตัวเอาทีหลัง ในวันที่สายไปเสียแล้วว่า ที่ร้านขายดีมาตลอดนั้น แทบไม่มีกำไรเลย...เหตุการณ์แบบนี้มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ กับร้านที่ไม่ยอมให้ความสำคัญกับ การทำงบกำไรขาดทุน แม้ว่า การทำงบกำไรขาดทุน จะเป็นเรื่องที่ดูยุ่งยาก มีแต่ตัวเลขมากมาย ชวนปวดหัว แต่ก็เป็นสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารจำเป็นต้องทำอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะงบกำไรขาดทุน...
เริ่มทำบัญชีร้านอาหาร

เริ่มทำบัญชีร้านอาหาร ต้องทำยังไง พื้นฐาน 4 ข้อที่ควรทำให้ได้

เริ่มทำบัญชีร้านอาหาร ต้องทำยังไง พื้นฐาน 4 ข้อที่ควรทำให้ได้แล้วการทำบัญชีต้องเริ่มจากตรงไหน? ประโยชน์ของการทำบัญชีมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับยื่นกู้ ช่วยให้สามารถจัดการด้านการเงินได้อยากมีประสิทธิภาพ การตั้งราคาซื้อขาย รายรับรายจ่าย ไปจนถึงทำให้ทราบข้อมูลเชิงลึกสำหรับใช้ในการควบคุมต้นทุน และจัดการงบสำหรับทำการตลาด นอกจากนี้การทำบัญชียังทำให้ร้านของเราสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง โดยไร้กังวลเรื่องภาษีย้อนกลังจากสรรพากร แต่เมื่อพูดถึงการทำบัญชีเรามักรู้สึกว่ามันยาก แต่ในปัจจุบันนี้มีเครื่องมือหลายอย่างที่ช่วยให้เราสามารถทำบัญชีได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่อง POS หรือการจ้างหน่วยงานภายนอกมาจัดการ ซึ่งการ เริ่มทำบัญชีร้านอาหาร แบบพื้นฐานสุด ๆ เราสามารถเริ่มทำได้เลย ดังนี้ 1. จัดทำรายรับรายจ่ายอย่างละเอียด ร้านเราควรมีการจัดทำบันทึกรายรับรายจ่ายอย่างละเอียด ควรทำบันทึกรายรับแยกจากรายได้รวม...
มัดรวมเรื่อง ภาษีร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้

มัดรวมเรื่อง ภาษีร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้

นอกจากการทำบัญชีแล้ว “ ภาษีร้านอาหาร ” ก็นับว่า เป็นอีกหนึ่งเรื่องใหญ่ที่สร้างความปวดหัวให้เจ้าของร้านอาหารหลายต่อหลายคน หากคุณกำลังสับสนว่า ตกลงแล้วต้องเสียภาษีอะไรบ้าง บุคคลธรรมดากับนิติบุคคลจ่ายภาษีต่างกันอย่างไร รายได้เท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี ถ้าขาดทุนจำเป็นต้องยื่นภาษีไหม ขายแบบเดลิเวอรี ไม่มีหน้าร้าน ต้องยื่นภาษีหรือไม่ ฯลฯ … มาหาคำตอบได้ในบทความนี้ เรารวบรวมทุกเรื่องเกี่ยวกับ ภาษีร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านจำเป็นต้องรู้ มาฝากแล้ว เจ้าของร้านอาหารต้องเสียภาษีอะไรบ้าง 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ในกรณีที่ทำธุรกิจในนามบุคคลธรรมดา) หรือนิติบุคคล (ในกรณีที่ทำธุรกิจในนามนิติบุคคล)...
วิธีเช็ก สภาพคล่องของกิจการร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้

วิธีเช็ก สภาพคล่องของกิจการร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้

หนึ่งสาเหตุที่ทำให้ร้านอาหารหลายร้านไปไม่รอด เพราะมีเงินสดหมุนเวียนในกิจการไม่เพียงพอ แม้ว่าดูเผินๆ เหมือนจะมีรายรับเข้ามาเยอะ แต่พอมาดูฝั่งรายจ่ายแล้ว กลายเป็นว่าเงินติดลบ แถมยังมีเงินเหลือสำหรับดำเนินกิจการต่อไปได้แค่ไม่กี่เดือน เรียกง่ายๆ ว่า เงินตึงมือ หรือขาด สภาพคล่องของกิจการร้านอาหาร นั่นเอง สภาพคล่องของกิจการร้านอาหาร นอกจากจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกิจการของเราได้แล้ว ยังช่วยประเมินความเสี่ยงในการทำธุรกิจได้อีกด้วย ร้านไหนที่มีความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ก็แปลได้ว่า ร้านนั้นอาจมีเงินสดหมุนเวียนไม่เพียงพอสำหรับจ่ายค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแรงพนักงาน ค่าวัตถุดิบ หรือแม้กระทั่งจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งอาจนำไปสู่จุดจบของร้านอาหารได้ บทความนี้จะพาเจ้าของร้าน...
สัญญาณที่บอกว่า ถึงเวลาต้อง ทำบัญชีร้านอาหาร ให้เป็นระบบได้แล้ว

สัญญาณที่บอกว่า ถึงเวลาต้อง ทำบัญชีร้านอาหาร ให้เป็นระบบได้แล้ว

การ ทำบัญชีร้านอาหาร ดูจะเป็นยาขมหม้อใหญ่สำหรับเจ้าของร้านเลยก็ว่าได้ เพราะมีตัวเลขมากมายให้ต้องทำความเข้าใจ หลายคนจึงมองว่าเป็นเรื่องยากและน่าปวดหัว บางคนก็ไม่มีเวลามาโฟกัส เพราะลำพังแค่ทำอาหารให้รสชาติถูกปากลูกค้า และทำการตลาดให้คนรู้จักร้านของเรา เท่านี้ก็เหนื่อยจนแทบจะหมดแรงแล้ว ไม่รู้จะเอาเวลาที่ไหนมาจัดการเรื่องบัญชี บางคนก็มองว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญนัก ขายได้เท่าไหร่ก็เก็บเข้าเก๊ะเอาไว้ ถึงเวลาก็รวบรวมเงินไปฝากธนาคาร เท่านี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม การละเลยเรื่องการ ทำบัญชีร้านอาหาร ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เจ้าของร้านหลายคนเจ๊งมานักต่อนักแล้ว...อย่าปล่อยให้ปัญหาลุกลามจนยากเกินจะแก้ รีบมาเช็กกันเลยดีกว่า หากร้านของคุณกำลังตกอยู่ในสถานการณ์เหล่านี้ ถึงเวลาต้องรีบทำบัญชีให้เป็นระบบโดยด่วน 1. ลูกค้าแน่นร้าน แต่หมดวันแล้วไม่รู้เงินหายไปไหน บางร้านขายดิบขายดีทั้งวัน ลูกค้าแน่นร้าน จนเจ้าของร้านแทบไม่ได้มีเวลาพักกินข้าว...
มัดรวมปัญหาการเงิน ที่ร้านอาหารเจอแล้วเสี่ยงเจ๊ง รู้แล้ว รีบแก้ด่วน

มัดรวม ปัญหาการเงิน ที่ร้านอาหารเจอแล้วเสี่ยงเจ๊ง รู้แล้ว รีบแก้ด่วน

ร้านอาหารหลายร้าน ต่อให้ขายดิบขายดี มีลูกค้าเข้าร้านไม่หยุด จนเจ้าของร้านแทบไม่ได้นั่งพัก แต่สุดท้ายกลับขาดทุนและปิดตัวลงไปอย่างไม่น่าเชื่อ…ปัญหาอันดับต้นๆ ที่ทำให้ร้านอาหารเจ๊ง แม้ว่าจะขายดี ล้วนมาจาก ปัญหาการเงิน ซึ่งเจ้าของร้านมักจะมองข้าม เพราะคิดไม่ถนัด หรือไม่ได้ให้ความสำคัญมากเพียงพอ บทความนี้รวบรวม ปัญหาการเงิน ที่ร้านอาหารเจอแล้วเสี่ยงเจ๊งมาฝาก อยากชวนเจ้าของร้านอาหารทุกคนมาเช็กตัวเองดูว่า มีข้อไหนที่ตรงกับตัวเองบ้าง เพื่อที่จะได้ป้องกันก่อนจะสายเกินไป 1. โฟกัสรายรับ แต่ลืมจดบันทึกรายจ่าย แม้บางคนจะจดบันทึกรายรับไว้แล้ว แต่ก็ไม่รู้ว่า ทำไมเงินที่คงเหลือจริงไม่ตรงกับยอดในบัญชี สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเป็นเพราะเจ้าของร้านไม่ได้จดบันทึกรายจ่ายอย่างละเอียด โดยเฉพาะรายจ่ายจิปาถะที่เกิดขึ้นระหว่างวัน บิลภาษี...
ขายดีจนเจ๊ง

6 ข้อควรระวัง ถ้าไม่อยาก ขายดีจนเจ๊ง

ถ้าพูดว่า “ขายดี” ใครๆ ก็มักจะคิดว่า ร้านนี้คงได้กำไรถล่มทลาย และรวยแบบไม่รู้เรื่อง แต่ความจริงแล้ว ไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป มีร้านอาหารหลายร้านที่ขายดิบขายดี ลูกค้าเข้าเยอะ จนต้องต่อคิว แต่สุดท้ายก็ต้องปิดกิจการไปอย่างไม่น่าเชื่อ หรือที่เรียกกันว่า “ ขายดีจนเจ๊ง ” นั่นเอง ถ้าคุณไม่อยากตกอยู่ในสถานการณ์ ขายดีจนเจ๊ง รีบเช็กตัวเองด่วนเลยว่า ร้านอาหารของคุณเข้าข่าย 6 ข้อนี้หรือไม่ ยิ่งรู้เร็ว ก็ยิ่งได้เปรียบ...
ทำร้านแบบไหนจ่ายภาษีน้อยกว่า

ทำร้านแบบไหนจ่ายภาษีน้อยกว่า กัน ? นิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา

ทำร้านแบบไหนจ่ายภาษีน้อยกว่า กัน ? นิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา   ทำร้านแบบไหนจ่ายภาษีน้อยกว่า นี่ถือเป็นประเด็นแรก ๆ เลยครับ สำหรับใครที่จะก้าวขาเข้าสู่วงการผู้ประกอบการอย่างเต็มตัว ที่ยังคิดไม่ตกว่าจะเอาไงดี จดแบบไหนดี หลายคนคงคิดว่า ทำร้านแบบบุคคลธรรมดาก็ต้องจ่ายภาษีน้อยกว่าสิ ใช่มั้ยคะ คำพูดนี้คงไม่ผิด ถ้าที่ผ่านมาหรือตอนนี้คุณเปิดร้านอยู่แล้วไม่เคยยื่นเสียภาษีเลย แต่นั่นหมายถึงว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงในการโดยเรียกเก็บภาษีย้อนหลังพร้อมค่าปรับอีกมโหฬาร ถึงขนาดที่อาจต้องปิดร้านไปเลยก็ได้   หรือบางคนอาจจะบอกว่าตอนนี้ยังไม่จดบริษัทแต่ก็เสียภาษีแบบเหมาจ่ายกับสรรพากรอยู่ ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้คุณจะไม่สามารถทำได้แล้วเพราะทางภาครัฐต้องการให้ผู้ประกอบทั้งหลายเข้ามาในระบบให้ถูกต้องทั้งหมด ซึ่งถ้าเมื่อไหร่คุณต้องการทำร้านให้เป็นระบบและเสียภาษีให้ถูกต้องแล้วนั้น ตอบสั้น ๆ ตรงนี้เลยว่าทำร้านแบบนิติบุคคลจ่ายภาษีคุ้มกว่าแบบบุคคลธรรมดามาก   เวลาคุณทำร้านอาหารแบบบุคคลธรรมดารายได้จากการทำร้านอาหารจะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาและจะเสียภาษีตามขั้นบันไดของบุคคล เหมือนเวลาคุณทำงานประจำแล้วต้องจ่ายภาษี คุณรายได้มากก็จะเสียมาก...
กำไรเยอะ ก็เจ๊งได้

กำไรเยอะ ก็เจ๊งได้ นะ 5 ทริคง่าย ๆ ในบริหารกระแสเงินสดให้คล่องสำหรับเจ้าของร้านอาหาร

กำไรเยอะ ก็เจ๊งได้ นะ แนะนำ 5 ทริคง่าย ๆ ในบริหารกระแสเงินสดธุรกิจให้คล่องสำหรับเจ้าของร้านอาหาร   การบริหารกระแสเงินสดถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการทำธุรกิจ เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่เรียกว่าเป็นตัวชี้วัดความอยู่รอดให้กับธุรกิจเลยก็ว่าได้   สำหรับธุรกิจอาหาร การบริหารกระแสเงินสดให้คล่องนั้นจำเป็นมาก ซึ่งก็ได้มีตัวอย่างของร้านอาหารหลาย ๆ ร้านที่ต้องล้มอย่างกะทันหัน แม้ว่าจะดูเป็นร้านที่ขายดี และมีลูกค้าเข้าเยอะก็ตาม ถึง กำไรเยอะ ก็เจ๊งได้ เหมือนกัน เนื่องจากการบริหารเงินที่ไม่ดี เพราะงั้นหากเราไม่รู้จักวิธีบริหารกระแสเงินสดให้คล่อง คำว่า 'เจ๊ง' ก็ใกล้นิดเดียว  วันนี้ผมจะมาแนะนำ...
จุดตายธุรกิจร้านอาหาร

จุดตายเรื่อง ‘เงิน’ ที่ทำให้หลายธุรกิจเจ๊งมานักต่อนัก

จุดตายธุรกิจร้านอาหาร เรื่อง 'เงิน' ที่ทำให้หลายธุรกิจเจ๊งมานักต่อนัก   หลายธุรกิจ โดยเฉพาะร้านอาหาร ต้องพบกับอุปสรรคจากการบริหารการเงินที่ไม่ดี และกลายเป็นจุดตายที่ทำให้ธุรกิจล้มเหลวอย่างรวดเร็ว การบริหารจัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่เจ้าของธุรกิจต้องให้ความสำคัญ บทความนี้จะพาคุณไปดู ปัญหาทางการเงินร้านอาหาร ที่หลายคนปล่อยไว้จนลืม เช็กเลยก่อนที่มันจะทำให้ธุรกิจเราเจ๊งโดยไม่รู้ตัว   #ไม่แยกเงินที่ทำธุรกิจออกจากเงินส่วนตัว คิดว่ากำไร หรือรายได้ของธุรกิจ เป็นเงินของตัวเอง พอจะใช้จ่ายอะไรส่วนตัวก็หยิบเงินจากในเก๊ะออกมาใช้ หรือบางครั้งต้องไปซื้อของอะไรเข้าร้านแทนที่จะใช้เงินของร้านกลับควักเงินของตัวเองไปซื้อแล้วก็ไม่ได้ทำการเบิกเงินร้านกลับมา เหล่านี้ทำให้สุดท้ายเราจะไม่รู้ว่า ตกลงแล้วร้านเรามีกำไรหรือขาดทุนต่อเดือนเท่าไหร่กันแน่ สิ่งที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ก็คือการแยกเงินของร้านกับเงินส่วนตัวออกจากกัน แบบต้องชัดเจนไปเลยนะครับ โดยการกำหนดเงินเดือนให้กับตัวเราเองและทำการจ่ายสิ้นเดือนเหมือนกับพนักงานทั่วไป และเรามีหน้าที่บริหารค่าใช้จ่ายของเราไม่ให้เกินเงินเดือนที่เราตั้งใจ เท่านี้ก็จะทำให้ไม่ต้องมานั่งปวดหัวเรื่องเงินร้านหรือเงินเราอีกต่อไป   #ไม่เข้าใจระบบภาษี ไม่ว่าเราจะเกลียดตัวเลขขนาดไหนก็ตาม นี่เป็นยาขมที่เราต้องดื่มค่ะ ใครที่กำลังคิดจะเปิดร้านอาหารหาความรู้เรื่องเหล่านี้ไว้คร่าว ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็น...