Call Me Papa

Call Me Papa จากคนต้มเบียร์อยู่หลังบ้าน สู่การส่งออกไกลไปถึงยุโรป

 

วันนี้ขอพาเพื่อน ๆ ไปเปิดโลกของธุรกิจ “คราฟต์เบียร์” วงการที่เชื่อได้เลยว่าคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก

 

มีแบรนด์คราฟต์เบียร์อยู่แบรนด์หนึ่งครับที่ทีมงาน Torpenguin รู้สึกสนใจในตัวเขามาก ๆ เขาเริ่มต้นจากการออกจากงานประจำที่รายได้ 6 หลัก ทิ้งทุกอย่างในชีวิตมาลงทุนกับการทำคราฟต์เบียร์จนตอนนี้นอกจากตลาดในไทยเบียร์แบรนด์นี้ยังเติบโตไปไกลถึงยุโรป เขามีแนวคิดแบบไหน อะไรคีย์ลับของความสำเร็จของแบรนด์นี้ไปรู้จักกับ พี่จิ๋ว – สราวุธ ประสิทธิ์ส่งเสริม เจ้าของแบรนด์ “Call Me Papa” กันค่ะ

 

Call Me Papa

 

#จุดเริ่มต้น Call Me Papa

จุดเริ่มต้นของแบรนด์เริ่มต้นจากการเป็น Home Brew หรือการต้มเบียร์ที่บ้านด้วยตัวเองกับหม้อต้มเล็ก ๆ ที่ยังไม่มีชื่อไม่มีแบรนด์คอยแจกจ่ายให้คนรอบตัวได้ชิมกันสนุก ๆ จนท้ายที่สุด ความสนุกนั้นค่อย ๆ นำพี่จิ๋วเข้าสู่วงการธุรกิจทำเบียร์แบบจริงจัง นั่นก็คือการอัปสเกลขึ้นมาเป็น Brewpub คือการมีโรงต้มเบียร์ที่ใหญ่ขึ้น และมีชื่อแบรนด์รวมถึงชื่อร้านว่า Call Me Papa

 

Call Me Papa

 

#การขยับตัวจากคนทำเบียร์ใต้ดินสู่บนดิน ทำได้ยังไงบ้าง?

วิธีแรกคือ จ้าง OEM มองหาโรงงานที่รับผลิต ซึ่งในปัจจุบันในประเทศไทยยังมีแค่ 1 เจ้าเท่านั้นที่รับผลิตคราฟเบียร์ ก็คือ บริษัท ไทย สพิริท อินดัสทรี จำกัด ซึ่งเป็นวิธีทำเป็นแบรนด์คอมเมอเชียลในรูปแบบลงกระป๋อง ส่วนวิธีที่สอง คือการเปิดเป็น Brewpub แบบที่ร้านนี่แหละ

ซึ่งจริง ๆ แล้วเนี่ยเมื่อก่อนเนี่ยการขออนุญาตเปิด Brewpub ค่อนข้างจะยากมันจะต้องมีเรื่องของทุนจดทะเบียนที่ต้องใช้ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาทและเครื่องจักรต้องกำลังการผลิต 1,000 ลิตต่อปี แต่ 2 ข้อนี้มันถูกตัดออกไปแล้ว ทำให้การเปิด Brewpub กลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นเยอะ สามารถขนาด 200 ลิตร 300 ลิตร 100 ลิตร ก็สามารถทำได้

 

 

#มาตรา 32 กฎหมายห้ามโฆษณาแอลกอฮออล์

กฎหมายข้อนี้ถือว่าเป็นจุดที่หลาย ๆ แบรนด์เบียร์ต่างเป็นกังวล เพราะว่าการพูดคุยเครื่องดื่มแอลกกอฮอล์บนโลกออนไลน์เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายอยู่ไม่ว่าคุณจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งกฎหมายนี้พี่จิ๋วมองว่าอยากให้ยกเลิกที่สุด เพราะเป็นการกีดกันให้คนที่อยากทำแบรนด์เบียร์ทำได้ยากมาก

 

Call Me Papa Brew house

 

#ส่งเบียร์ออกเบียร์ไปถึงยุโรปได้ยังไง

จุดเริ่มต้นคือทาง Buyer ได้เข้ามาเที่ยวเมืองไทย แล้วเขาก็เจอเพื่อนที่เป็นคนไทย เขาแนะนำให้มาลองชิมเบียร์ที่ ร้าน เขาก็เลยสนใจได้มาชิมและถูกใจ ก็สแกน QR Code ติดต่อมาที่เพจว่าสนใจอยากจะเป็นตัวแทนก็เลยมาหามาคุยกันที่โรงเบียร์นี่แหละ จนเกือบ 3 เดือน ถึงจะกลับมาคอนเฟิร์ม

หลังจากนั้นก็ลุยต่อ ไปคุยกับกรมศุลกากรเรื่องการส่งออก และไปกรมสรรพสามิตเพื่อลดหย่อนภาษี กลับกลายเป็นว่าเราไม่ต้องเสียภาษีในประเทศ ทำให้ต้นทุนที่จะส่งออกต่างประเทศถูกมาก ๆ ถูกยิ่งกว่าน้ำเปล่า

 

Call Me Papa

 

#ความคาดหวังในอนาคตต่อธุรกิจคราฟต์เบียร์ไทย

อยากให้มันเสรีในการกล่าวถึงเบียร์ได้อย่างถูกกฎหมาย พูดถึงบรรยายสรรพคุณได้โดยที่ไม่ได้เป็นการชักชวนให้คนมาเมากันเละเทะ เพื่อที่จะทำให้แต่ละแบรนด์ได้สามารถมีช่องทางในการทำการตลาดบ้างเพราะสินค้าทุกตัวมันก็ต้องมีการตลาดอ่ะนะ ถ้าเปิดให้เสรีสามารถเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดของผู้ประกอบให้ลืมตาอ้าปากกันได้บ้าง

 

Call Me Papa

 

#ฝากถึงคนที่อยากเข้ามาทำธุรกิจนี้

การทำ Brewpub ไม่ใช่แค่เรื่องทำเบียร์แต่มันเป็นเรื่องของสถานที่ คน เป็นเรื่องของ Community ที่ทุกคนมารวมกัน บางคนไม่เคยเจอหน้ากันมีเบียร์แก้วนึง นั่งข้างกันยังคุยกันได้เลยมันเป็นเรื่องที่แบบเป็นเครื่องดื่มที่เปิดเป็น Open Relationship แบบง่าย ๆ มานั่งคุยกัน ฉะนั้นสร้างให้มันเป็น Community แล้วจะอยู่ได้ยาว

 

หวังว่าเรื่องราวของพี่จิ๋วจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับทุกคน ไว้พบกันใหม่ในบทความหน้า ฝากติดตาม Torpenguin 🐧 ในทุก ๆ ช่องทางด้วยนะคะ

 

📌 ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร

Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin

 

📌อ่านบทสัมภาษณ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อ