เล่าเรื่องบน TikTok ให้เวิร์ก ถอดสูตรมืออาชีพ หลัก ๆ เขาทำกันยังไง
TikTok เป็นแพลตฟอร์มของอารมณ์ ใครเล่าเรื่องเก่งกว่าคนนั้นชนะ
การเล่าเรื่องบน TikTok จึงไม่ได้มีแค่เรื่องของข้อมูลที่เราต้องการจะพูดเท่านั้น มาดูกันค่ะว่าเบื้องหลังของเหล่ามือโปรเขามีทริคอะไรที่เขาเตรียมก่อนทำคลิปบ้าง
#ต้อง Hook ภายใน3 วิ
เปิดเรื่องให้น่าสนใจ คุณมีโอกาสแค่ 3 วิเท่านั้น ใน TikTok ถ้าคนดูไม่สนใจใน 3 วินาทีแรก = จบ! ดังนั้นคลิปต้อง “มีตะขอเกี่ยวใจ” ตั้งแต่ต้น วิธีที่มือโปรใช้บ่อย ๆ คือ
– ตั้งคำถามให้สงสัย
– เปิดด้วยคำเกริ่นสถานการณ์ตึง ๆ
– เล่าเรื่องส่วนตัว
– ใช้ภาพหรือตัวอักษรดึงสายตา
– ใช้ปัญหาของคนดู
#Show, Don’t Tell
การบอกว่าวันนี้จะมาทำอะไร สำหรับแพลตฟอร์มนี้อาจจะเป็นเรื่องน่าเบื่อไปซักหน่อย เทคนิคที่มือโปรมักเอามาใช้เสริมเพื่อให้คนดูเห็นภาพมายิ่งขึ้น คือ
– ใช้ “B-Roll” หรือภาพแทรกให้เห็นแทนการพูด
– ใส่เสียงเอฟเฟกต์เพื่อให้คนรู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์
– ใส่ข้อความเสริม ถ้าเนื้อหาหนักหน่วง คนดูจะอ่านไปพร้อมกับฟังได้
#ทำให้คนมีส่วนร่วม
Storytelling ที่ดีไม่ใช่แค่เล่า แต่ต้องทำให้คนดู “รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องนั้น ๆ” ถ้านึกไม่ออกว่าจะต้องเริ่มทำยังไง คุณอาจลองใช้ทริคเหล่านี้ดู
– คำถามปลายเปิด เช่น “ถ้าคุณอยู่ในสถานการณ์นี้ คุณจะทำยังไง?”
– ใช้ POV (Point of View) ให้คนดูรู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์
– ให้คนดูช่วยตัดสินใจ เช่น “กด 1 ถ้าคิดว่าควรไปต่อ กด 2 ถ้าคิดว่าควรเลิก”
#พล็อต 3 องค์ (The 3-Act Structure)
ถ้าลองสังเกตคลิปสายเล่าเรื่องส่วนใหญ่มักมี 3 ส่วนหลัก คือ ‘เปิด-พีค-จบ’ ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับที่หนังหรือซีรีส์ดัง ๆ ใช้
- Act 1 (เปิดเรื่อง): แนะนำปัญหา หรือฉากหลังของเรื่อง
- Act 2 (ปมปัญหา): สร้างความตื่นเต้นหรือปัญหาที่ต้องแก้ ทำให้เรื่องมีความเข้มข้นขึ้น กระตุ้นอารมณ์คนดู (สงสัย ตื่นเต้น กลัว ฯลฯ)
- Act 3 (ไคลแม็กซ์ + จบ): เฉลยคำตอบ หรือหักมุม ทำให้คนดูจดจำคลิปนี้ได้
#ปิดท้ายให้คนดู “จำ” และ “แชร์”
สุดท้ายอย่าลืมว่าต้องมี Call-to-Action (CTA) อย่างเช่น
– “กดติดตามไว้ ถ้าอยากฟังเรื่องแบบนี้อีก”
– “อย่าลืมเซฟไว้ดูทีหลังนะ”
– “แชร์ให้เพื่อนที่ยังไม่รู้เรื่องนี้”
สรุปแบบสั้น ๆ จำง่าย ๆ ว่า TikTok Storytelling ที่เวิร์ก = ดึงดูด + อิน + มีส่วนร่วม
- เปิดเรื่องให้ดึงดูด (Hook แรง ๆ ใน 3 วิแรก)
- เล่าให้เห็นภาพ (ใช้เสียง ภาพ ตัวหนังสือช่วย)
- ชวนคนดูมีส่วนร่วม (ถามคำถาม ใช้ POV)
- ใช้โครงเรื่อง 3 องค์ (เปิด-พีค-จบ)
- ปิดท้ายด้วย CTA (ให้กดติดตาม แชร์ คอมเมนต์)
และอย่างที่บอกไว้ในบรรทัดแรกเลยว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มของอารมณ์ ใครเล่าเรื่องเก่งกว่า ใครเข้าใจคนดูมากกว่ากัน และเสิร์ฟในสิ่งที่เขาต้องการได้คนนั้นชนะ
TikTok ไม่มีสูตรสำเร็จ การ เล่าเรื่องบน TikTok ก็เหมือนกัน เพราะลูกค้าของเราที่อยู่บนนั้นเปลี่ยนพฤติกรรมตลอดเวลา สิ่งที่เราทำได้คือศึกษาและลงมือทำให้มากขึ้นในทุก ๆ วันครับ ลองนำไปไกด์ไลน์เหล่านี้ไปลองปรับใช้ให้เข้ากับสไตล์ของตัวเองดูค่ะ
หวังว่าบทความที่นำมาฝากกันในวันนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการและคนที่อยากเปิดร้านอาหารทุกท่านนะคะ ฝากติดตาม Torpenguin ในทุก ๆ ช่องทางด้วยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ 😊
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อ
- ลูกค้าเปลี่ยนไป ตลอดเวลา? 12 สิ่งที่ลูกค้าจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง แม้โลกจะเปลี่ยนไปก็ตาม
- เทรนด์การตลาดร้านอาหาร ปี 2025 ลูกค้าเปลี่ยน การตลาดก็เปลี่ยนเหมือนกัน มาอัปเดตก่อนลุยต่อในปีนี้กัน
- YONO เทรนด์คนรุ่นใหม่ เน้นประหยัดไม่เน้นติดหรู กระแสใหม่ที่ร้านอาหารไม่ควรมองข้ามในปี 2025
- ธุรกิจร้านอาหารปี 2025 ภาพรวมจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมขนาดไหน?
- Loss Leader Strategy ‘ยอมเสียเพื่อให้ได้มากกว่าเดิม’ กลยุทธ์ราคาที่ทุนจีนมักใช้เมื่อเข้ามาตีตลาด
- ทำยังไงให้ลูกค้ากลับมา 10 ครั้งต่อเดือน? เปิดเคล็ดลับปั้น CRM ของแบรนด์ The Coffee Club และ บ้านส้มตำ
- ทำไมต้องทำ Value Content ทั้ง ๆ ที่เราทำเพจเพื่อขายของ?
- ถ่ายรูปอาหาร ด้วยมือถือ เปิด 3 เทคนิค ถ่ายให้ดูดีและน่ากินกว่าเดิม
- Butterbear กับการต่อยอดความสำเร็จจาก “Mascot Marketing”