Paradox of Choice เมื่อการมีตัวเลือกมากเกินไป อาจทำให้ลูกค้าไม่เลือกอะไรเลย
มีเมนูให้เลือกเยอะ ๆ ดีจริงเหรอ?
ร้านอาหารส่วนใหญ่มักคิดว่า การที่ร้านมีเมนูอาหารเยอะๆ นั้นดีกับลูกค้า เพราะเป็นการช่วยเพิ่มทางเลือก และทำให้ร้านมีกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่อยากจะให้ระวังให้ดีนะครับ เพราะเราอาจกำลังทำให้ลูกค้าตกอยู่ใน ‘Paradox of Choice’
มันคืออะไร?
สิ่งนี้คือ ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่เกิดขึ้นเมื่อเรามีทางเลือกมากเกินไป จนทำให้เครียด สับสน ตัดใจไม่ลง รู้สึกเสียดายที่ไม่ได้เลือกตัวเลือกอื่นๆ จนสุดท้ายอาจทำให้ตัดสินใจไม่เลือกอะไรเลย อย่างการที่ร้านมีเมนูให้เลือกเยอะไป อาจทำให้ลูกค้าใช้เวลาในการเลือกนาน หรืออาจจะแค่ดูเฉยๆ แล้วก็เดินจากไป เพราะเขาเลือกไม่ได้
การมีเมนูเยอะเกินไปนอกจากส่งผลกับลูกค้าแล้ว ยังส่งผลกับร้านในหลายๆ ด้านเลยทีเดียว
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของยอดขาย เมื่อลูกค้าใช้เวลานานขึ้น ทำให้ร้านรับลูกค้าต่อวันได้น้อยลง และเสียโอกาสในการขายให้กับลูกค้าคนอื่นๆ ต้องสต๊อกวัตถุดิบมากขึ้น ระบบครัวที่ต้องเราต้องเตรียมเพื่อรองรับทุกเมนู คุณภาพของอาหารที่อาจจะต่ำลง เชฟเกิดความสับสนเพราะเมนูเยอะไป
รวมไปถึงเรื่องการบริการที่พอลูกค้าใช้เวลาเลือกเมนูนาน พนักงานก็ต้องรอนานมากขึ้นจนอาจกระทบกับการบริการลูกค้าโต๊ะอื่น
เมนูเยอะลูกค้าก็สับสน แต่ถ้ามีเมนูน้อยเกินไปก็เป็นการจำกัดกลุ่มลูกค้า แล้วแบบไหนละถึงจะเรียกว่าพอดี?
อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับคอนเซ็ปต์และประเภทร้านอาหารของแต่ละคน อย่างถ้าเราเป็นร้านอาหารไทย ซึ่งเป็นประเภทอาหารที่ต้องมีความหลากหลาย แต่คุณกลับมีให้เลือกแค่ 30 เมนู ก็อาจจะน้อยเกินไป แต่ในขณะเดียวกันถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นที่ขายราเม็งแล้วมีให้เลือกถึง 50 เมนู กว่าจะตัดสินใจเลือกได้คงตาลายแน่นอน
แต่ไม่ว่าร้านคุณจะมีกี่เมนู จงมั่นใจว่าทุกเมนูที่คุณใส่ลงไปนั้น ต้องมีรสชาติที่ดีและโดดเด่นไว้จะดีที่สุด เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าลูกค้าจะเลือกเมนูไหน และอย่าลืมหมั่นวิเคราะห์เมนูของตัวเองบ่อยๆ ด้วยนะคะ
หวังว่าบทความที่นำมาฝากกันในวันนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการทุกท่านนะคะ ฝากติดตาม Torpenguin ในทุก ๆ ช่องทางด้วยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ 😊
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อ
- ตั้งราคาแต่ละเมนูยังไง เริ่มแบบไหนไปต่อได้ง่ายในอนาคต
- เมนูเยอะเกิน แต่ไม่รู้จะตัดอันไหนออก? เราจะรู้ได้ยังไงว่าเมนูไหนควรอยู่ เมนูไหนควรไป
- ร้านอาหารต้องรู้ บาลานซ์เมนู ร้านอาหาร ให้ดี เสิร์ฟได้ไว ไม่ติดขัด
- แชร์วิธี ปรับเมนูอาหาร อย่างไรให้ได้กำไร ยอดขายพุ่ง
- ภาพรวมของเทรนด์การตลาด Q4 2024-2025 แต่ละแบรนด์ควรปรับตัวเองยังไง เพื่อไปต่อในอนาคตอันใกล้นี้
- ทำร้านอาหารให้น่าเชื่อถือ ด้วยการหลัก Social Proof
- ‘ความน่ารัก’ มักทำให้เราหวั่นไหว รู้จัก Cute Marketing กลยุทธ์การตลาดที่จู่โจมหัวใจลูกค้าด้วย ‘ความน่ารัก’
- FOMO กลยุทธ์เพิ่มยอดขายด้วยจิตวิทยาที่เล่นกับความกลัวของลูกค้า กับ 5 เทคนิคที่เอาไปปรับใช้ได้