Pad Thai World ร้านฟาสต์ฟู้ดแบรนด์ไทยในเนเธอร์แลนด์ กับการวางแผนขยาย 20 สาขาทั่วยุโรป
หลายคนคงคิดว่าร้านอาหาร Fast food หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ Quick Service Restaurant (QSR) ที่เน้นความรวดเร็ว การบริการไม่ต้องมาก จะมีแต่เฉพาะแบรนด์จากต่างประเทศ เช่น Mcdonald, KFC, Burger King
ใครจะคิดว่าจะมีร้านอาหารไทยของเราก็สามารถเป็นแบบ Fast Food ได้ และที่สำคัญสามารถสาขาในยุโรปได้ถึง 10 สาขาในเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น
ร้านนั้นมีชื่อว่า “Pad thai” ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งผู้ก่อตั้งและหุ้นส่วนของแบรนด์นี้ก็คือ “พี่ธามม์ Tham Prawattree ” อดีตผู้บริหารแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดระดับโลกอย่าง KFC ประจำภูมิภาคเอเชีย, GM- Thai Express ในเครือ Minor Food Group Thailand, GM และ Operation Director ร้านอาหาร Blue Elephant ประเทศอังกฤษ
ผู้ที่มีประสบการณ์ในการเป็นผู้บริหารแบรนด์ร้านอาหารทั้ง Fast food, Casual dining, Fine dining และ Catering ในต่างประเทศมากว่า 25 ปี และเป็นอาจารย์ในด้านการบริหารจัดการร้านอาหาร ของใครหลาย ๆ คน
ในปี 2019 การจะทำร้าน Fast food อาหารไทยแบรนด์แรกในโลกที่อัมสเตอดัมนั้น ยอมรับเลยว่าคำถามแรกในหัวของเราคือคิดว่ามันจะทำได้หรอ? เราไม่ได้มีทุนหนา หรือมีระบบเท่ากับแบรนด์ระดับโลกอย่างพวก McDonald KFC หรือ Pizza hut ซะหน่อย แถมยังต้องใช้เงินลงทุนที่มากอีก
แต่จากประสบการณ์ในการบริหารร้านอาหารในยุโรปมาของพี่ธามม์ การคลุกคลีอยู่ในตลาดนี้มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้รู้จักผู้บริโภคอย่างแท้จริง บวกกับการเห็นช่องว่างที่พอจะเป็นโอกาสของอาหารไทย พี่ธามม์เองมีความเชื่อว่า ร้านอาหารไทยแบบฟาสต์ฟู้ดจะสามารถเติบโตได้ในยุโรป นั่นเป็นจุดเริ่มต้นในการลาออกจากการเป็นผู้บริหารแบรนด์ใหญ่แล้วมาเริ่มต้นร้านนี้ด้วยตัวเอง
พี่ธามม์ได้เล่าถึงที่มาที่ไปว่าทำไมต้องเป็นร้านผัดไท และสาเหตุที่แกคิดว่ารูปแบบร้านแบบนี้จะสามารถตีตลาดยุโรปได้ คือ
1. ผัดไท เป็นอาหารไทยที่ฝรั่งทุกคนรู้จักชื่นชอบและเรียกชื่อได้ง่าย
แม้จะเป็นเมนูที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่ผัดไทที่ขายอยู่ตามร้านอาหารในต่างประเทศกลับมีรสชาติที่ผิดเพี้ยนไป และรสชาติไม่อร่อย ทำให้เห็นถึงโอกาสที่จะไปตีตลาดได้ ถ้าเราสามารถพัฒนาสูตรและระบบที่สามารถทำให้ไม่ว่าใครก็ทำผัดไทได้
2. ร้านอาหารไทยในต่างประเทศส่วนใหญ่เจ้าของร้านจะเป็นคนจัดการเองทั้งหมด
ไม่ได้มีระบบบริหารจัดการที่ดีทำให้ขยายสาขาไม่ได้ทั้งที่ก็ขายดี ซึ่งพี่ธามม์เองมี know how ด้านการสร้างระบบร้านอาหารเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
3. อัตราค่าแรงในยุโรปที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
ร้านอาหารแบบ full service เริ่มมีกำไรที่น้อยลงไปเรื่อยๆ การที่ทำร้านแบบ Fast food คือรูปแบบร้านที่เป็น Self service คือการที่ลูกค้าบริการตัวเองทำให้ใช้แรงงานน้อยลงมาก ก็จะทำให้ร้านมีโอกาสสร้างกำไรได้มากยิ่งขึ้น
จากสาขาแรกในปี 2019 ในปี 2022 Pad Thai World มีสาขาทั้งหมด 10 สาขาในเนเธอร์แลนด์
ยิ่งทำให้ทีมงาน Torpenguin อดคิดในใจว่าพี่ธามม์ทำได้อย่างไร เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าแค่จะเปิดร้านซักสาขานึงในกรุงเทพให้อยู่รอดก็ปวดหัวจะตายอยู่แล้ว แต่นี่กลับสามารถเปิดได้ถึง 10 สาขาในประเทศที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษด้วยซ้ำ
พี่ธามม์มองว่าความสำเร็จระดับโลกจากร้านอาหารต่าง ๆ มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ “ระบบการปฏิบัติการที่ดี”
นั่นคือสิ่งที่ทำให้ธุรกิจอาหารแบรนด์ใหญ่ ๆ ระดับโลกประสบความสำเร็จจนมีสาขามากมาย ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่เป็นรากฐานที่สามารถวัดได้เป็นระบบ ให้ธุรกิจมีความสำเร็จอย่างยั่งยืน
ซึ่งถ้าเรามีระบบที่ดี ก็จะสามารถทำได้เหมือนกันกับแบรนด์ใหญ่ ๆ ด้วยการตั้งมาตรฐานของแต่ละร้านให้มีคุณภาพ ขนาดร้านก็ไม่สำคัญอีกต่อไป แต่ความสำคัญจะอยู่กับความตั้งใจ ที่มีระบบและมาตรฐานเป็นหัวใจสำคัญ
การวางระบบร้านอาหาร การเริ่มต้นนั้นสำคัญ เพราะมันคือก้าวแรกที่เราจะสร้างให้ร้านของเรามีการทำงานที่แข็งแรง และรวดเร็ว รวมไปถึงอาหารทุกจานยังต้องมีรสชาติที่ไม่ผิดเพี้ยนไป การสร้าง Mindset ที่ดีของพนักงาน ช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ความฝันและเป้าหมายต่อไปของพี่ธามม์คือการขยายสาขา “Pad Thai” ไปทั่วยุโรป และกลับมาเปิดสาขาที่เมืองไทย เพื่อทำให้คนไทยได้เห็นว่าอาหารสตรีทฟู้ดของเรา หากมีการวางระบบและวางแบรนด์ดิ้งที่ดีแล้วก็สามารถขยายสาขาได้ไม่ต่างกับร้านอาหารอื่น ๆ เลย
แม้ในตอนนี้คงยังไม่สามารถสรุปได้ว่า Pad Thai World นั้นประสบความสำเร็จอย่างที่พี่ธามม์ตั้งใจไว้ แต่อย่างน้อยก็เป็นข้อพิสูจน์ได้อย่างนึงแล้วว่าร้านอาหารไทยสามารถทำระบบเพื่อขยายสาขาได้จริง หวังว่าเรื่องราวของพี่ธามม์จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับทุกคน ไว้พบกันใหม่ในบทความหน้า ฝากติดตาม Torpenguin 🐧 ในทุก ๆ ช่องทางด้วยนะคะ
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านบทสัมภาษณ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อ
- ‘วาฟเฟิลไส้ทะลัก by น้องนิ้ง’ ร้านวาฟเฟิลเล็ก ๆ ที่เชื่อว่าตัวเองมีวันนี้ได้เพราะ ’ฟีดแบค’ จากลูกค้า
- ชื่อโคตรปั่น การตลาดสุดแหวก “อนันต์จะปั่นชาเย็น” ร้านชาที่มัดใจลูกค้า ด้วยความฮา
- SYNOVA ตัวละครลับเบื้องหลังความสำเร็จของร้านขนมชื่อดังระดับโลก ที่เกิดจากคนเรียนจบหมอที่หลงใหลในขนม
- Dots Coffee กับความตั้งใจที่จะเปลี่ยนภาพจำของสังคมที่มีต่อผู้พิการทางสายตา ผ่านธุรกิจกาแฟ
- Phed Phed อาณาจักรความแซ่บ ร้านอาหารอีสานที่ยืนหยัดในความเป็นตัวเอง อาศัยปากต่อปากจนเปิด 6 สาขาได้ใน 6 ปี
- ผงชูรส ร้านอาหารไทย-อีสาน กับเส้นทางสุดจัดจ้านที่ไม่ได้โรยด้วยผงชูรสแม้แต่นิดเดียว
- B:A:S Beef Alternative Service จากธุรกิจจักรยานสู่ธุรกิจเนื้อ เพราะวิกฤตมันบังคับให้เราต้องเปลี่ยน
- เพราะ ‘ความแปลก’ คือจุดขายที่ตั้งใจ 10010bar ร้านคราฟต์ไอศกรีมที่เชื่อว่า ไอศกรีมเป็นได้ทุกรสชาติ
- โต๊ะแดงบ้านอาจ้อ : โมเดลความยั่งยืนของร้านอาหาร บ้าน ชุมชน สู่วันที่กิจการเติบโตมากขึ้น
- รสิก : สนับสนุนวัตถุดิบจากท้องถิ่นทั่วไทย เสิร์ฟเมนูไทยทวิสต์ และเชื่อว่าการรักษามาตรฐานคือหัวใจสำคัญของร้านอาหาร
- แม่คำนวณ ต่อยอดความมุ่งมั่นที่อยากเห็นคนกินสุขภาพดี สู่ร้านอาหารจานด่วนที่คำนวณแคล ฯ ทุกจาน
- 5 a.m. คาเฟ่น้ำเต้าหู้แบบ Specialty กับแนวคิดธุรกิจที่อยากเติบโตไปพร้อมกับย่านปากคลองตลาด