Loud budgeting เทรนด์มาแรง 2024 ที่ใคร ๆ ก็อวดกันประหยัด ธุรกิจปรับตัวยังไงดี?
ถ้าปีที่แล้วคือปีทองของ Quiet luxury หรือ เทรนด์หรูแบบไม่ตะโกน ไม่เน้นโลโลโก้ สวยแพงแบบเงียบ ๆ
ปี 2024 ต้องหลีกทางให้กับเทรนด์ “Loud budgeting” ที่กำลังเป็นกระแสในโลก รวมไปถึงในโลกโซเชียล โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน TikTok
เทรนด์นี้คืออะไร?
เรียกง่าย ๆ ว่าเทรนด์นี้คือเทรนด์ทางการเงินที่แข่งกัน ‘อวดประหยัด’
ใช่ค่ะ อ่านไม่ผิด 55555555555 หลายคนอาจบอกว่า เราใช้เทรนด์นี้มาทั้งชีวิตแล้ว
แต่ก็นั่นแหละครับตอนนี้มันเป็นเทรนด์ที่โคตรจะมาแรงแซงทางโค้งทุกเทรนด์ โดยเฉพาะในกลุ่มคน Gen Z และ Millennials ในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงทั่วโลก ที่จะป่าวประกาศให้คนรอบ ๆ ตัว รู้เกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตัวเองและพยายามใช้จ่ายเงินที่เหมาะสมกับตัวเอง แบบไม่สนว่าคนอื่นจะใช้เงินยังไง ไม่อายที่จะบอกว่าเราประหยัด
เทรนด์นี้เริ่มต้นมากจาก TikToker ที่ชื่อว่า Lukas Battle ที่เขาทำคอนเทนต์แชร์เรื่องราวเกี่ยวกับ Loud Budgeting ว่า “เราไม่จำเป็นต้องซื้อของราคาแพงตามเทรนด์อยู่ตลอดเวลาก็ได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีเงิน แต่เราแค่ไม่อยากซื้อ” ซึ่งบวกกับสภาพเศรษฐกิจทั้งโลกตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เรียกว่าจุดประกายเทรนด์นี้ให้บูมขึ้นอย่างรวดเร็ว
ประโยคที่ว่า ‘ของมันต้องมี’ ปีนี้ผู้บริโภคเขาไม่สะทกสะท้านแล้วนะคะ
เทรนด์นี้สร้างพฤติกรรมใหม่อะไรให้กับผู้บริโภคบ้าง?
#มีสติกับการจับจ่ายมากขึ้น
ผู้คนเริ่มชัดเจนกับตัวเองว่าเรา “ต้องประหยัด” และ “ต้องเก็บเงิน” แบบจริงจัง และทำให้คนอื่นรู้ด้วยเพื่อที่จะเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจ
เช่น ถ้าเพื่อนชวนไปปาร์ตี้ให้ตอนกลางคืน เพื่อนจะเลือกตัดช้อยส์เราออกเพราะเขารู้ว่าเราจะต้องประหยัดและเก็บเงิน และในทางเดียวกันเราจะได้ไม่รู้สึกผิดในการปฏิเสธด้วย เป็นต้น
ก่อนที่ซื้ออะไรให้คิดก่อนว่าสิ่งนั้นเป็น Needs (ต้องการและจำเป็นมาก) หรือ Wants (ต้องการแต่ไม่จำเป็น) การเปรียบเทียบราคาสินค้า มองหาโปรโมชั่น ส่วนลด ค้นหาราคาที่คุ้มค่าที่สุด หรือการเลือกซื้อสินค้ามือสองแทน เป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขารู้สึกภาคภูมิใจมาก ๆ ที่พวกเขาใช้จ่ายอย่างชาญฉลาด
#คุณค่ามาก่อนราคา
ไม่ใช่ว่าประหยัดแล้วจะไม่ใช้จ่ายอะไรเลย พวกเขาพร้อมจ่ายให้กับสินค้าคุณภาพดี บริการที่ดี ผู้บริโภคอาจไม่สนสินค้าที่ต้องจ่ายแพง แต่เน้นสินค้าและบริการที่คุ้มค่า มีประโยชน์ ตอบโจทย์ความต้องการในสายตาพวกเขา
โอกาสของธุรกิจคือสื่อสารถึงจุดที่พวกเขาต้องการอย่างชัดเจน ว่าสินค้าและบริการของเราสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างไรได้บ้าง
#ชัดเจนกับอนาคต
ผู้คนเอาใจใส่กับเรื่องการเงินของตัวเองในอนาคต เน้นการออมที่สามารถต่อยอดได้ ไปสู่การลงทุนที่สร้างความมั่นคงในอนาคต โดยเลือกการลงทุนกับตัวเองมากยิ่งขึ้น
ผู้บริโภคยินดีจ่ายเงินเพื่อประสบการณ์ที่คุ้มค่ามากกว่าการสอยแบรนด์เนม ไม่ว่าจะเป็น การท่องเที่ยว การเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เวิร์คช้อป เป็นต้น ธุรกิจอย่างเราอาจมีการเสริมสร้างประสบการณ์หรือบริการพิเศษเหล่านี้เข้าไปเพื่อเติมเต็มความต้องการของลูกค้าตรงนี้ได้เหมือนกัน
#สนับสนุนธุรกิจที่โปร่งใส
ไม่มีอีกแล้วผู้บริโภคที่หลับหูหลับตาใช้สินค้าและบริการ พวกเขาจะให้ความสำคัญกับที่มาที่ไปของสินค้า กระบวนการผลิตที่ยั่งยืน ไปจนถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ว่าเราทำจริงหรือแค่ฟอกขาวเฉย ๆ
ดังนั้นแบรนด์ควรสื่อสารข้อมูลสินค้า ราคา และโปรโมชั่นอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา สร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า โปร่งใสให้ได้มากที่สุดในทุกกระบวนการ
เทรนด์นี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ และยังคงน่าจับตามอง ตราบใดที่เศรษฐกิจโลกยังเป็นไปแบบนี้อยู่ เผลอ ๆ เทรนด์นี้อาจอยู่ยาวกว่าที่เราคิดแน่นอนค่ะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผู้ประกอบการและแบรนด์ก็สามารถนำมาคิดต่อยอดเพื่อทำแคมเปญให้ถูกใจคนกลุ่มนี้ได้ต่อไป
หวังว่าบทความที่นำมาฝากกันในวันนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการทุกท่านนะคะ ฝากติดตาม Torpenguin ในทุก ๆ ช่องทางด้วยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ 😊
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อ
- วันฝนตกทำไมยอดขายตกขนาดนี้ ? สภาพอากาศรอบตัวส่งผลกับยอดขายกว่าที่คุณคิด
- เทคนิคทำธุรกิจให้คนหลงรัก แบบ Disneyland
- รีแบรนด์ดิ้ง ไม่ใช่แค่เรื่องของธุรกิจใหญ่ ๆ เมื่อไหร่กันที่เราควรรีแบรนด์?
- ‘First Place Coffee’ Coffee Truck ที่ยอดโตกว่า 550% ด้วยการปั้นคอมมูนิตี้
- EGG DROP แบรนด์แซนวิชไข่เกาหลี ที่ผลักดันตัวเองจนเป็น Soft Power
- HaiDiLao ทำยังไง? ถึงก้าวขึ้นเป็นร้านชาบูหม้อไฟระดับโลก
- คิดแบบ Sushiro ร้านซูชิสายพานที่ใช้ทุกอย่างในร้านเก็บข้อมูลลูกค้า ยันทำคอนเทนต์
- วิธีบริหารคน แบบฉบับ McDonald’s ทำอย่างไร ถึงสร้างมาตรฐานเหมือนกันทุกสาขาทั่วโลก
- วิธีที่ Starbucks รับมือลูกค้านักคอมเพลนแบบแบรนด์ระดับโลก