ตั้งราคาขายยังไง

ตั้งราคาขายยังไง ให้มีชัยตั้งแต่ยังไม่เริ่มขาย?

การตั้งราคาขายของมือใหม่ที่เรามักจะเห็นกันบ่อยเลยนั่นก็คือ เริ่มจากเอาถูกไว้ก่อน เอาให้ได้ลูกค้ามาก่อน แล้วค่อยปรับขึ้นอีกทีในวันที่ลูกค้าติดใจแล้วก็ยังไม่สาย

แม้ราคาจะเปลี่ยนทีหลังได้ แต่ราคาแรกจะเป็นราคาที่ลูกค้ารู้จักเราเสมอ

ถ้าเราใชัวัตถุดิบดี แต่ราคาแรกของเราต่ำ เมื่อต้นทุนเราสูงขึ้นจนแบกไม่ไหว แต่กลุ่มลูกค้าเราไหวที่ราคานี้ แล้วเราเลือกที่จะลดคุณภาพของวัตถุดิบลงแทนการเพิ่มราคา จังหวะนั้นเลยที่ลูกค้าจะรู้สึกไม่คุ้มกับเงินของเขา เขาจะรู้สึกแฟร์เพราะราคาเดิมที่เคยจ่ายเขาได้สินค้าที่ดีกว่าตอนนี้

การตั้งราคามีความสำคัญมาก ๆ ราคาสามารถกำหนดกลุ่มลูกค้า กำหนดทำเล กำหนดภาพลักษณ์ แล้วราคายังเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญมาก ๆ ได้อีกด้วย

บทความนี้จึงอยากพาทุกคนไปเรียนรู้รูปแบบการตั้งราคา เพื่อนำกลับมาปรับใช้ภายในร้านของเราครับ

 


#การตั้งราคาที่มาจากการคำนวณต้นทุน


ต้นทุนที่เราต้องคำนวณลงไปในอาหาร 1 จานประกอบไปด้วย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 35%
2. ต้นทุนค่าการตลาด 5%
3. ต้นทุนค่าเช่า 10%
4. ต้นทุนค่าพนักงาน 45%
5. ต้นทุนค่าบริหารจัดการ 2%
6. ต้นทุนค่าน้ำค่าไฟ 2%
7. ต้นทุนอื่น ๆ 1%
8. ถ้าขายบน Delivery ก็จะมีค่า Delivery เข้ามาด้วย


เมื่อเราคำนวณต้นทุนเหล่านี้มาแล้ว สิ่งถัดมาที่เราต้องคำนวณเข้าไปคือกำไร ซึ่งส่วนใหญ่ร้านอาหารจะคำนวณกำไรอยู่ที่ 15 – 20% ต่อจาน


เช่น ต้นทุนส้มตำอยู่ที่ 20 บาท อยากได้กำไร 15% ให้เราเอา
ต้นทุนต่อจาน + (กำไรที่ต้องการ x ต้นทุนต่อจาน)
20 + (15% x 20) = 23 บาท


เมื่อเราได้ราคาต้นทุนมาแล้ว เราก็เริ่มตั้งราคาตามรูปแบบที่เราต้องการเลยครับ

 



#ตั้งราคาตามกำไรที่ต้องการ

เป็นรูปแบบการตั้งราคาที่เราคำนวณว่าอยากให้หนึ่งจานมีกำไรอยู่ที่จานละเท่าไหร่ จากนั้นเอาราคาที่เราอยากได้บวกเข้าไปจากราคาต้นทุน

 


#ตั้งราคาตามคู่แข่งในตลาด

โดยมากร้านที่ใช้กลยุทธ์นี้มักจะเลือกตั้งราคาเท่า ๆ กับร้านคู่แข่ง หรือแพงกว่านิดหน่อย และมีหลายร้านเช่นกันเลือกตั้งราคาต่ำลงเพื่อสร้างความได้เปรียบ แต่ไม่ว่าเราจะเลือกตั้งด้วยกลยุทธ์แบบไหน สิ่งสำคัญคือต้องห้ามขาดทุน

 


#ตั้งราคาให้เลขท้ายสวย ๆ

ส่วนใหญ่มักจะลงท้ายด้วยเลข 5 9 และ 0 เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าราคาไม่แพงมาก

 


#ตั้งราคาตามช่วงเวลา

วิธีนี้จะใช้กับเมนูที่ได้รับความนิยมตามช่วงเวลา อย่างเช่นในช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา เราจะเจอว่าเป็ด และเค้กส้ม ราคาแพงขึ้นกว่าราคาทั่วไป เพราะเป็นช่วงเทศการตรุษจีนที่ต้องใช้เป็ดในการไหว้

 

และนี้ก็คือการตั้งราคา และรูปแบบการตั้งราคาที่เรานำมาฝากทุกคน สุดท้ายแล้วถ้าเราไม่ชำนาญเรื่องการตั้งราคาจริง ๆ การหาที่ปรึกษา หรือหาคนมาช่วย ดีกว่าการสุ่มตั้งราคาโดยไม่คำนวณอะไรเลย เพราะ ‘ราคา’ เป็นจุดเริ่มต้นที่กำหนดอนาคตของกิจการเราได้

 

หวังว่าทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคน และสามารถตอบคำถามที่ว่า ตั้งราคาขายยังไง ของเจ้าของร้านมือใหม่ได้นะครับ

 

📌 ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin

👉 อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Yield คืออะไร สำคัญแค่ไหน เรื่องต้องรู้ก่อนตั้งราคาอาหาร
จิตวิทยา กลยุทธ์ตั้งราคาสินค้า ใช้วิธีไหนถึงทำให้ลูกค้าหวั่นไหวได้
เจ้าของธุรกิจ ไม่ได้เป็นง่ายอย่างที่คิด 5 สิ่งที่ เจ้าของกิจการต้องรู้ดีที่สุด
วิธีบริหารคน แบบฉบับ McDonald’s ทำอย่างไร ถึงสร้างมาตรฐานเหมือนกันทุกสาขาทั่วโลก
คิดแบบ Sushiro ร้านซูชิสายพานที่ใช้ทุกอย่างในร้านเก็บข้อมูลลูกค้า ยันทำคอนเทนต์
Lucky’s Hungry ข้าวผัดอเมริกันบนเดลิเวอรี ที่ไม่ได้ใช้แค่ “โชค” เป็นส่วนประกอบ
เช็กเลย! คุณกำลัง ลดต้นทุนร้านอาหาร แบบผิด ๆ อยู่หรือเปล่า?