https://drive.google.com/drive/folders/1p6XjkNMDZcQkvokkZAP4nYJ02JzZNFNf?usp=sharing

การตั้งชื่อร้านอาหารถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ที่ช่วยทำให้จูงใจให้ลูกค้าแวะมาอุดหนุนร้านของเรา รวมทั้งทำให้ลูกค้าจดจำร้านของเราได้ง่าย และนึกถึงร้านของเราเสมอ การตั้งชื่อร้านอาหารไม่ใช่เพียงแค่การเลือกคำที่หรูหราและทันสมัยเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยให้คิดคำนึงอีกหลายอย่าง ดังนั้นบทความนี้จึงนำ 10 เทคนิคตั้งชื่อร้านอาหาร ที่จะทำให้ลูกค้าจำง่ายและทุกคนรู้จักมาฝาก

10 เทคนิคตั้งชื่อร้านอาหาร ให้ลูกค้าจำง่าย ใครๆ ก็รู้จัก

1. กระชับและน่าจดจำ:

เทคนิคตั้งชื่อร้านอาหาร ข้อแรกที่อยากแนะนำ คือการตั้งชื่อร้านให้มีความกระชับและน่าจดจำ ชื่อที่สั้นและโดดเด่นมักจะทำให้คนจดจำได้ง่าย พยายามหลีกเลี่ยงการใช้คำยาวจนเกินไป หรือคำที่ซับซ้อน จนอาจสื่อความหมายไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม หากเรามั่นใจว่า ชื่อที่ยาวนั้นเรียกง่าย ติดปากลูกค้า ก็สามารถตั้งได้ ไม่ได้ผิดกฎอะไร

2. เกี่ยวข้องกับเมนูหรือลักษณะอาหาร:

ชื่อร้านที่ดี คือชื่อร้านที่สื่อถึงลักษณะของอาหารหรือเมนูหลักของร้าน เพราะจะทำให้ลูกค้าเข้าใจได้ง่าย เพียงแค่อ่านชื่อร้าน ก็นึกออกแล้วว่า ร้านของเราขายอาหารเมนูอะไร เช่น หากคุณขายอาหารทะเล ก็อาจมีคำว่า “ซีฟู้ด” หรือ “ทะเล” อยู่ในชื่อร้าน หากขายอาหารเพื่อสุขภาพ ก็อาจมีคำว่า “คลีน” “เฮลท์ตี้” “ฟาร์ม” หรือ “ออร์แกนิก” อยู่ด้วย

3. มีความหมายในเชิงบวก:

คำที่ส่งผลต่อความความรู้สึกดี และมีความหมายในเชิงบวก มักจะช่วยจูงใจลูกค้าได้เป็นอย่างดี และสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับร้านของเราได้ด้วย หากเราตั้งชื่อร้านที่มีความหมายสองแง่สองง่าม หรือความหมายในเชิงลบ อาจเรียกความสนใจจากลูกค้าได้เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น ทำให้โอกาสในการขายลดน้อยลงไปอย่างน่าเสียดาย

4. เข้าใจง่าย อ่านง่าย ไม่ซับซ้อน

หลายคนอยากตั้งชื่อร้านให้ดูเก๋ แหวกแนว และไม่ซ้ำใคร แต่การตั้งชื่อในลักษณะนี้ อาจทำให้ลูกค้าเข้าใจได้ยาก ไม่รู้ว่าร้านของเราอ่านว่าอะไร หรือขายอาหารแนวไหนกันแน่ คำศัพท์บางคำ อาจเป็นภาษาวัยรุ่นหรือคำอิตในยุคสมัยก็จริง แต่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจและรู้จัก ดังนั้นทางที่ดี แนะนำให้ตั้งชื่อร้านด้วยคำที่เข้าใจง่าย อ่านง่าย ไม่ซับซ้อนจะดีกว่า

5. ไม่ทำให้เกิดความสับสน:

การตั้งชื่อร้านที่ดีนั้น นอกจากจะกระชับ ไม่ยาวเกินไปแล้ว ควรเลือกใช้คำที่มีความหมายชัดเจน ไม่ควรทำให้ลูกค้าเกิดความสับสน แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้คำที่มีความหมายกว้างๆ แต่มีความหมายที่ไม่ชัดเจน

6. หลีกเลี่ยงการตั้งชื่อซ้ำ หรือเลียนแบบชื่อที่มีอยู่:

ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ชื่อที่เราเลือกใช้นั้น ยังไม่มีใครอยู่ เพื่อไม่ให้ลูกค้าเกิดความสับสน และยังช่วยให้เจ้าของร้านไม่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องด้วย 

7. สะท้อนอารมณ์และบรรยากาศของร้าน:

ชื่อร้านที่ดีควรสะท้อนถึงอารมณ์และบรรยากาศของร้าน ที่ลูกค้าจะได้รับเมื่อเข้ามารับประทานอาหาร เช่น หากร้านของคุณตกแต่งด้วยบรรยากาศสบายๆ เป็นกันเอง เหมือนนั่งอยู่ที่บ้าน ก็อาจตั้งชื่อร้านที่สะท้อนให้ลูกค้าสัมผัสได้ถึงความรู้สึกของความเป็นโฮมมี่ หรือชื่อไทยๆ ที่สื่อถึงความอบอุ่น เหมือนกินข้าวฝีมือของแม่ 

8. เลือกชื่อร้านที่ใช้ได้นานๆ:

หลายคนตั้งชื่อร้านด้วยคำที่กำลังฮิตในยุคสมัยนั้น เพราะอยากให้ร้านดูทันสมัย แต่เมื่อเวลาผ่านไป คำๆ นั้นอาจเป็นคำที่คนเลิกพูดกันแล้ว ทำให้ชื่อร้านของเรา กลายเป็นชื่อที่ดูเชยในสายตาของลูกค้า ดังนั้น ทางที่ดีควรตั้งชื่อร้านที่ฟังดูคลาสสิก ไม่ว่าจะเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ชื่อนั้นก็ไม่ล้าสมัย

9. ชื่อที่ตีกรอบตัวเองเกินไป:

อย่างเช่นการผูกชื่อย่านเข้าไปในชื่อร้าน ขอยกตัวอย่างเคสจริงที่ร้านอาหารหนึ่งเคยเจอกับปัญหานี้เลยคือ ‘ข้าวมันไก่ประตูน้ำ’ จนภายหลังที่โก่งอ่างเริ่มขยายสาขาจึงเปลี่ยนปรับเป็น ‘โกอ่างข้าวมันไก่ประตูน้ำ’

คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคนจะตามไปกินเมื่อคุณขยายสาขาไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ หรือหากคุณจะอยู่โซนนั้น ย่านนั้นตลอดไปเลยก็ข้ามข้อนี้ไปเลยก็ได้ แต่ถ้าใครมีเรื่องการขยายสาขาในหัวอาจจะเลี่ยงไว้จะดีกว่า

10. หยุดตั้งชื่อที่ลงท้ายด้วย By:

คำถามแรกเลย ‘คุณเป็นใคร’ ก่อน คือการจะทำแบบนั้นได้คือเราต้องมีแบรนด์ดิ้งที่ใหญ่กว่าร้าน เช่น เชฟเอียนเปิดร้านชาบู เป็น ชาบู by เชฟเอียน

เห็นมั้ยครับเชฟเอียนแบกแบรนด์ชาบู การจะใช้ตัวเองเป็นจุดขาย มันก็ต้องแน่ใจนะครับว่าลูกค้าจะตามมาเพราะเรา ถ้าชื่อเราไม่ได้ดังกว่าชื่อร้านเลี่ยงไว้จะดีกว่า

แต่ก็ไม่ได้ผิดนะถ้าคุณอยากจะใช้ชื่อตัวเองโปรโมต แต่ถ้าคิดในแง่ว่าวันนึงคุณเกิดอยากขายแฟรนไชส์ขึ้นมา มันก็เป็นแปลก ๆ ใช่มั้ยครับ

จะเห็นได้ว่า เทคนิคตั้งชื่อร้านอาหาร ที่ทำให้ลูกค้าจำง่ายและใครๆ ก็รู้จัก ไม่ใช่เพียงแค่การเลือกคำให้ไพเราะ เป็นเอกลักษณ์ และสะท้อนถึงเมนูอาหารเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงคำที่ช่วยการเรียกความสนใจและสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับคนที่เดินผ่านร้านคุณของคุณด้วย

ตั้งชื่อร้านอาหาร…อย่าลืมคิดถึงการขยายตัวในอนาคตด้วย

เราอาจเห็นหลายๆ ร้านที่ตั้งชื่อร้านโดยใส่ทำเลที่ตั้งลงท้ายไปด้วย ซึ่งจริงๆ หากมองในแง่ของการตลาด ก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะลูกค้าสามารถรู้ได้เลยว่าร้านเราอยู่ตรงไหน ยิ่งถ้ามีสาขาเดียวมันเป็นเรื่องที่ดี

แต่เมื่อไหร่ที่เจ้าของกิจการ คิดจะขยายสาขา หรือ ขายแฟรนไชส์ขึ้นมา ชื่อร้านของเราอาจจะกลายเป็นปัญหาได้ เพราะอาจสร้างความสับสนให้กับลูกค้า เช่น ร้านของคุณชื่อ “ก๋วยเตี๋ยว บางขุนนนท์” แต่ไปเปิดสาขา 2 ที่พุทธมณฑลสาย 2 ทำให้ลูกค้าสับสนว่า ร้านของเราตั้งอยู่ตรงไหนกันแน่ ดังนั้น การคิดชื่อเผื่อเอาไว้เมื่อคุณต้องการจะขยายสาขาก็ดีเหมือนกัน ลูกค้าจะได้ไม่สับสนไปด้วย

Image by rawpixel.com on Freepik

📌 ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร

Facebook : Torpenguin

Instargram : torpenguin

TikTok : @torpenguin

YouTube: Torpenguin

👉🏻 อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทำเลไม่ดี แต่ก็ย้ายที่ไม่ได้ รวมวิธีแก้ปัญหาเรื่องทำเล สำหรับร้านอาหาร

สัญญาณที่บอกว่า ถึงเวลาต้อง ทำบัญชีร้านอาหาร ให้เป็นระบบได้แล้ว

ทำความรู้จัก QSC ร้านอาหาร ระบบประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารควรมี

ทำร้านอาหารให้เงินเดือนตัวเองเท่าไหร่ดี? วิธีคิด เงินเดือนเจ้าของกิจการ

ร้านอาหารต้องรู้ บาลานซ์เมนู ร้านอาหาร ให้ดี เสิร์ฟได้ไว ไม่ติดขัด

9 เทคนิค วางผังครัวร้านอาหาร ให้ทำงานราบรื่น แถมประหยัดต้นทุน

วิธีทำหอมเจียว กระเทียมเจียว ให้สีสวย กรอบนาน เก็บได้ยาวเป็นเดือน