‘ภาษีป้าย’ อีกหนึ่งเรื่องเล็กๆ ที่เจ้าของร้านส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าต้องจ่ายด้วย
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำ ธุรกิจร้านอาหาร ก็คือป้ายชื่อร้าน ป้ายโฆษณาต่างๆ นั่นเองครับ ที่นอกจากจะช่วยทำให้เรารู้ตำแหน่งของธุรกิจ หรือทำให้หน้าร้านดูดีแล้ว ยังเป็นส่วนประกอบสำคัญเลยในการดึงดูดลูกค้าให้สนใจสินค้าหรือบริการของเรา และถือว่าเป็น การตลาด ให้กับกิจการทั้งทางตรงและทางอ้อม
แต่ก็ไม่ใช่ว่านึกอยากจะทำป้ายอะไรก็ทำขึ้นไปติดตั้งได้เลยนะครับ เพราะรู้ไหมครับว่าป้ายบางป้ายเนี่ยจะ เจ้าของธุรกิจ จะต้องจ่ายภาษีด้วยนะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าของธุรกิจ มือใหม่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าป้ายโฆษณาที่ตัวเองติดตั้งไว้อาจจะต้องเสียภาษีด้วย ทำให้หลายครั้งทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว และแน่นอนว่าการหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีทั้งตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดไม่มีข้อยกเว้น และอาจทำให้เราโดนเรียกปรับย้อนหลังได้นะครับ
เมื่อจะเริ่มต้นทำธุรกิจ โดยเฉพาะ ธุรกิจร้านอาหาร ที่บ้านเรานิยมทำกันมาก เราจำเป็นต้องรู้เรื่องกฏหมายป้ายกันเสียก่อนที่จะคิดทำป้ายใด ๆ ขึ้นมาด้วยนะครับ เพื่อจะได้รู้ว่าป้ายที่เราต้องการจะทำเข้าข่ายเป็นป้ายที่ต้องเสียภาษีหรือไม่?
แล้วป้ายแบบไหนต้องเสียภาษี?
(อัพเดตล่าสุดจากกฎกระทรวงมหาดไทย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 จนถึง 31 ธันวาคม 2566)
ป้ายที่เป็นโฆษณาภาพ หรืออักษร ป้ายผ้าใบ ป้ายไฟ บนทางด่วน ข้างทาง หน้าร้าน ตามตึก เช่น ป้ายโฆษณา ธุรกิจร้านอาหาร อย่าง KFC ,ร้านอาหาร ปิ้งย่าง ,ร้านอาหาร ญี่ปุ่น ที่ทำ การตลาด เป็นโปรโมชั่นประจำเดือนต่าง ๆ ที่เราเห็นจนคุ้นตานั่นล่ะครับ ป้ายเหล่านี้จัดเป็นป้ายที่จะต้องเสียภาษีป้ายด้วยเหมือนกัน โดยอัตราภาษีนั้นจะขึ้นอยู่กับรูปแบบและขนาดของป้าย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ตามนี้เลยครับ
ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน
ข้อความคงที่ เคลื่อนไหวไม่ได้ จะคิดภาษีอยู่ในอัตรา 5 บาท ต่อ 500 ตร.ซม แต่ถ้าเป็นข้อความเคลื่อนที่ได้ เปลี่ยนแปลงได้ อย่างเช่น ป้ายไฟ จะคิดภาษีอยู่ในอัตรา 10 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
-ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพและเครื่องหมายอื่น
-ข้อความคงที่ เคลื่อนไหวไม่ได้ จะคิดภาษีอยู่ในอัตรา 26 บาท ต่อ 500 ตร.ซม. แต่ถ้าเป็นข้อความเคลื่อนที่ได้ เปลี่ยนแปลงได้ อย่างเช่น ป้ายไฟ จะคิดภาษีอยู่ในอัตรา 52 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
-ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย หรือป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
-ข้อความคงที่ เคลื่อนไหวไม่ได้ จะคิดภาษีอยู่ในอัตรา 50 บาท ต่อ 500 ตร.ซม. แต่ถ้าเป็นข้อความเคลื่อนที่ได้ เปลี่ยนแปลงได้ อย่างเช่น ป้ายไฟ จะคิดภาษีอยู่ในอัตรา 52 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
*โดยทุกประเภทที่กล่าวไปแล้วนั้น เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้าต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาทเป็นขั้นต่ำ*
แต่อย่าพึ่งตกใจไปครับ เพราะมันก็ยังมีป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษีด้วยเหมือนกัน เช่น
– ป้ายที่ติดตั้งในอาคาร (รวมถึงป้ายร้านค้าต่างๆ ในห้างสรรพสินค้าด้วย แต่ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตร.ม.)
– ป้ายที่มีล้อเลื่อน (ต้องมีการเลื่อนป้ายเข้าออก) เช่น ป้ายชื่อ ร้านอาหาร
– ป้ายจัดงานอีเวนต์
– ป้ายที่แสดงไว้ที่ตัวสินค้า
– ป้ายธุรกิจการเกษตร ซึ่งมีการค้าผลผลิตจากการทำเกษตรของตนเอง
– ป้ายที่ติดหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนนหรือรถแทรกเตอร์
– ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจากข้อที่แล้ว โดยมีพื้นที่ไม่เกิน 500 ตร.ซม.
ซึ่ง เจ้าของกิจการ ที่มีแพลนจะทำป้ายที่ร้านก็อย่าลืมศึกษาเรื่องของ ภาษีป้าย เพิ่มเติมก่อนทำป้ายด้วยนะครับ จะได้ไม่ลมจับเพราะโดนเรียกเก็บภาษีป้ายที่แพงโดยที่ไม่รู้ตัว
📌 ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
👉🏻 อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
มัดรวมเรื่อง ภาษีร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้
6 ข้อควรระวัง ถ้าไม่อยาก ขายดีจนเจ๊ง
วิธีง่ายๆ ใน การทำงบกำไรขาดทุน (P&L) สำหรับร้านอาหาร
สัญญาณที่บอกว่า ถึงเวลาต้อง ทำบัญชีร้านอาหาร ให้เป็นระบบได้แล้ว
ทำร้านอาหารให้เงินเดือนตัวเองเท่าไหร่ดี? วิธีคิด เงินเดือนเจ้าของกิจการ
ไขคำตอบ เมนูเยอะ ดีจริงหรือไม่? เพราะอะไรจึงทำให้เสี่ยงขาดทุน