สินค้าที่ผลิตออกมาในท้องตลาด ต่างก็มีกลุ่มลูกค้าของแต่ละอย่างอยู่แล้ว แต่สาเหตุที่ทำให้สินค้าของเราไม่สามารถซื้อใจลูกค้าได้ หรือไม่สามารถดึงสายตาให้ลูกค้าหันมาสนใจ เราคงสามารถเขียนมาเป็นข้อ ๆ ได้ไม่รู้กี่ข้อต่อกี่ข้อแน่นอน ทั้งที่จริงแล้วหากมองกันจริง ๆ เหตุผลที่ทำให้สินค้าของเราขายให้ลูกค้าไม่ได้ คงมีอยู่ไม่เกิน 5 ข้อนี้แน่นอนครับ
.
5 สาเหตุหลักนี้คงเฉลยเหตุผลของลูกค้าทั้งหมด ว่าทำไมเขาถึงไม่ซื้อสินค้าจากเรา
.
- ลูกค้าไม่มีเหตุผลที่จะซื้อ
ถ้าสินค้านั้นลูกค้าไม่มีเหตุผลที่จะซื้อ ลูกค้าก็จะไม่ซื้อ ซึ่งเหตุผลนี้อาจฟังดูแล้วเหมือนเป็นเรื่องปกติที่คนทั่วไปอย่างผมหรือคุณก็รู้กันอยู่ อย่างบางคนก็คงไม่จำเป็นต้องซื้ออาหารเจ พวกเขาก็ไม่มีทางเข้าไปใช้บริการที่ร้านอาหารเจแน่นอน แต่ที่จริงแล้ว เราสามารถสร้างเหตุผลที่ทำให้ลูกค้าอยากจะซื้อได้ คือลองบอกเหตุผลที่จำเป็นที่ลูกค้าต้องทานอาหารเจดู ไม่ว่าจะเป็นทำให้สุขภาพดี เป็นการทำบุญด้วยการละเนื้อสัตว์ หรืออะไรก็ตามที่ เจ้าของธุรกิจ จะสามารถหาเหตุผลขึ้นมาได้เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าจำเป็น จากของที่ดูขายไม่ได้ก็จะขายได้ในทันที
.
- ลูกค้าไม่ต้องการ
ความจำเป็นกับความต้องการนั้นไม่เหมือนกัน เพราะของบางอย่าง เป็นสิ่งจำเป็น แต่ลูกค้าไม่ได้ต้องการ ของบางอย่าง ต้องการแต่ไม่ได้จำเป็น เช่น ผู้หญิงบางคนรู้ดีว่า ถ้าอยากหุ่นดีสุขภาพดีต้องเลือกทานอาหารสุขภาพ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่อยากจะทานอาหารเพื่อสุขภาพเพราะลูกค้าอาจอยากหุ่นดีแต่ชอบกินบุพเฟ่ก็มีให้เราเห็นกันเยอะแยะ ดังนั้น ธุรกิจร้านอาหาร จึงออกมาหลากหลายเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละประเภท เพราะสินค้าแต่ละอย่างก็มีกลุ่มลูกค้าที่ต้องการแตกต่างกันไป
.
- ไม่มีเงิน
ข้อนี้คงเป็นเรื่องใหญ่ของใครหลายคนอยู่แล้ว เพราะเชื่อว่าทุกคนคงต้องเจอกับอุปสรรคนี้ นั่นก็คือคำพูดของลูกค้าที่อยากจะปฏิเสธสินค้า และไม่ว่าเราจะพูดยาวแค่ไหน ถ้าคนจะปฏิเสธแล้ว ก็คือไม่เอาอยู่ดี และการไม่มีเงินก็คือการปฏิเสธที่ชัดเจนว่าจะไม่ซื้อสินค้าชิ้นนี้ อย่างแน่นอน ซึ่งถ้าเจอแบบนี้เราไม่ต้องเสียเวลาให้ลูกค้าประเภทนี้หรอกครับ เพราะเอาเวลาที่จะเสียนั้นไปหาลูกค้าคนอื่นที่ต้องการจะดีกว่า เพราะตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าสินค้าจะแพงแค่ไหน หรือลูกค้ายังไม่สะดวกเรื่องเงิน หากสินค้านั้นเป็นสิ่งที่เขาต้องการ อย่างไรพวกเขาก็ต้องหาทางซื้อให้ได้แน่นอน อย่าง ธุรกิจร้านอาหาร ญี่ปุ่นราคาแพงก็ยังสามารถขายได้โดยไม่ต้องอาศัย การตลาด ก็เพราะ ร้านอาหาร เหล่านั้นทำตัวเองให้เป็นที่น่าต้องการ และมีค่าพอที่จะเสียเงิน ดังนั้น การที่ลูกค้าเอ่ยว่าไม่มีเงินอาจเป็นการบอกกราย ๆ ว่า สินค้าของเรายังไม่เป็นมีอะไรจูงใจมากพอให้เขาอยากได้มัน
.
- ไม่เร่งด่วน
หากเราไม่สามารถทำให้สินค้าต่าง ๆ จำเป็นเร่งด่วนสำหรับลูกค้าได้ เราจะเจอการปฏิเสธด้วยคำพูดว่า “คิดดูก่อน” เพราะเมื่อคนเราไม่ได้รู้สึกรีบร้อนหรือเร่งรีบอะไร การตัดสินใจก็จะลากยาวออกไป ดังนั้นเราต้องให้ลูกค้ารู้สึกถูกเร่งด้วยเงื่อนไขของราคา และเวลา เช่น การตลาด ร้านบุพเฟ่ มา 4 จ่าย 3ภายในเดือนนี้!! เป็นต้น เมื่อมีเงื่อนไข มีการจำกัดเวลาสิ่งเหล่านี้ก็จะดึงดูให้ลูกค้าเข้ามาซื้อของจากเราได้แล้ว
เราเลยเห็น โปรโมชั่นของเหล่า ธุรกิจร้านอาหาร ที่มักจะจัดกันในแต่ละเดือนเพื่อสร้างคุณค่าให้ลูกค้ารีบมาใช้บริการกันนั่นเอง
.
- ไม่เชื่อถือ
ไม่ความสินค้าหรือบริการเราจะดีขนาดไหน แต่ถ้าขาดความน่าเชื่อถือ ก็เหมือนเอามีดมากรีดเลือดตัวเอง ก็เหมือนกับคนเราที่อยากมีสุขภาพที่ดีก็ต้องเลือกทานอาหารที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ เพราะหากไปทานอาหารที่ร้านดูสกปรกหรือมีวิธีในการทำที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพนั่นก็ส่งผลร้ายต่อผู้บริโภคแล้ว ดังนั้น ความน่าเชื่อถือจึงเป้นอีกปัจจัยที่ เจ้าของธุรกิจ เองจะต้องพิจารณาและทำให้ออกมาดูดีด้วยเช่นกัน
.
.
คนเราทุกคนย่อมมีความอยากที่จะซื้อของต่าง ๆ อยู่แล้ว แต่การจะขายสินค้ายังไงที่จะสามารถช่วยสร้างอำนาจในการตันสินใจจนทำให้ลูกค้ายอมซื้อได้สำเร็จ ก็เหมือนการขายสินค้านั้นชนะใจคนซื้อได้แล้ว ดังนั้นเมื่อไหร่ที่ลูกค้ารู้สึกได้ถึงเหตุผลต่าง ๆ ที่สินค้าสามารถจตอบโจทย์พวกเขาได้ การขายสินค้านั้นก็จะทำลายกำแพงต่าง ๆ จนให้ลูกค้ายอมซื้อสินค้าได้เช่นกัน