Lean Canvas คือ โมเดลธุรกิจ Canvas ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างของธุรกิจได้ง่ายขึ้น และทำให้ทัมงานมองเห็นภาพนวมธุรกิจไปในทิศทางเดียวกัน เพราะอย่างที่เราทราบกันดีว่าการทำธุรกิจใหม่ ๆ นั้นจะมีความแตกต่างจากธุรกิจที่ดำเนินการมานานแล้ว
.
จะเห็นว่าเรื่องที่ธุรกิจใหม่ ๆ ที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งนั้น โดยมากมักจะใช้ Business Model Canvas เป็นผังธุรกิจ แต่ที่จริงแล้ว ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ เจ้าของกิจการ อาจตัดในส่วนของหัวข้อ Customer Relationship, Key Partnerships, Key Activities, Key Resources ออกไปได้
.
และให้ทดแทนด้วย 4 หัวข้อที่จะทำให้ธุรกิจที่เริ่มต้นนั้น สามารถหาตัวเองได้เร็วขึ้น คือ
.
- Unfair Advantage
หมายถึง ข้อได้เปรียบต่าง ๆ ของเราที่ทำให้คู่แข่งเห็นแล้วรู้สึกว่าไม่กล้าที่จะแข่งหรือสู้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น เคล็ดลับต่าง ๆ สิทธิพิเศษ ที่คู่แข่งไม่อาจจะลอกเลียนแบบได้ ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจร้านอาหาร เราอาจจะเลือกขายอาหารไต้ ซึ่งอาหารใต้นั้นเปิดกันอยู่ทั่วไป เราเลยต้องหาข้อได้เปรียบอื่นเพื่อทำให้คู่แข่งรู้สึกเห็นความแตกต่าง เช่น เราได้วัตถุดิบส่งตรงมาจากภาคใต้เลยจริง ๆ หรือมีเชฟเป็นคนใต้ที่ทำอาหารใต้รสชาติต้นฉบับได้เลย เป็นต้น นี่คือข้อได้เปรียบที่ ร้านอาหาร ของเราจะสามารถนำมาใช้ได้ และทำให้คู่แข๋งรู้สึกไม่กล้าที่จะแข่งขันด้วย
- Problem
ปัญหาของกลุ่มลูกค้าของเรานั้นคืออะไร ต้องบอกก่อนว่าสินค้าทุกตัวบนโลกใบนี้ ล้วนสร้างมาจากปัญหาด้วยกันทั้งนั้น เพราะคนมีปัญหาจึงมีการแก้ปัญหาด้วยสินค้าและบริการต่าง ๆ ดังนั้น เราจำเป็นจะต้องเข้าใจให้ได้ว่าลูกค้าของเรามีปัญหาอะไร? และเราจะเข้าไปแก้ปัญหานั้นด้วยสินค้าหรือบริการแบบไหน ยกตัวอย่าง เราทำ ธุรกิจร้านอาหาร ปัญหาคือลูกค้าไม่สะดวกออกมาซื้ออาหารด้วยตัวเอง เราก็ต้องคิดว่าเราจะอก้ปัญหานี้ได้ยังไง เราต้องจ้างคนเพื่อมาส่งอาหารมั้ย? หรือเราจะเข้าร่วมกับแพลตฟอร์มส่งอาหารต่าง ๆ ซึ่งถ้าทำแบบนั้นเราจะประหยัดค่าคนส่งอาหาร และถิอเป็นการทำ การตลาด ไปด้วย เป็นต้น นี่คือสิ่งที่ เจ้าของกิจการ ควรจะนำมาคิดและแก้ไขเพื่อให้ได้ใจลูกค้านั่นเอง
3.Solution
วิธีแก้ปัญหา เมื่อเรารู้แล้วว่าปัญหาของลูกค้าของเราคืออะไร? เราก็ต้องทำการแก้ปัญหา ยกตัวอย่าง ร้านอาหาร ที่มีคนเข้ามาใช้ยริการที่ร้านเป็นจำนวนมากแล้วลูกค้ามีปัญหากับการต่อคิวเพื่อรอในการเข้ารับบริการ ร้านอาหาร เราจึงดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยการ เพิ่มการจองคิวล่วงหน้า และจัดระบบการลำดับคิวให้เรียบร้อย หรือแก้ไขด้วยการจัดช่วงเวลาเพื่อจำกัดปริมาณของลูกค้าในแต่ละช่วง หรืออะไรก็ตามที่ตอบสนองในการแก้ปัญหานี้ เป็นต้น
- Key Metrics
ตัวชี้วัดที่จะตัดสินว่าธุรกิจที่เราทำนั้นจะเติบโตหรือไม่โต แต่ในที่นี้เราก็ต้องระวังเรื่องความถูกต้องในการตรวจชี้วัดให้มีประสิทธิภาพด้วยเช่นกันยกตัวอย่าง ร้านอาหาร ที่เป็นร้านเล็ก ๆ ย่อมเป็นที่รู้จักน้อยกว่าแบรนด์ดัง ๆ ที่ทำ การตลาด จนเป็นแบรนด์ในใจของลูกค้าหลาย ๆ คน ทว่าสำหรับ เจ้าของธุรกิจ ที่เพิ่งเริ่มต้นเราก็สามารถทำให้ร้านกลายเป็นแบรนด์ในใจของลูกค้าได้ด้วยการเลือกสรรวัตถุดิบดี ๆ ทำอหารที่รสชาติอร่อย และให้บริการที่ดีกับลูกค้า จนลูกค้าเกิดความประทับใจและเลือกกลับมาใช้บริการที่ร้านอีกหลาย ๆ ครั้ง หรือ บอกต่อเพื่อน ๆ เพื่อให้มาใช้บริการที่ร้านอาหารของเรา จนกลายเป็น การตลาด ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แบบนี้เราก็สามารถวัดผลได้จากการมาซื้อซ้ำของลูกค้า หรือ ลูกค้าที่มาที่ร้านจากการบอกแบบปากต่อปาก ซึ่งถือเอามาเป็น Key Metrics ได้
.
.
ซึ่งจากทั้ง 4 ข้อนี้ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น กลายคนก็อาจจะเกิดคำถามขึ้นมาอีกนิดว่า เมื่อทำตามทั้งหมดที่ว่ามาแล้ว เราจะเจาะกลุ่มเป้าหมายลูกค้าของเรากลุ่มไหนให้มาใช้สินค้าเราเป็นกลุ่มแรก หากเพียงเรามองให้เห็นว่า กลุ่มลูกค้าของเราเป็นแบบไหนตามลักษณะรูปแบบที่เราคิดไว้ตามสินค้าและบริการนั้น ๆ ให้ออกมาเป็นภาพได้อย่างชัดเจนที่สุด
.
เพราะสุดท้ายแล้วการเขียนแผนธุรกิจก็คือการตกตะกอนทางความคิด ที่สรุปย่อออกมาให้กระชับที่สุดเพื่อให้ทุกคนในทีมมองเห็นเป้าหมายของร้านชัดเจนที่สุด และมองไปในทางเดียวกัน เพื่อให้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจในที่สุดนั่นเอง