แต่งร้านอาหาร ลงทุนไปแล้วจะคุ้มหรือไม่ ต้องคิดจากอะไร?
มีคำถามที่ได้ยินบ่อยมากเรื่องหนึ่งคือ นอกจากรายได้ต้นทุน-ค่าใช้จ่ายบริหาร เราต้องเอาพวกค่าก่อสร้างตึกค่าตกแต่งร้านคิดด้วยหรือเปล่า เวลาจะลงทุนแต่งร้านว่าใช้เงินเท่านั้นเท่านี้จะคุ้มไหม
แปลง่ายๆ คืออยากคิดว่าจะคืนทุนค่าก่อสร้างได้เมื่อไหร่นั่นเอง หลักการที่สำคัญที่ใช้ในการประเมินจุดคุ้มทุนของธุรกิจ มีดังนี้ครับ
ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมดต้องนำมาเป็นฐานการคำนวณ ไม่ว่าจะเป็นเงินก้อนแรกที่ใช้ไปกับคำตกแต่งร้าน ซื้อของเข้าร้านที่เริ่มต้น และค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการในแต่ละปี (เราใช้หน่วยของระยะเวลาเป็นปีในการประเมินเสมอ เพื่อเทียบกับดอกเบี้ยธนาคาร)
ค่าตกแต่งร้าน ค่าเครื่องมือ อุปกรณ์หลักต่าง ๆ หรือเงินลงทุนสำหรับทรัพย์สินหลักของร้านนี้ เราจะเอามาบันทึกเป็นค่าเสื่อมราคาโดยหารตามอายุทรัพย์สินตามระบบบัญชี ตัวเลขที่ได้คือค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในแต่ละรอบปีบัญชีของบริษัทนั่นเอง
เมื่อเอาค่าเสื่อมบัญชีมารวมกับคำใช้จ่ายในการดำเนินงานแต่ละเดือน ที่เราทำการประเมินไว้แล้ว เช่น ค่าเช่า ค่าจ้าง ค่าวัตถุดิบ คำการตลาด ค่าน้ำมัน ค่าใช้จ่ายจิปาถะ
ตัวเลขทั้ง 2 รวมกันคือ ค่าใช้จ่ายและค่าเสื่อมราคาที่จะถูกนำมาหักออกจากรายได้ของร้าน ส่วนที่เหลือคือกำไร โดยตอนก่อนลงทุน คุณต้องประมาณการรายได้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และเงินลงทุนเริ่มต้นไว้แล้วอย่างน้อยเป็นเวลา 3-5 ปี ล่วงหน้า
เมื่อเราดำเนินกิจการไป (หรือประเมิน) รายได้และค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้แล้ว การประเมินจะมี 2 แบบ คือ
1. คือเอากำไรก่อนหักค่าเสื่อม (EBITDA) เทียบกับยอดขายสุทธิ (รายได้หลังหักส่วนลดทุกประเภท) แล้วดูว่ากำไรตรงนี้เป็นกี่ % วิธีนี้จะใช้บ่อยกับธุรกิจที่มีเงินลงทุนน้อยและทรัพย์สินไม่มาก
2. คือเอากำไรสุทธิ (Net Profits) เทียบกับยอดขายสุทธิ (รายได้หลังหักส่วนลดทุกประเภท) วิธีนี้จะได้ข้อมูลที่ชัดเจนกว่า เพราะมีการนำเอาเงินลงทุนตั้งแต่ต้นมาคำนวณรวมด้วย ที่บอกว่าชัดเจนกว่า เพราะเราจะได้มุมมองที่ว่า ถ้าเราเอาเงินลงทุนเริ่มต้นนั้นไปทำอย่างอื่นตั้งแต่แรก เราจะได้ผลตอบแทนสูงกว่าธุรกิจนี้ หรือสูงกว่าดอกเบี้ยธนาคารหรือไม่
เมื่อเราได้กำไรออกมาจากแต่ละปีแล้ว ก็เอากำไรนั้นมารวมกันเข้าไปเรื่อยๆ ที่ละปี สะสมรวมกันได้มากกว่าเงินลงทุนเริ่มต้นเมื่อไหร่ นั่นก็คือระยะเวลาที่เราได้ทุนคืนนั่นเอง
ซึ่งสิ่งที่เรามักทำกันผิด นั่นก็คือ ชอบแยกค่าแต่งร้านออกจากค่าเครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ แต่ในชีวิตจริง กาแฟแต่ละแก้ว อาหารแต่ละจานมันเกิดจากการใช้ทรัพย์สินในร้านทั้งหมดรวมกันสร้างอาหารจานนั้นขึ้นมา เช่น ร้านก็เปิดให้บริการลูกค้ามานั่งทาน เครื่องครัวก็ทำหน้าที่ไป เครื่องทำน้ำแข็งก็ผลิตอยู่ทุกวัน นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเราจึงไม่สามารถแยกส่วนมาคำนวณเรื่องการคุ้มทุนได้เลย
สิ่งที่ควรใช้เป็นหลักในการตัดสินใจในการลงทุน ควรจะเป็นแบรนด์และช่วงราคาขายของเรามากกว่า เราวางแบรนด์ไว้ในระดับไหน ก็ควรแต่งร้าน เลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ให้อยู่ในระดับนั้น ไม่จำเป็นต้องลงทุนเกินตัว
หากต้องการแต่งร้านให้สวย ให้วางแผนหารายได้จากการให้ร้านใช้เป็นสถานที่ถ่ายงาน เพื่อช่วยได้ค่าแต่งร้านกลับมาอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งรายได้อื่นนั้นอาจจะได้ง่าย และทำให้คืนที่ได้ไวกว่าขายอาหาร เครื่องดื่ม แค่อย่างเดียว
ทำธุรกิจต้องไม่ปล่อยให้ตัวเองมีรายได้ทางเดียว แต่ให้พยายามใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ลงทุนไปแล้วให้มากที่สุด
หวังว่า ทริคคุมค่า แต่งร้านอาหาร ที่นำมาฝากกันในวันนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังสนใจ ทำร้านอาหารพร้อมเดลิเวอรี่ ทุกท่านนะคะ ฝากติดตาม Torpenguin ในทุก ๆ ช่องทางด้วยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ 😊
Source: หนังสือวิชาธุรกิจ ที่ชีวิตจริงเป็นคนสอน สามารถสั่งซื้อได้เลยที่ 👉 RBA_Official
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อ
- ธุรกิจร้านอาหารปี 2025 ภาพรวมจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมขนาดไหน?
- ศูนย์วิจัยกสิกรคาด ภาพรวมธุรกิจร้านอาหารและร้านเครื่องดื่มปี 2568 ขยายตัว 4.6% มูลค่าตลาด 657,000 ล้านบาท
- เปิดร้านยังไงไม่ให้ Over Budget
- การวิเคราะห์คู่แข่ง ก่อนเปิดร้านอาหาร ทำยังไง? เผยเคล็ดลับสำหรับ SME
- วิธีเลือกซัพพลายเออร์ สำหรับเจ้าของร้านอาหารมือใหม่
- เช็กลิสต์เปิดร้านอาหาร ถ้ามีเวลา 90 วัน ก่อนเปิดร้านเราต้องทำอะไรบ้าง ?
- ร้านอาหารทำครัวเปิด โชว์ลูกค้าดีมั้ย?
- อยากเปิดร้านอาหาร เช็กความพร้อมของตัวเราเองด้วย 9 เช็กลิสต์นี้ก่อน
- 6 เรื่องสำคัญที่ต้องรู้ ก่อนเลือกแบบแปลนร้านอาหาร