เปิดร้านในตึกแถว

เปิดร้านในตึกแถว เลือกทำเลยังไงให้โดนลูกค้าตัวจริง

เชื่อว่าต้องมีผู้ประกอบการหลายท่านหลงในมนต์เสน่ห์ของตึกแถว ความเก่าแก่ของความทรงจำที่ถูกฝากไว้ตามร่องรอย และอายุไขของตึกนั้น ๆ จนอยากหยิบมาเป็นส่วนหนึ่งของร้าน

หรือผู้ประกอบการบางท่านอาจไม่ได้สนใจเรื่องเหล่านี้ เพียงแต่ได้ทำเลเป็นตึกเก่ามา

แน่นอนว่าไม่ใช่ตึกแถวทุกทำเลที่สามารถเปิดร้านได้ เพื่อลดความเสี่ยงของธุรกิจลง เราจำเป็นต้องประเมินศักยภาพของทำเลนั่น ๆ ว่ามีศักยภาพมากน้อยแค่ไหน คอนเทนต์นี้จึงขอพาทุกคนไปหาคำตอบครับ

 

เมื่อพูดถึงตึกเก่า สิ่งที่ต้องระวังเลยคือการเผลอไปหยิบตึกในทำเลที่ตายมาเป็นที่ตั้งร้าน

เช่น ทำเลที่เป็นซอยตัน ทำเลที่บริเวณรอบ ๆ กำลังร้าง มีคนอาศัยน้อย โดนระบบขนส่งสาธารณะทิ้ง เพราะถึงแม้เราจะมองว่าในอนาคตทำเลนี้สามารถฟื้นได้ แต่เมื่อดูจากความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่ เทียบกับเวลาที่ใช้ในการฟื้นฟู

หากเราไม่มีรายได้ในช่องทางอื่นหล่อเลี้ยงธุรกิจ การเลือกหยิบทำเลที่ตายมาฟื้นฟู ถือเป็นความเสี่ยงของธุรกิจ เพราะอาจทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องทางการเงินและล้มหายตายจากไปในที่สุด

 

แล้วทำเลแบบไหนละที่มีศักยภาพมากพอสำหรับการเปิดร้าน เราอาจเริ่มประเมินจาก 7 ข้อนี้

 

1. ความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่

ทำเลที่ดีไม่ใช่ทำเลที่คนพลุกพล่าน แต่คือทำเลที่มีกลุ่มลูกค้าเราอยู่ ทำเลของเราตรงนั้นมี Traffic ที่จะเป็นกลุ่มลูกค้าเรามากน้อยขนาดไหน

เช่น อยู่แถวย่านออฟฟิศ จันทร์ถึงศุกร์ก็จะคึกคัก แต่เสาร์อาทิตย์ก็เป็นอีกเรื่องเลย แถมแต่ละย่านก็ไม่เหมือนกันอีก แต่ละจุดอาจมีกำลังซื้อแตกต่างกันในแต่ละทำเล ยิ่งเป็นทำเลที่อยู่ใจกลางเมืองอย่าง สาทร สีลม อโศก ฐานรายได้เฉลี่ยของกลุ่มลูกค้าก็อาจจะมากขึ้น ค่าเช่าก็อาจจะสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ราคาขายของร้านอาหารจะสูงกว่าย่านออฟฟิศสำนักงานที่อยู่ถัดออกมา เช่น ย่านพหลโยธิน ทาว์อินทาวน์ หรือแจ้งวัฒนะ เป็นต้น

นี่จึงเป็นเหตุผลที่คุณต้องเช็กเรื่องเหล่านี้อย่างละเอียด เพื่อเอาข้อมมูลทั้งหมดมาคิดระยะเวลาที่ใช้ในการคืนทุนต่อไปนั้นเอง

 

2. ราคาที่เราตั้ง

จะมีประโยชน์อะไรถ้าทำเลร้านคุณอยู่ใกล้มหาวิทยาลัย แต่คุณกลับขายอาหารเฉลี่ยหัวละ 600 บาท ราคาที่เราตั้งนั้น สอดคล้องกับรายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนในพื้นที่มากน้อยแค่ไหน และในพื้นที่นั้นมีกลุ่มลูกค้าของเราเพียงพอกับความต้องการของเราหรือไม่

 

3. ทำเลนั้นมีคู่แข่งอยู่มากน้อยแค่ไหน

หากมากแปลว่าอาจกำลังเจอกับการแข่งขันที่ดุเดือด และหากไม่มี อาจหมายความว่าทำเลนั้นอาจไม่มีความต้องการในสินค้าของเรา

 

4. พื้นที่โดยรอบมีกิจกรรมอื่น ๆ ให้ลูกค้าทำหรือไม่

เช่น นั่งชิลและออกกำลังกายในสวนสาธารณะ ทำบุญไหว้พระ คาเฟ่สำหรับอ่านหนังสือ ตลาดท้องถิ่น นิทรศการศิลปะ หรือจะเป็นกิจกรรมเดินชมสถาปัตยกรรมเก่า เพราะกิจกรรมเหล่านี้เปรียบเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ลูกค้าเดินทางมายังทำเลร้านของเราได้ง่ายขึ้น

 

5. ตึกแถวที่เราเลือก ต้องมีศักยภาพที่จะเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางของลูกค้าได้

หมายความว่า ร้านต้องมีสไตล์ และกลิ่นอายบางอย่างที่เสริมให้ย่านโดยรอบมีเสน่ห์มากยิ่งขึ้น ที่สำคัญ ชุมชนโดยรอบต้องมีความพร้อมในการเติบโต

 

6. ไม่อยู่ในจุดอับสายตา

Visibility การมองเห็นต้องดี และมีพื้นที่จอดรถไม่ไกลจากร้านมากเกินไป สิ่งนี้ยังทำให้เกิดการเข้าถึงที่สะดวกและง่ายต่อลูกค้าอีกด้วย

 

เปิดร้านในตึกแถว ก็เหมือนการลงทุนในร้านรูปแบบอื่น ๆ การลงทุนแต่ละครั้งไม่ใช่ว่าจะมีแต่ทุนที่จะลงเพียงอย่างเดียว การคิดถึงอนาคตของร้านเราหรือธุรกิจอะไรก็ตามแต่ ต้องมีการวางแผนอย่างละเอียดรอบคอบ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ

 

📌 ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin

📌 อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

6 เรื่องสำคัญที่ต้องรู้ ก่อนเลือกแบบแปลนร้านอาหาร

ออกแบบแผนผังร้านอาหารอย่างไร ให้มีมาตรฐานและเป็นระบบ

พึ่งเริ่มทำธุรกิจ ระวัง 10 ข้อนี้ไว้ให้ดี

5 เรื่องเกี่ยวกับการทำธุรกิจ ที่ถ้ารู้แล้วแต่ยังปล่อยไว้ เละเทะแน่

มาตรฐานครัว ตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2561 ที่ร้านอาหารต้องทำให้ถูกต้อง

เช็กลิสต์ว่าที่เจ้าของร้าน มัดรวม เรื่องที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนเปิดร้าน

10 สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการทำธุรกิจ ที่เราต้องรู้

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ เขาทำอะไรกันบ้างที่ต่างจากเรา?