เคล็ดลับการทำแบรนด์

เคล็ดลับการทำแบรนด์ ด้วยการเล่นกับอารมณ์ลูกค้า

อารมณ์เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อ และอารมณ์ช่วยให้เราจดจำได้ดี เมื่อไหร่ที่แบรนด์เราสามารถเชื่อมโยงกับอารมณ์ความรู้สึกของลูกค้าได้ ลูกค้าจะเกิดความเชื่อใจ จนนำไปสู่การซื้อแบบไร้ข้อจำกัด ลูกค้าจะเต็มใจจ่ายให้แบรนด์เราในราคาสูงขึ้น และกลายเป็นกระบอกเสียงให้เราในทันที

แต่ก่อนจะไปถึงขั้นสร้างความรู้สึก เราจะขอพาทุกคนมาสำรวจก่อนครับว่า อารมณ์แบบไหนที่เราควรเอามาสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า

การหวนสู่วันวาน (Nostalgia)

เป็นความรู้สึกที่ชวนให้เราอยากย้อนเวลาไปในอดีต ณ ช่วงที่มีความสุข หรือมีประสบการณ์ดี ๆ แบรนด์ที่สามารถมอบ Nostalgia ให้กับลูกค้าได้คือแบรนด์ที่เชื่อมโยงอารมณ์ความรู้สึกได้แข็งแกร่ง

ความรู้สึกเชิงบวก

ไม่ว่าจะเป็น ความสุข สนุก เบิกบาน เป็นอารมณ์ที่เสริมให้แบรนด์เราน่าเชื่อถือ และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์ของเราช่วยเติมเต็มบางอย่างให้กับเขา

ความเข้าใจ (Empathy)

แบรนด์ที่เข้าใจลูกค้าจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเขากำลังกำลังปรึกษากับคนที่เข้าใจ ความเช้าใจช่วยเติมเต็มช่องว่างในใจของลูกค้า นำมาสู่ความเชื่อมั่น และเป็นการสร้างแบรนด์เลิฟในระยะยาว

ความกลัวว่าจะตกขบวน (Fear of Missing Out)

เทคนิคนี้มักถูกใช้ในการปิดการขายที่กระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อในทันที แต่ในขณะเดียวกันก็ถูกนำมาใช้ในการสร้างแบรนด์ด้วย

 

โดยเทคนิคการทำแบรนด์โดยอาศัยอารมณ์ของลูกค้าสามารถทำได้ดังนี้

 

#อันดับแรกต้องสร้างคาแรคเตอร์ของแบรนด์

เรามักจะอยากสร้างปฏิสัมพันธ์กับบางอย่างที่มีลักษณนิสัยหรือบุคลิกที่ให้ความรู้สึกเหมือนคนมากกว่าสร้างสัมพันธ์องค์กร จากเหตุผลนี้ทำให้แบรนด์ร้านอาหารใหญ่ ๆ ในปัจจุบันที่มีการใช้มาสคอตเข้ามาสื่อสารแบรนด์ เช่น KFC ใช้ ผู้พันแซนเดอร์เป็นโลโก้ หรือบาร์บีคิวพลาซ่าที่มีการใช้บาร์บีก้อน ชักชวนผู้คนเข้ามาในร้าน

#อันดับต่อมาเป็นการตลาดแบบเล่าเรื่อง

David Brier ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์และผู้เขียนหนังสือ ‘Brand Intervention’ เคยกล่าวไว้ว่า ‘ถ้าเราไม่บอกเรื่องราวของแบรนด์เรากับนักการตลาด นักการตลาดจะกำหนดเรื่องราวของแบรนด์เราให้กับเรา’ ในทุกวันนี้ทุกคนล้วนเป็นนักการตลาดให้กับร้านเรา ไม่ว่าจะเป็นการตลาดปากต่อปาก การแชร์คำติชมบนโซเซียล รีวิว และอื่น ๆ อีกมาก การตลาดแบบเล่าเรื่องเลยเป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ

แต่ก่อนจะสร้างเรื่องราวเราจะเป็นต้องรู้ก่อนว่า จุดเด่นของธุรกิจเราคืออะไร เราแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร เพื่อให้เราสามารถหยิบจุดแข็งตรงนั้นมาสร้างเป็นเรื่องราว แล้วถ่ายทอดออกมาผ่านอารมณ์ความรู้สึก ที่ดึงให้ผู้ที่กำลังรับสารเกิดความรู้สึกเชื่อมโยง โดยมีหลักอยู่ว่าต้องไม่ใช่เรื่องที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมา นอกจากนี้การแชร์เรื่องราวที่ไม่สมบูรณ์โดยไม่ต้องปรุงแต่งจะช่วยเชื่อมโยงกับความรู้สึกของลูกค้าได้มากขึ้น

สำหรับการตลาดแบบเล่าเรื่อง เราไม่จำเป็นต้องป่าวประกาศอยู่ตลอดเวลา แต่เราสามารถถ่ายทอดเรื่องราวเอาไว้บนโซเซียลมีเดีย การตกแต่งร้าน จานชาม เล่มเมนู ใบเสร็จ การเทรนด์พนักงานให้มีพื้นฐานการเล่าเรื่อง หรือตามแต่ที่เราจะสอดแทรกเอาไว้ในทุก ๆ ส่วนของการบริการ

#อันดับที่สามคือการบริการที่เป็นหัวใจสำคัญมากที่สุด

หากว่าเราเตรียมพร้อมทุกอย่างไว้ดีมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของแบรนด์ หรือการสร้างคาแรคเตอร์แบรนด์ แต่การบริการของเราแย่มาก ความเชื่อมั่นที่เราพยายามสร้างมาตลอดเส้นทางที่จะสูญเปล่าลงในทันที เพราะการบริการที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง หรือต่ำกว่าความคาดหวังมาก ๆ ลูกค้าจะขาดความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ของเรา และการสร้างกลับมาซ้ำ หรือกลับมาเชื่อในแบรนด์เราก็ยากมากขึ้น

ทั้งหมดนี้ก็คือ เคล็ดลับการทำแบรนด์ โดยอาศัยอารมณ์ความรู้สึกมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง Brand Loyalty หวังว่าจะมีประโยชน์กับใครที่กำลังทำแบรนด์ดิ้งกันอยู่

📌 ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin

📌 อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ไอเดียการตลาด ปี 2023 ที่ร้านอาหารขนาดเล็กไม่ควรพลาด
สร้างแบรนด์ดิ้งร้านอาหาร ให้ลูกค้าจำได้ ต้องเริ่มต้นอย่างไร
10 สิ่งที่ต้องทำ ถ้าอยาก เปิดร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จ
ออกแบบแผนผังร้านอาหารอย่างไร ให้มีมาตรฐานและเป็นระบบ
10 เทคนิคตั้งชื่อร้านอาหาร ให้ลูกค้าจำง่าย ใครๆ ก็รู้จัก
คุยกับ เจนลูกสาวป้าดำ คาเฟ่ที่มีแบรนด์ดิ้งอยู่ในทุกอณูของร้าน