อยากทำแฟรนไชส์ของตัวเอง เริ่มยังไง ให้คนอยากมาซื้อ ต่อยอดธุรกิจสู่แฟรนไชส์ เริ่มต้นยังไงให้มีคนสนใจแบรนด์เรา
แฟรนไชส์เป็นรูปแบบการทำธุรกิจ ที่ทำให้กิจการของเราเติบโตอย่างรวดเร็ว เพิ่มอำนาจต่อรองกับซัพพลายเออร์ ทั้งยังเพิ่มโอกาสให้แบรนด์เราเติบโตในต่างประเทศ โดยที่เราไม่ต้องลงทุนทั้งหมดด้วยตัวเอง
ธุรกิจแฟรนไชน์จากต่างประเทศที่ได้รับความนิยมในไทยเองก็มีไม่น้อย เช่น Mixue, KFC, Pizza hut
จากความสำเร็จของแบรนด์เหล่านี้ และความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์อีกมากมาย การต่อยอดไปเป็นธุรกิจแฟรนไชส์จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ค่อนข้างได้รับความนิยม
แต่แน่นอนว่า การทำแฟรนไชส์ให้ดีไม่ได้ง่าย และไม่ได้ฟรีทั้งหมด หากเราอยากต่อยอดธุรกิจของเราไปเป็นแฟรนไชส์ เราต้องทำงานหนักให้มากพอก่อน ไม่ว่าจะเป็น
#สร้างแบรนด์เพื่อเพิ่มการจดจำ
นอกจากแบรนด์ดิ้งจะเป็นภาพแรกที่ลูกค้าจดจำเรา แบรนด์ดิ้งยังเพิ่มโอกาสการขายแฟรนไชน์ให้กับเราด้วย เพราะแบรนด์ดิ้งจะทำให้แบรนด์ของเราน่าเชื่อถือ ไปจนถึงทำให้เรามีฐานลูกค้าที่รู้จักแบรนด์เราอยู่แล้ว กลับกันถ้าเราไม่มีแบรนด์เลย ยากมากที่คนซื้อแฟรนไชส์จะกล้าเสี่ยงกับเรา เพราะนั่นแปลว่า ลูกค้าในทำเลอื่นอาจไม่ได้รู้จักแบรนด์เรา ไปจนถึงความน่าเชื่อถือเองก็ยังไม่มากพอด้วย
#สร้างมาตรฐาน
มาตรฐานวัตถุดิบ ความสะอาด คุณภาพอาหาร การบริการ เราตองมีมาตรฐานทุกอย่าง และมีกระบวนการในการตรวจสอบมาตรฐานอยางละเอียด ถ้าเราขายอาหารฮาลาล สิ่งที่เราต้องมีก่อนขายแฟรนไชส์คือใบรับรองมาตรฐานฮาลาล เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าและตัวแบรนด์เอง
#สร้างระบบจัดการภายในร้าน
ครัวกลาง คลังวัตถุดิบ และระบบการจัดการภายในร้าน เป็นส่วนสำคัญที่เราต้องสร้างให้มีเพราะส่วนนี้เองก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ใช้พิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ ยิ่งเราวางระบบให้ตรวจสอบได้ง่ายและเป็นขั้นตอนมากเท่าไหร่ โอกาสในการขายก็ยิ่งมาก
แต่ถ้าระบบของเราตรวจสอบยาก มีขั้นตอนซับซ้อน ผู้ซื้อแฟรนไชส์อาจประเมินว่าธุรกิจของเรามีความเสี่ยงสูง ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นก็เยอะ เมื่อมีข้อผิดพลาดก็ยากที่จะตรวจเจอ โอกาสในการขายแฟรนไชส์ของเราจะลดลง
#สร้างระบบการดูแลผู้ซื้อแฟรนไชส์
ธุรกิจแฟรนไชส์ ไม่ได้ขายแล้วจบ แต่เรายังต้องคอยดูแลผู้ซื้อแฟรนไชส์อีกด้วย ‘ทีมดูแลผู้ซื้อแฟรนไชส์’ เป็นส่วนแรกที่เราต้องมี ถัดมาเป็นกระบวนการประเมินผู้ซื้อแฟรนไซส์ เพราะหากผู้ซื้อแฟรนไชส์ซื้อแบรนด์เราไปแล้วดูแบไม่ดี ก็อาจมีผลกระทบกับสาขาอื่น ๆ ได้ด้วย
นอกจากนี้ ระบบการสื่อสารกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็เป็นส่วนที่เราต้องมี อาจมีการนัดประชุมผู้ซื้อแฟรนไชส์ทุกเดือนเพื่อ Feedback ปัญหาที่เกิดขึ้น จนถึงแนวทางสำหรับการแก้ไข
#กลยุทธ์ระยะยาวที่จะทำให้แฟรนไชส์เติบโต
ในระยะยาวแฟรนไชส์ของเราอาจไปไม่รอด ถ้าเราขาดกลยุทธ์ในการพัฒนาธุรกิจต่อไปในอนาคต อีกทั้งการที่เรามีเป้าหมายในอนาคต ยังทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์มั่นใจมากขึ้นว่าธุรกิจของเราไม่ได้หยุดอยู่แค่ตรงนี้ แต่เราจะยังเติบโตต่อไป และทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีภาพในอนาคตว่า ในอนาคตแบรนด์เราจะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าตอนนี้
อยากทำแฟรนไชส์ของตัวเอง เริ่มยังไง คำตอบก็คือทั้งหมดนี้ครับ ทั้งหมดนี้คืองานหนักที่เรา ต้องทำก่อนต่อยอดธุรกิจไปเป็นแฟรนไชส์ ที่เริ่มตั้งแต่การสร้างแบรนด์ดิ้ง จนถึงการสร้างกลยุทธ์ในการเติบโต หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ทุกคนนะครับ
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
6 เรื่องสำคัญที่ต้องรู้ ก่อนเลือกแบบแปลนร้านอาหาร
ออกแบบแผนผังร้านอาหารอย่างไร ให้มีมาตรฐานและเป็นระบบ
พึ่งเริ่มทำธุรกิจ ระวัง 10 ข้อนี้ไว้ให้ดี
5 เรื่องเกี่ยวกับการทำธุรกิจ ที่ถ้ารู้แล้วแต่ยังปล่อยไว้ เละเทะแน่
มาตรฐานครัว ตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2561 ที่ร้านอาหารต้องทำให้ถูกต้อง
เช็กลิสต์ว่าที่เจ้าของร้าน มัดรวม เรื่องที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนเปิดร้าน