สุราไทย กับการต่อสู้เกือบ‘ทศวรรษ’ ของคนทำ ลดผูกขาด สร้างสนามแข่งขันให้ ‘แฟร์’ กับผู้เล่นทุกคน
ในวงการคนทำเหล้า ไวน์ และคราฟท์เบียร์ การเริ่มต้นธุรกิจของพวกเขาไม่เพียงเผชิญกับความยากลำบากในชิงส่วนแบ่งจากเจ้าใหญ่ผู้ครองตลาด แต่ยังต้องสะดุดกับกฎหมายที่ถูกเขียนให้แพ้ ตั้งแต่ยังไม่เริ่ม..
บทความนี้ Torpenguin มีโอกาสได้พูดคุยกับ 3 คนสำคัญ ที่มีส่วนในการต่อสู้ และผลักดันวงการสุราชุมชน คราฟท์เบียร์ และไวน์ มาตลอดหลายปี สู่วันที่ร่างกฎหมายปลดล็อกทำเหล้าเสรี กำลังจะเข้าสู่โค้งสุดท้ายของการอนุมัติ
คุณ ช้าง – ทวีชัย เจ้าของโรงกลั่นเหล้ารัมจากอ้อยชุมชน แบรนด์ ‘สังเวียน’ ในจังหวัดสุพรรณ ที่ไม่สามารถเรียกตนเองว่าเป็นเหล้ารัมได้
คุณตูน – ศุภพงษ์ พรึงลำภู หนึ่งในผู้ก่อตั้งโรงเบียร์สหประชาชื่น เจ้าของคราฟท์เบียร์แบรนด์ Sandport Beer ที่เคยต้องต้มเบียร์จากต่างประเทศ แล้วนำเข้ามาในไทย เพราะกฎหมาย และข้อจำกัดในการผลิต
คุณมีมี่ – สุวิสุทธิ์ โลหิตนาวี ทายาทคนเล็ก ควบตำแหน่ง Director of Marketing and PR แห่งไร่กราน มอนเต้ ไร่องุ่นที่สร้างไวน์ไทยในแบรนด์ GranMonte ให้เป็นที่รู้จักระดับโลก
#เค้กที่ถูกแบ่งอย่างไม่เป็นธรรม
ย้อนรอยการผลิตสุราในไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2470
พ.ศ. 2470 กรมสรรพสามิตผลิตสุราเอง ณ โรงบางยี่ขัน และรัฐเป็นผู้ผูกขาดการผลิตและจำหน่ายสุรา
พ.ศ. 2502 รัฐบาลมีนโยบายให้เอกชนเข้ามามีส่วนในการดำเนินการผลิตสุราได้ โดยรัฐได้เปิดให้เอกชนประมูลสิทธิในการดำเนินกิจการสุราบางยี่ขัน
พ.ศ. 2543 รัฐออกนโยบายผลิตและจำหน่ายสุราเสรี ภายใต้เงื่อนไขในการจัดตั้งและข้อจำกัด
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในปี 2543 แม้เรียกว่า ‘นโยบายเสรี’ แต่กลับมีเงื่อนไขการผลิต และข้อจำกัดที่ปิดกั้นสิทธิ เสรีภาพ ของการประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจาก สุรา และคราฟท์เบียร์ เป็นธุรกิจที่ผู้ประกอบการรายย่อยมักเริ่มจากระดับครัวเรือนด้วยทุนจำนวนน้อย จึงไม่สอดคล้องกับ กฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ.2560 ที่กำหนดให้
สุรากลั่น และสุราแช่ : ใช้เครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า และใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน
โรงงานเบียร์ : ผลิตเบียร์เพื่อขาย ณ สถานที่ผลิต ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท และมีกำลังการผลิต 100,000 ลิตรต่อปี และหากต้องการบรรจุขายนอกสถานที่ผลิต จะต้องผลิตขั้นต่ำ 10,000,000 ลิตร ต่อปี
ในปี 2565 มีการปรับกฎการผลิตสุราและเบียร์บางส่วน โดย อนุญาตให้ผลิตสุราในครัวเรือนได้ และหากต้องการเป็นผู้ผลิต ก็สามารถทำได้ แต่ยังจำกัดให้ผู้ผลิตสุรารายใหม่ ใช้กำลังการผลิตที่ 5 แรงม้า เป็นเวลา 1 ปี ถึงจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 50 แรงม้า เมื่อเปิดมาเกิน 1 ปี
ในส่วนของเบียร์ ยกเลิกทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท และยกเลิกกำลังการผลิตขั้นต่ำ พร้อมทั้งกำหนดให้เป็นโรงงานตามกฎหมาย จัดทำรายงานการส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แต่ก็ยังห้ามบรรจุขายนอกสถานที่ผลิตอยู่ดี
“มันใหญ่เกินไปสำหรับใครที่กำลังจะเริ่มต้น” – คุณตูนกล่าวถึงตอนที่เริ่มต้นตอนเปิดโรงเบียร์สหประชาชื่น
คราฟท์เบียร์มีอายุที่จำกัด หากเก็บไว้นานเกินไปจะนำไปสู่การสูญเสียช่วงเวลาที่ดีที่สุด สินค้าเมื่อสินค้าสูญเสียช่วงเวลาที่ดีไปแล้ว แต่ยังดึงดันจะขาย อาจนำไปสู่การสูญเสียกลุ่มลูกค้าซึ่งเป็นฐานเดิมของธุรกิจ
อีกทั้งคุณตูนยังไม่สามารถนำคราฟท์เบียร์ของตนออกขาย ณ สถานที่ที่ไม่ใช่สถานที่ผลิตได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดปริมาณขั้นต่ำในการผลิต
การกำหนดปริมาณขั้นต่ำของการผลิตที่สูงเกินไปตามกฎหมาย ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยในไทยจำนวนมาก หันไปผลิตเบียร์ที่ต่างประเทศ แล้วนำกลับมาขายในไทย
เรื่องเศร้าที่หลายคนน่าจะเคยได้ยินกัน เมื่อคราฟท์เบียร์ไทยหลากหลายแบรนด์ชนะรางวัลจากเวที ‘World Beer Awards แต่เจ้าของแบรนด์ ต้องขึ้นรับรางวัลในฐานะแบรนด์คราฟท์เบียร์จากประเทศอื่นไม่ใช่ ไทย เพราะไม่ได้ผลิตในประเทศไทย
ในเวลาเดียวกัน แม้การจำกัดกำลังการผลิตของสุราไว้ที่ 5 แรงม้า จะดูเหมือนรัฐกำลังช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อยที่กระโดดเข้ามาทำเหล้าไม่เจ็บตัวจากความล้มเหลว แต่ในทางปฏิบัติ กฎหมายข้อนี้เป็นเหมือนหนาม เหมือนอุปสรรคขวางกั้นการของเติบโตของกิจการมากกว่า
“ไวน์คือสุราแช่ที่ได้จากการหมักผลไม้ สุราแช่จะค่อนข้างง่ายกว่าในเรื่องการขอใบอนุญาต และประเภทเครื่องดื่มที่ทำก็ไม่มีปัญหาในเรื่องการผลิต แต่ที่เป็นความท้าทายหลักของเราคือเรื่องภาษีที่สูงมาก”
“อันที่สองก็คือว่าเรื่องของการขาย หรือโฆษณาที่ทำไม่ได้ อันนี้ไม่ว่าคุณจะเป็นเหล้า เบียร์ ไวน์ ทุกคนเจอทั้งหมด พรบ. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำให้เราทำ Sales and Marketing ไม่ได้” – คุณมีมี่
นอกจากความยากลำบากในการผลิต ผู้เล่นใหม่ และผู้ประกอบการรายย่อยในธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังต้องเผชิญกับความยากลำบากในการขาย เนื่องด้วยข้อกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ไม่อนุญาตให้โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกรูปแบบ รวมถึงการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านช่องทางจำหน่ายออนไลน์
#เส้นทางต่อจากนี้
กี่ความฝันที่ดับลง เพราะกฎหมายที่ปิดกั้นสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ?
“เราอุตส่าห์เจออาชีพที่อยากทำ แล้วเราเชื่อว่ามันทำได้ ทำได้ดี เพียงแต่กฎหมายไม่ให้เราทำ” ด้วยความเชื่อของคุณตูน เขามุ่งมั่นทำคราฟท์เบียร์จนบินไปต้มเบียร์ถึงต่างประเทศ แล้วนำกลับมาวางขายในร้านค้าที่ไทย ก่อนที่ต่อมาจะร่วมก่อตั้งโรงเบียร์สหประชาชื่น ที่รวมตัวคนทำเบียร์ในไทยมาทำเบียร์ด้วยกันให้ได้ตามปริมาณที่รัฐอนุญาต
แต่นั่น ก็ดูจะเป็นเส้นทางที่เดินตามได้ยาก สำหรับที่ผู้ประกอบการรายย่อยที่ยังหาเช้ากินค่ำ
คุณช้างให้สัมภาษณ์กับเราว่า ตัวเขาเองเรียนจบ ป.โท ในศาสตร์การทำเบียร์ แต่เมื่อเจอกฎหมายและข้อกำหนดในการทำเบียร์ เขาก็ตัดสินใจเบนเข็มทิศมาทำสุราแทน “ถึงจะขายไม่ออก มันก็ไม่เน่า” – คุณช้าง
คุณช้างเสริมต่อว่า ‘ใบอนุญาตสุราชุมชนสามารถผลิตได้เฉพาะสุราที่เรียกว่า ‘เหล้าขาว’ การเป็นเหล้าขาวยังมีชนิดแยกย่อยลงไปอีกตามวัตถุดิบ และกรรมวิธีในการผลิต เหล้าขาวที่หลายคนคุ้นเคยกันไม่ว่าจะเป็น วอดก้า รัม จิน แต่ในทางกฎหมาย ไม่ว่าเราจะเป็นเหล้าขาววอดก้า รัม หรือ จิน เราจะได้ชื่อว่า ‘เหล้าขาว’
เห็นได้ชัดว่า การจำกัดชื่อเรียกชนิดของเหล้าให้เหลือเพียงชื่อเดียว มีผลกระทบโดยตรงต่อมุมมองราคาสินค้า
ถึงปีนี้ 2568 อีกหนึ่งก้าวสำคัญของวงการสุรา หลังจากเมื่อกลางเดือนมกราคม ร่างปลดล็อกข้อกำหนดประชาชนผลิตสุราเพื่อการค้า ถูกลงมติเห็นชอบ 414 เสียงจากผู้ร่วมประชุมทั้งหมด 419 เสียง ก่อนจะถูกนำส่งให้ สว. พิจารณา
โดยร่างกฎหมายที่ผ่านการพิจารณา มีสาระสำคัญคือ
1. การขอรับใบอนุญาตผลิตสุราเพื่อการค้า ต้องไม่ใช่หลักเกณฑ์ที่เป็นการเลือกปฏิบัติ หรือผูกขาดทางเศรษฐกิจโดยไม่เป็นธรรม หรือสร้างภาระอันเกินสมควร
2. สนับสนุนการใช้สินค้าเกษตรกรในประเทศ มาผลิต หรือนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตสุราทุกประเภท
หากร่างกฎหมายฉบับนี้ได้รับการอนุมัติ ไม่เพียงผู้ประกอบกิจการโรงเบียร์ โรงกลั่นสุรา หรือคนทำไวน์เท่านั้นที่มีส่วนได้ เกษตรกรผู้ปลูกพืชผลทางการเกษตรก็มีส่วนได้จากการหยิบจับวัตถุดิบท้องถิ่นมาเป็นส่วนผสม ทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตร ผ่านรสชาติที่มีเป็นเอกลักษณ์ และเรื่องราวของชุมชนที่อยู่เบื้องหลังการผลิต
ไม่แน่ว่าชุมชนไกลเมืองที่เคยเงียบเหงา อาจฟื้นคืนชีวิตอีกครั้งด้วยการสร้างชื่อเสียงในน้ำเมา จนทำให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกอยากเข้ามาสัมผัสกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงจอกสุราที่ถูกรินโดยคนในชุมชน
“เมื่อเราผลิตสินค้าในประเทศได้ การเดินทางของสินค้าก็จะน้อยลง คาร์บอนฟุตพริ้นท์ก็น้อยลงด้วย นำไปสู่ความยั่งยืนกับโลก ในด้านการเกษตรตอนนี้เรามีหลายคนที่ทำการเกษตรแบบยั่งยืน ซึ่งตรงนี่สามารถเป็นจุดขายได้เช่นกัน
“คนไทยทำอาหารเก่ง ทำไมคนไทยจะต้มเบียร์ ต้มเหล้าไม่เก่ง” – คุณมีมี่
เรื่องราวของคนทำเหล้า การต่อสู้ไปพร้อมกับคนหลาย ๆ คน จนเกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับสังคม ที่เอื้อประโยชน์ไปถึงคนรากหญ้าทั่วประเทศ ชวนเรากลับมาคิดว่า หากธุรกิจของเรามีส่วนในการสร้างสังคมอย่างที่พวกเขาทำได้ สิ่งนั้นมีความหมายกับการคงอยู่คงของกิจการมากจริง ๆ
และนี่เป็นแค่เนื้อหาส่วนหนึ่งเท่านั้น มาฟังคลิปสัมภาษณ์แบบเต็มๆ ได้ที่
ธุรกิจสุราไทย ตัวร้ายในสังคมจริงหรอ?! | Torpenguin
รวมชง ‘อนาคตใหม่’ ให้ ‘ธุรกิจกลางคืนไทย’ กับงาน DAMN EXPO 2025 (Dining And Mixology Networking Expo 2025) 19 – 20 มีนาคม 2568 นี้
งานเอ็กซ์โปครั้งใหญ่แห่งปี ของคนทำ ‘ร้านอาหารกลางคืน’ โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น ผับ บาร์ โรงแรม สถานบันเทิง
รวมพลตัวจริงในวงการ
พบกับ ‘Stage Session’ ที่จะรวมเหล่า Speaker ชื่อดังที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจร้านอาหารกลางคืน ที่มาพร้อมกับ Session กว่า 12 หัวข้อ ให้ผู้ประกอบการได้นำไอเดียไปพัฒนาต่อยอดร้านของตัวเองในอนาคต อาทิเช่น
ไม่ได้มีแค่นี้ พบกับโซนต่าง ๆ และกิจกรรมที่จัดมาเพื่อคนทำร้านอาหารกลางคืนโดยเฉพาะตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็น
รวมพลสินค้าและบริการเพื่อธุรกิจกลางคืน
โซน Exhibitors บูธแสดงสินค้าและบริการด้านการจัดการร้านอาหารกลางคืน จากบริษัทชั้นนำกว่า 90 บูธ ไม่ว่าจะเป็น
- ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ตัวแทนจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮออล์ทั้งไทยและต่างประเทศ
- คราฟต์เบียร์ไทย ไวน์ สุราชุมชน
- อุปกรณ์ตกแต่งร้าน อุปกรณ์บาร์เทนเดอร์ , Bartools
- บริษัท ติดตั้ง แสง สี เสียง สำหรับร้านอาหารกลางคืน
- บริการจัดหาการ์ด ผู้รักษาความปลอดภัย อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยในร้าน
- เครื่องมือด้านการตลาด
- ระบบจ่ายเงิน และ POS
- อาหาร กับแกล้ม
รวมพลคนทำร้าน
สวนาจบคนไม่จบ มาชนแก้วกันต่อกับเจ้าของร้านอาหารกลางคืนจากทั่วประเทศใน Nightlife Networking Party
LIVE BAND & DJ Showcase
พื้นที่ดนตรีสด เปิดโอกาสให้นักดนตรีและ DJ มาแสดงสดในงาน เพื่อพบเจอเจ้าของร้านอาหารที่ต้องการหาวงดนตรีหรือ DJ ไปแสดงที่ร้าน
งาน DAMN EXPO 2025
📅วันที่ 19 – 20 มีนาคม 2568
⏰11.00 น. – 23.00 น.
🏢 MCC HALL ชั้น 3 THE MALL LIFESTORE BANGKAPI
🔥งานนี้เข้าฟรีตลอดทั้งวัน ตั้งแต่เที่ยงวันยันเที่ยงคืน 🔥
ลงทะเบียนได้เลยที่ 👉 https://bit.ly/DamnExpo2025
มาร่วมสร้าง Community และพลิกโฉมวงการ ‘ธุรกิจร้านอาหารกลางคืน’ ไปด้วยกัน
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อ
- DAMN EXPO 2025 ชง ‘อนาคตใหม่’ ให้ ‘ธุรกิจกลางคืนไทย’ งานเอ็กซ์โปครั้งใหญ่ที่จัดมาเพื่อคนทำร้านอาหารกลางคืนโดยเฉพาะ
- Call Me Papa จากคนต้มเบียร์อยู่หลังบ้าน สู่การส่งออกไกลไปถึงยุโรป
- ที่นี่ Basil กะเพราป่า ร้านกะเพราลูกครึ่งบาร์ ที่เกิดจาก ‘โอกาส’ ในวันที่บาร์เจอวิกฤติ
- ลาบเสียบ อิซากายะสไตล์อีสานแซ่บ ๆ กับการปลุกปั้นร้านให้เป็นคอมมูนิตี้ของมิตรรักนักดื่ม
- รสิก : สนับสนุนวัตถุดิบจากท้องถิ่นทั่วไทย เสิร์ฟเมนูไทยทวิสต์ และเชื่อว่าการรักษามาตรฐานคือหัวใจสำคัญของร้านอาหาร