สืบทอดกิจการร้าน

ในเรื่องของการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะธุรกิจร้านอาหาร หรือธุรกิจใดก็ตามหลัก ๆ ก็มักจะมีอยู่ 2 ประเภทก็คือ การเปิดธุรกิจใหม่ กับการรับช่วงต่อหรือสืบทอดธุรกิจจากครอบครัว ซึ่งทั้ง 2 ประเภทก็มีความยาก ง่าย และปัญหาในการบริหารจัดการที่แตกต่างกันไป วันนี้เราขอพูดถึงในประเภทของการรับช่วงต่อกิจการจากครอบครัว หรือ สืบทอดกิจการร้าน ว่าส่วนใหญ่นั้นมักเจอปัญหาอะไร แล้วมีวิธีหรือเคล็ดลับอย่างไร ในการรักษาสืบทอดธุรกิจครอบครัวไว้ได้ และประสบความสำเร็จ

คาถารักษาธุรกิจครอบครัว
สืบทอดกิจการร้าน อย่างไรให้สำเร็จ

ปัญหาหลัก ๆ ของการสืบทอดกิจการครอบครัว หรือรับช่วงต่อธุรกิจครอบครัว มีอะไรบ้าง
.
1. ขาดการวางแผนเรื่องการส่งต่อไม้ต่อ
บางครอบครัวไม่มีการวางแผนในแง่ที่ว่า คิดกันเองว่าหน้าที่การสืบทอดกิจการนั้นจะต้องเป็นของจะต้องตกเป็นของคนใด คนหนึ่ง ซึ่งง่าย ๆ ก็คืออาจจะคิดว่าต้องเป็นลูกคนโตเท่านั้น ในกรณีที่มีทายาทหลายคน หรือรอให้ไปตกลงกันเอง แต่ในความเป็นจริงแนะนำว่า ทุกคนในครอบครัวควรรับรู้และมีส่วนร่วมในเรื่องการสืบทอด และมีการความเตรียมพร้อมของทายาทตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งก็อาจจะใช้เวลานานเป็นปี หรือหลายปีก็แล้วแต่ ก็ยังดีกว่าที่จะแค่เลือกจากความเห็นคนผู้บริหารรุ่นปัจจุบันเท่านั้น โดยทายาทไม่รับรู้หรือเตรียมพร้อมอะไรเลย

2. ความขัดแย้งภายในครอบครัว / การบริหารทรัพย์สินไม่เป็นระบบเท่าที่ควร
ปัญหาคลาสสิกที่หลายธุรกิจของครอบครัวต้องเจอ คือเรื่องของทรัพย์สิน เพราะฉะนั้นควรสร้างความชัดเจนในการบริหารทรัพย์สินส่วนกลาง สร้างข้อตกลงร่วมกัน สื่อสารให้ชัดเจนเรื่องการจัดสรรผลประโยชน์ นโยบายการจ้างงานของสมาชิกครอบครัว แผนการถือครองทรัพย์สิน และกำหนดวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งในอนาคต เรียกว่าควรที่จะมีการจัดทำ ไว้ในธรรมนูญครอบครัวให้เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจนเลยยิ่งดี

3. ขาดความรู้ด้านการบริหารการเงินบริษัท
การที่ไม่มีความรู้ด้านการบริหารการเงินบริษัท เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจครอบครัวนั้นล้มเหลวมามาก ผู้ที่ทำงานให้กับกิจการในครอบครัวควรที่จะต้องมีความรู้ด้านการบริหารการจัดการระบบหลังบ้านด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน บัญชี ภาษี การที่มีความรู้พื้นฐานเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจกระทำการหลาย ๆ อย่างเพื่อธุรกิจและในการบริหารได้เป็นอย่างดี

3. ไม่มีทายาทสืบทอด
ใช่ว่าทุกครอบครอบครัว จะมีผู้สืบทอดเสมอไป บางครั้งทายาทเองก็ไม่ต้องการที่จะสานต่อกิจการครอบครัวหรือรับตำแหน่งสำคัญ ๆ เพราะฉะนั้นการหาคนนอกมาช่วยในการบริหารกิจการไม่ใช่เรื่องแปลก แต่คนในครอบครังผู้เป็นเจ้าของกิจการก็ควรมีความรู้หรือมีการพิจารณาที่เหมาะสมและมีส่วนร่วมในการสรรหาบุคลากรด้วย มีเกณฑ์การพิจารณาที่เข้มข้นแต่เหมาะสมในการจะรับมาทำงานแบบมืออาชีพ สิ่งเหล่านี้จะช่วยคัดกรองบุคลากรที่จะเข้ามาทำงานให้กับธุรกิจครอบครัวของคุณด้วย

นี่คือปัญหาหลัก ๆ ที่ธุรกิจครอบครัวมักเจอ แต่ความจริงแล้วก็ยังมีปัญหายิบย่อยอีกมากมายที่ผู้บริหารรุ่นปัจจุบัน หรือทายาทที่กำลังถูกส่งต่อนั้น ต้องปิดรอยรั่วของปัญหา และพยายามรักษาธุรกิจครอบครัวไว้ให้ได้ ซึ่งมีโอกาสได้ไปอ่านเจอแนวคิดดี ๆ ที่เรียกว่าเป็น คาถารักษาธุรกิจครอบครัวเลยก็ว่าได้ เขียนโดย คุณปิยะ ซอโสตถิกุล อยากมาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านกัน ทำยังไงถึงจะรับไม้ต่อสืบทอดกิจการได้ราบรื่นและสำเร็จ

1. ไม่ต้องรีบขยายธุรกิจเร็วเกินไป ควรทำเมื่อพร้อมทั้งในแง่ของ การเงิน ซึ่งควรเป็นเงินส่วนที่เหลือไม่กระทบธุรกิจหลัก, การตลาด มีความพร้อมอัปเดตตลาดสม่ำเสมอ รวมถึงผู้บริหาร และทีมงาน บุคลากรในธุรกิจของคุณต้องไม่ขึ้นกับคนใดคนหนึ่ง มีพนักงานที่พร้อมสามารถทำแทนกันได้

2. ธุรกิจนอกความถนัด “อย่าทำ” เพียงเพราะเห็นคนอื่นทำแล้วขายได้กำไรดี เลยอยากทำบ้าง ถ้าจะทำอะไรนอกความถนัด แนะนำว่าคุณควรมีการปรับรูปแบบ หรือวิธีการที่สามารถนำความถนัดใส่เข้าไปเป็นส่วนผสมด้วย

3. อย่าติดกับอดีต ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน บางครั้งจุดแข็งของร้านหรือธุรกิจที่ใช้ในสมัยรุ่นพ่อแม่เราบริหาร อาจจะใช้ไม่ได้ในรุ่นต่อมาก็ได้ เพราะฉะนั้นปรับตัวและศึกษา สำรวจตลาดในปัจจุบัน ว่าธุรกิจของเราสินค้ายังเป็นที่ต้องการอยู่มั้ย รวมถึงเรื่องต้นทุนแรงงานหรือเทคนิคสมัยใหม่ต่าง ๆ ในการทำให้ธุรกิจเติบโตในยุคใหม่ ก็ต้องศึกษาด้วยเช่นกัน

4. อย่าเอาเงินบริษัทไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ผู้สืบทอดหลายรายชอบนำเงินไปใช้ส่วนตัวนอกระบบตามอำเภอใจ จะเหตุผลส่วนตัวอะไรก็แล้วแต่ไม่ควรทำ ถ้าไม่อยากเจ๊งในอนาคต

5. ต้องรักษาสภาพคล่องให้ดี ผู้ที่จะมารับช่วงต่อจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเรียนรู้การบริหารเงินสด วงเงินกู้ ปริมาณเงินเข้า/ออก และอย่ากู้ดอกเบี้ยมากมาจ่ายดอกเบี้ยน้อย

6. ไม่ควรเก็งกำไรสินค้าหรือวัตถุดิบมากจนเกินไป เนื่องจากมีความเสี่ยงในการเอาสภาพคล่องไปตุนสินค้า หากตลาดไม่เป็นตามคาด ร้านคุณอาจขาดทุนย่อยยับ

7. อย่าบริหารธุรกิจโดยพึ่งพาคนเพียงคนเดียว แนะนำว่าครอบครัวต้องวางตัวผู้สืบทอดไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 4-5 ปี รวมถึงอย่าฝากยอดขายกับลูกค้าไม่กี่ราย หรือบางกลุ่มเท่านั้น หากธุรกิจของคุณฝากยอดขายเกินกว่า 50% ไว้กับลูกค้าคนเดียวหรือกลุ่มเดียว เป็ยสัญญาณความเสี่ยงที่สูงมาก

8. รู้ว่าเวลาไหนควรยอมแพ้ ซึ่งการยอมแพ้ให้เป็นคือ คือการเลือกที่จะยอมแพ้ในตอนที่ยังมีโอกาสและมีอะไรเหลือบ้าง ไม่ดันทุรังจนหมดตัวเสียก่อนจนถึงขั้นธุรกิจล้มละลาย และต้องจัดการเงินธุรกิจกับส่วนตัวออกจากกัน ห้ามแตะต้องเงินหรือทรัพย์สินส่วนตัว อย่าถึงขั้นเอาที่อยู่อาศัยไปถมกับธุรกิจ เพราะถ้าธุรกิจคุณล้มจริง ก็ค่อยตั้งตัวทำธุรกิจใหม่ แต่ถ้าคุณเอาทรัพย์สินส่วนตัวไปพัวพันด้วย ธุรกิจเจ๊งเมื่อไหร่คุณก็อาจไร้ที่อยู่ไปด้วย

9. มีสติ ใจแข็งเข้าไว้ อย่าเชื่อคนง่ายๆ ไม่ใช่ว่าใครเข้ามาชวนคุณลงทุน ชวนขยายกิจการร้านก็ไปกับเค้าหมดหน้าตัก โดยไม่ศึกษาเบื้องหลังให้รอบคอบเสียก่อน ควรจะศึกษาทั้งตัวบุคคล ความพร้อมในการทำธุรกิจ หรือประวัติที่ผ่านมาให้ดีก่อน มิเช่นนั้น แทนที่จะได้ขยายกิจการให้เติบโต จะเสียมากกว่าได้

10. ความซื่อสัตย์และคุณธรรม ข้อสุดท้ายเป็นเรื่องที่พูดง่าย แต่จะทำได้หรือไม่ ก็แล้วแต่คน แต่เป็นสิ่งที่ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจอะไร จะเป็นธุรกิจใหม่ของตัวเอง หรือธุรกิจที่สืบทอดให้ครอบครัว หากมีทั้งคุณธรรมและความซื่อสัตย์ สิ่งดี ๆ ก็จะเกิดกับคุณแน่นอน

เคล็ดลับในการรักษาธุรกิจครอบครัว สืบทอดกิจการร้าน ที่มาแชร์กันนี้ อาจจะเป็นแค่ส่วนหนึ่งซึ่งความจริงยังมีอีกหลายวิธีมาก ๆ ที่ช่วยแนะนำสำหรับมือใหม่ที่กำลังรับหน้าที่สือบทอดธุรกิจรุ่นต่อไป แต่อย่างน้อยก็เชื่อว่าเคล็ดลับเหล่านี้ยังสามารถใช้ไปได้อีกนาน เพราะปัญหาโครงสร้างหลัก ๆ ของเรื่องนี้ไม่เคยเปลี่ยนไปนั่นเอง

📌 ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin

อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
รับช่วงต่อกิจการ อย่างไรไม่ให้เจ๊ง!
7 วันก่อนเปิดร้าน แชร์เทคนิค เทรนพนักงานครัว ให้เป๊ะ เป็นงานไว
ร้านอาหารต้องรู้ บาลานซ์เมนู ร้านอาหาร ให้ดี เสิร์ฟได้ไว ไม่ติดขัด
สารพัด กลโกงในร้านอาหาร ปัญหายอดฮิตที่เจ้าของร้านอาจต้องเจอ
น้ำเต้าหู้ปูปลา ร้านน้ำเต้าหู้แนวใหม่ ส่งมอบความสุขในความทรงจำแบบครบเครื่อง
Yield คืออะไร สำคัญแค่ไหน เรื่องต้องรู้ก่อนตั้งราคาอาหาร
กฎหมาย PDPA ร้านอาหาร ที่ผู้ประกอบการต้องรู้
เคล็ดลับ นับสต๊อกร้านอาหาร และจัดการวัตถุดิบ ทำเป็นเห็นกำไร
สร้างเมนูใหม่กำไรเข้าร้าน ด้วยไอเดีย จัดการ Food Waste สไตล์ตะวันตก
รวมสารพัดวิธีแก้ ปัญหาลูกค้าแน่นร้าน จัดการดีไม่มีสะดุด
เทคนิคเก็บ เซอร์วิสชาร์จร้านอาหาร ทำอย่างไรให้ลูกค้าพอใจที่ต้องจ่าย
ข้อดีและข้อเสียของการทำ เมนู QR CODE หรือ เมนูอาหารออนไลน์