วิธีทำหัวเชื้อน้ำซุป

วิธีทำหัวเชื้อน้ำซุป Low sodium หอมหวานไร้น้ำตาล ผสมน้ำได้ถึง 3 เท่า ประหยัดต้นทุน เก็บได้นาน จัดการง่าย

น้ำซุปเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่หลายๆร้านใช้ในการทำอาหาร  แต่การต้มน้ำซุปสำหรับใช้อาจจะเป็นเรื่องที่สิ้นเปลืองเวลา  และการต้มน้ำซุปเก็บไว้เพื่อใช้คราวละมากๆก็เป็นการสิ้นเปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บด้วยเช่นกัน

หลายร้านจึงเลือกที่จะใช้ซุปก้อน  ผงปรุงรสน้ำซุป และหัวเชื้อน้ำซุปสำเร็จรูป ที่มีขายตามท้องตลาด มาทดแทน เพื่อความสะดวกและประหยัดเวลา แต่ก็แลกมาด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และยังอาจมีสารปรุงแต่งกลิ่นรสซึ่งไม่ได้มาจากธรรมชาติโดยตรงปะปนมาแบบที่เราไม่รู้ตัว

วันนี้เรามาแชร์สูตรหัวเชื้อน้ำซุป ที่ทำได้ง่ายๆ แถมดีต่อสุขภาพ ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลและมีโซเดียมน้อย ใช้ผักเพียงไม่กี่อย่างนำมาต้มรวมกันกับกระดูกคาตั๊ง หรือจะเปลี่ยนเป็นโครงไก่ก็ได้ เพิ่มกลิ่นหอมด้วยกระเทียม พริกไทย และรากผักชี ปรุงรสด้วยเกลือเล็กน้อย เคี่ยวจนได้ที่ ทำให้ได้หัวเชื้อน้ำซุปที่หอมหวาน

สามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลายเมนู   แถมยังประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บเพราะสามารถนำหัวเชื้อน้ำซุปมาผสมน้ำได้ถึง 3 เท่าเลยทีเดียว

 

ส่วนประกอบมีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ

  • กระดูกคาตั๊ง 1 กิโลกรัม
  • กะหล่ำปลี 1 กิโลกรัม
  • หัวไชเท้า 1 กิโลกรัม
  • ข้าวโพดหวาน 500 กรัม
  • หัวหอมใหญ่ 500 กรัม
  • กระเทียมจีน 20 กรัม
  • พริกไทยดำบุบ 5 กรัม
  • รากผักชี 20 กรัม
  • เกลือป่น 5 กรัม
  • น้ำเปล่า 10 ลิตร

 

ขั้นตอนการทำ

  • ล้างทำความสะอาดกระดูกคาตั๊งและผักทั้งหมดให้สะอาด พักให้สะเด็ดน้ำ
  • ผ่ากะหล่ำปลีออกเป็น 4 ส่วน หั่นข้าวโพดเหลืองเป็นท่อนกว่างประมาณ 1.5 – 2 นิ้ว
  • ปอกเปลือกหัวไชเท้าหั่นเป็นแว่นหนา 1 นิ้ว พักไว้ จากนั้นผ่าครึ่งหัวหอมใหญ่เตรียมไว้
  • บุบรากผักชี กระเทียม พอให้แตกพักไว้
  • ต้มกระดูกคาตั๊งในน้ำเดือดประมาณ 10 นาที เพื่อเป็นการล้างเลือกและสิ่งสกปรกออก ตักขึ้นพักให้อุ่น
  • ทุบกระดูกให้พอแตก ใส่ลงในหม้อเติมน้ำเปล่า (10 ลิตร) ตามด้วยผักทั้งหมด
  • ต้มด้วยไฟแรงจนน้ำเริ่มเดือด ลดไฟอ่อนลง เคี่ยวนาน 3 ชั่วโมง ระหว่างเคี่ยวในช่วงแรกให้หมั่นช้อนฟองที่ลอยหน้าออกเพื่อให้น้ำสต๊อกใส
  • กรองน้ำสต๊อกผ่านกระชอนตาถี่ เพื่อแยกเอาส่วนที่ไม่ใช้ออก พักให้เย็นสนิทก่อนเก็บใส่ถุงหรือภาชนะตามความสะดวก

 

ข้าวโพดหวานที่ใส่ลงต้มในน้ำซุปจะทำให้เกิดรสหวานหอมตามธรรมชาติ  หรือในกรณีที่ร้านของเรามีเมนูที่ต้องใช้ข้าวโพดอยู่แล้ว ก็สามารถใช้เฉพาะซังข้าวโพดหวาน ซึ่งเป็นของเหลือใช้มาต้มก็ได้  ยิ่งเราใช้ระยะเวลาในการเคี่ยวนาน  ยิ่งสกัดกลิ่น รส ความหอมหวานของวัตถุดิบออกมาได้มากยิ่งขึ้น  และที่สำคัญระหว่างต้มไม่จำเป็นต้องคน เพราะจะทำให้หัวเชื้อน้ำซุปขุ่น

 

หลังจากที่เรากรองหัวเชื้อน้ำซุปเรียบร้อยแล้วพักให้เย็นสนิทก่อนบรรจุใส่ถุงแยกเป็น Portion size  เพื่อให้สะดวกในการหยิบมาใช้ในแต่ละครั้ง   แล้วแช่ในช่องแช่แข็ง  ซึ่งวิธีนี้จะสามารถเก็บหัวเชื้อน้ำซุปไว้ได้นานถึง 2 เดือน  โดยก่อนน้ำมาใช้ให้นำมาเจือจางในอัตราส่วนระหว่าง  หัวเชื้อน้ำซุป:น้ำเปล่า เท่ากับ 1:3  เพียงเท่านี้ก็จะได้น้ำซุปพร้อมนำมาประกอบเมนูอาหารต่างๆในร้านแล้วค่ะ

 

และนี่ก็คือ วิธีทำหัวเชื้อน้ำซุป สำหรับร้านอาหารค่ะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการทุกคนนะคะ

 

📌 ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร

Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : @torpenguin
YouTube: Torpenguin

👉🏻 อ่านจบแล้ว อ่านอะไรต่อดี?

ซอสผัดฉ่า วิธีทำสำหรับคนทำร้านอาหาร เข้มข้นถึงเครื่อง คุมต้นทุนง่าย เก็บได้นาน
เคล็ดลับการทำแกงเขียวหวาน พร้อมเทคนิคเตรียมน้ำแกงกึ่งสำเร็จรูป
วิธีทำหอมเจียว กระเทียมเจียว ให้สีสวย กรอบนาน เก็บได้ยาวเป็นเดือน
เคล็ดลับการหุงข้าว แบบไม่ต้องแยกหม้อ สำหรับร้านอาหาร
วิธีเก็บอาหารทะเล ให้สดนานกว่า 15 วัน ต้นทุนไม่บานปลาย
แจกทริค วิธีเลือกอาหารแช่แข็ง และเก็บรักษาอย่างไรให้สดใหม่คงคุณภาพใช้ได้นาน
สูตรซอสผัดอเนกประสงค์ ใช้ได้ครอบจักรวาล พร้อมวิธีการคำนวณต้นทุน
วิธีทำของทอด ให้กรอบทน กรอบนาน อร่อย ทำง่าย ลดต้นทุน
ต้นทุนวัตถุดิบสูง ปัญหาใหญ่เจ้าของร้านอาหาร หาทางออกอย่างไร ให้ลูกค้าไม่หนี
ไขคำตอบ เมนูเยอะ ดีจริงหรือไม่? เพราะอะไรจึงทำให้เสี่ยงขาดทุน