ยามาซากิ ร้านขนมปังที่โฆษณาไม่ค่อยมี แต่ยังขายดีอยู่ตลอด 39 ปี
ยามาซากิ เข้ามาทำตลาดในไทย ตั้งแต่ปี 1984 หรือเมื่อ 39 ปีที่แล้ว ถือว่าเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่แข็งแกร่งเลยทีเดียว เพราะถึงแม้ว่าการทำโฆษณาจะน้อยมาก แต่ก็ยังมีเมนูที่เป็นกระแสอยู่บนโลกโซเชียล ทำให้ขายดิบขายดีอยู่ตลอด เพราะอะไรวันนี้ลองตามมาดูกันครับ
#ทำความรู้จักยามาซากิ
ร้านเบเกอรีสัญชาติญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง มีจุดเริ่มต้นเมื่อปีค.ศ. 1948 โดยคุณโทจูโร อิอิจิม่า เห็นว่าขนมปังสไตล์ตะวันตกกำลังได้รับความนิยมจากอิทธิพลของสงครามโลกครั้งที่สอง จึงเปิดร้านขนมปังชื่อ “ยามาซากิ”
ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก จนต้องเริ่มผลิตขนมปังในโรงงานในปี ค.ศ. 1951 ต่อมายามาซากิยังนำเข้าเทคโนโลยีและอุปกรณ์จากสหรัฐอเมริกาและยุโรปเพื่อพัฒนาโรงงาน จนสามารถขยายไลน์สินค้าเป็นเค้ก แซนด์วิช และขนมทานเล่นอื่น ๆ จนทำให้กลายเป็นซัปพลายเออร์ขนมปังรายใหญ่ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารในญี่ปุ่นเลือกใช้บริการ พร้อมกับเริ่มขยายสาขาต่างประเทศด้วยนั่นเอง
#โดดเด่นด้วยรสชาติและคุณภาพ และปรับตัวตามเสียงผู้บริโภค
ถ้าหากต้องพูดถึงรสชาติและคุณภาพ ก็ต้องบอกว่ายามาซากิทำมาได้ดีโดยตลอด โดยเฉพาะราคาที่เข้าถึงได้ง่าย และหนึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้ยามาซากิอยู่ได้โดยไม่ต้องทำโฆษณาเลยคือ “การปรับตัวตามเสียงผู้บริโภค”
ยกตัวอย่างกรณีเมนู “ช็อกโกแลตเมสซี่” ที่กระแสฟีดแบคจากลูกค้าบนโลกโซเชียลก็ต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า กินแล้วมือเลอะจากผงโกโก้ที่โรยหน้า ซึ่งทางร้านเองก็รีบแก้ไขปัญหานี้อย่างทันที โดยการออกสินค้าที่ไม่โรยผงโกโก้ เพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกให้ลูกค้า และในอีกหลายๆ กรณีที่ยามาซากินั้นรับฟังเสียงจากบริโภค แล้วนำมาปรับพัฒนา จึงทำให้ร้านอยู่ยาวมาจนถึงวันนี้แม้จะไม่มีการโฆษณา
#ทางรอดของธุรกิจร้านอาหาร คือ ฟีดแบค
ในยุคที่การแข่งขันในธุรกิจร้านอาหารเข้มข้นมากขึ้นทุกวัน การเอาตัวรอดและประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย :ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ที่มีความสำคัญและไม่ควรมองข้ามคือการรับฟังและนำฟีดแบคจากลูกค้ามาปรับปรุงและพัฒนาร้านอาหารของเราอย่างต่อเนื่อง
แล้วเพราะอะไรทำไมฟีดแบคถึงสำคัญ? ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าฟีดแบค เป็นแหล่งข้อมูลที่มีค่าที่สุดในการทำความเข้าใจความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้า โดยที่เราสามารถรู้ได้ว่าลูกค้าชอบหรือไม่ชอบอะไรในร้านของเรา
ซึ่งก็จะช่วยให้เราสามารถปรับปรุงการบริการของเราให้ตรงตามความคาดหวังของลูกค้ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหาร การบริการ หรือบรรยากาศในร้าน พร้อมกับสร้างความผูกพันกับลูกค้า ด้วยการรับฟังและตอบสนองต่อฟีดแบคทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเสียงของเขามีความหมายและมีส่วนร่วมในการพัฒนาร้าน สร้างความผูกพันระหว่างแบรนด์และลูกค้าได้อย่างน่าประทับใจ
หวังว่าบทความที่นำมาฝากกันในวันนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการทุกท่านนะคะ ฝากติดตาม Torpenguin ในทุก ๆ ช่องทางด้วยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ 😊
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อ
- Recipe Receipt ความสำเร็จในการมัดใจลูกค้าที่มาจากใบเสร็จของมายองเนส Hellmann’s
- ม้ามืดร้านกาแฟจากจีน Cotti Coffee ที่โตเร็วจนกลายเป็นแบรนด์กาแฟที่มีสาขามากเป็นอันดับ 4 ของโลก
- สูตรลับโตพันล้านฉบับ After You 5 สิ่งที่ให้ After You กลายเป็นร้านขนมที่มีนามสกุลมหาชนอย่างทุกวันนี้
- Karun Thai Tea ปั้นแบรนด์ปัง ด้วยงบการตลาดเพียง 7%
- ชนยักษ์ใหญ่ในแบบ Jollibee แบรนด์ไก่ทอดจากฟิลิปปินส์ ที่เอาจุดแข็งและจุดอ่อนของ McDonald’s มาสร้างร้านของตัวเอง
- EGG DROP แบรนด์แซนวิชไข่เกาหลี ที่ผลักดันตัวเองจนเป็น Soft Power
- Butterbear กับการต่อยอดความสำเร็จจาก “Mascot Marketing”