ทำร้านอาหารพร้อมเดลิเวอรี่ จัดการยังไงให้ไม่งง กับ 3 ข้อควรระวัง เมื่อเรามีทั้งหน้าร้านและเดลิเวอรี่
ใช่ว่าการทำเดลิเวอรีของร้านที่มีหน้าร้านจะมีแต่ข้อดีเพียงอย่างเดียว ยังมีข้อควรระวังที่มักพบได้กับร้านอาหารที่ขยายมาทำเดลิเวอรีนั่นก็คือ
1. ความสับสนในการทำงานของพนักงานร้าน
หากร้านเรามีการกำหนดเมนูในการขายหน้าร้านและเดลิเวอรีให้เหมือนกันและโดยปกติลูกค้าก็ยังไม่ได้มากมายอะไรก็คงไม่เป็นปัญหา
แต่หากร้านไหนที่รูปแบบเมนูที่ร้านกับเดลิเวอรี เช่น หน้าตาอาหาร ปริมาณอาหาร หรือภาชนะที่ใส่ไม่เหมือนกันแล้ว มีโอกาสสูงที่พนักงานจะเกิดความสับสน ทำให้อาจทำอาหารออกไปผิดๆ ถูกๆ จากมาตรฐานที่กำหนดไว้
ยิ่งเวลาช่วงเที่ยงหรือเย็นที่มีลูกค้ามากด้วยแล้ว มีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดได้ง่ายๆ
2. ประสบการณ์ที่ไม่ดีของลูกค้าหน้าร้าน
พฤติกรรมของลูกค้าไม่ว่าจะนั่งทานหรือสั่งเดลิเวอรีมาทานก็คงไม่หนีกันมากนัก ทุกคนต้องการความสะดวกสบาย ความเร็ว และบริการที่ดีด้วยกันทั้งสิ้น
โดยปกติออเดอร์ของเดลิเวอรีส่วนใหญ่นั้นจะเป็นช่วง 10 โมงถึงเที่ยงในเวลาที่หน้าร้านเรากำลังยุ่งกับการให้บริการลูกค้าหน้าร้าน ในขณะที่ลูกค้าที่สั่งเดลิเวอรีมาก็ต้องให้อาหารไปถึงโดยเร็วที่สุด
หากจัดการแบบปกติ ร้านอาหารส่วนใหญ่ก็จะใช้วิธีทำออเดอร์แบบ First come first serve คือใครสั่งก่อนก็ทำก่อน
แต่เราลองนึกภาพในร้านเราที่มีลูกค้านั่งไม่เต็มร้านและมีลูกค้าที่กำลังรออาหารออกมาเสิร์ฟ เวลาผ่านไปร่วม 30 นาทีอาหารก็ยังไม่ออกมา แต่กลับมีคนขับทยอยรับออเดอร์เดลิเวอรีออกไปเรื่อยๆ เราคิดว่าลูกค้าในร้านจะรู้สึกอย่างไร
หากเราไม่มีการวางแผนการออกออเดอร์ระหว่างหน้าร้านและเดลิเวอรีให้ดีแล้ว เราอาจได้ลูกค้ากลุ่มใหม่แต่ต้องเสียลูกค้ากลุ่มเดิมไปเลยก็ได้
3. การหาสมดุลยอดขายหน้าร้านและเดลิเวอรี
บางครั้งการทุ่มความสำคัญให้กับยอดขายจากทางเดลิเวอรีจนสัดส่วนของเดลิเวอรีมากกว่าหน้าร้านหรือต่อให้ยอดขายโดยรวมเพิ่มขึ้นจากเดลิเวอรี่ สิ่งที่เราต้องคำนึงให้ดีก็คือ กำไรสุทธิ (Net profit margin) นั้นคงยังได้ตามที่เราต้องการหรือไม่
เพราะยอดขายที่มาจากเดลิเวอรี่นั้นไม่ใช่เป็นของเราทั้งหมด เรายังต้องแบ่งเงินส่วนนึงเป็นค่า GP สำหรับแอปฯที่เป็นตัวกลาง (30-35%) ทำให้บางครั้งต่อให้เรามียอดขายที่มากก็ไม่ได้การันตีว่าเราจะมีกำไรที่มากขึ้นตามไปด้วย ฉะนั้นอย่ามัวสนใจแต่ยอดขายจนละเลยการดูที่บรรทัดสุดท้ายของธุรกิจนั่นก็คือกำไร
แต่หากเราคิดว่าเดลิเวอรีคือหนทางที่จะทำให้ร้านเราอยู่ได้ เพราะยอดขายที่มาจากหน้าร้านนั้นน้อยมากด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ร้านอยู่ในซอยลึกเดินทางลำบาก หรือยังไม่เป็นที่รู้จัก เราควรจะวางโครงสร้างต้นทุนวัตถุดิบ (Cost of goods sold) โดยรวมค่า GP เข้าไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะทำให้เราได้กำไรตามที่เราต้องการอยู่
หวังว่าบทความที่นำมาฝากกันในวันนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังสนใจ ทำร้านอาหารพร้อมเดลิเวอรี่ ทุกท่านนะคะ ฝากติดตาม Torpenguin ในทุก ๆ ช่องทางด้วยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ 😊
Source: หนังสือ Food Delivery 101 – คัมภีร์เริ่มต้นบริการจัดส่งอาหาร
สามารถสั่งซื้อได้เลยที่ 👉 RBA_Official
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อ
- ทำ Cloud Kitchen ต้องรู้อะไรบ้าง?
- เช็กระบบก่อนเปิด-ปิดร้าน แจกเช็กลิสต์ที่ควรทำก่อนเปิด-ปิดร้าน
- Crisis Management แผนบริหารจัดการวิกฤต สิ่งที่ทุกธุรกิจควรมี
- ทำครัวกลาง ดียังไง ระบบครัวที่คนอยากขยายสาขา หรือ ขายแฟรนไชส์ต้องรู้
- จัดการโครงสร้างต้นทุน สัดส่วนเท่าไหนถึงเรียกว่าปลอดภัย ?
- 5 เทคนิคเพิ่มกำไรสำหรับร้านไซส์เล็ก ขนาดของร้านไม่ใช่ปัญหา
- ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ เขาทำอะไรกันบ้างที่ต่างจากเรา?
- ขายดีมาก แต่ก็ยังไม่กำไร เป็นเพราะอะไรกัน?
- เมนูเยอะเกิน แต่ไม่รู้จะตัดอันไหนออก? เราจะรู้ได้ยังไงว่าเมนูไหนควรอยู่ เมนูไหนควรไป
- รับช่วงต่อจากพ่อแม่ เตรียมความพร้อมยังไง ให้ไปต่อได้อย่างมืออาชีพ
- โดนขโมยสูตร สูตรหลุดเพราะคนใกล้ตัว ปัญหาเหล่านี้แก้ยังไง?
- 5 เช็คลิสต์ การจัดการร้าน ที่ช่วยให้ร้านอาหารของเราดีขึ้น