จุดตายธุรกิจร้านอาหาร เรื่อง ‘เงิน’ ที่ทำให้หลายธุรกิจเจ๊งมานักต่อนัก
หลายธุรกิจ โดยเฉพาะร้านอาหาร ต้องพบกับอุปสรรคจากการบริหารการเงินที่ไม่ดี และกลายเป็นจุดตายที่ทำให้ธุรกิจล้มเหลวอย่างรวดเร็ว การบริหารจัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่เจ้าของธุรกิจต้องให้ความสำคัญ บทความนี้จะพาคุณไปดู ปัญหาทางการเงินร้านอาหาร ที่หลายคนปล่อยไว้จนลืม เช็กเลยก่อนที่มันจะทำให้ธุรกิจเราเจ๊งโดยไม่รู้ตัว
#ไม่แยกเงินที่ทำธุรกิจออกจากเงินส่วนตัว
คิดว่ากำไร หรือรายได้ของธุรกิจ เป็นเงินของตัวเอง พอจะใช้จ่ายอะไรส่วนตัวก็หยิบเงินจากในเก๊ะออกมาใช้ หรือบางครั้งต้องไปซื้อของอะไรเข้าร้านแทนที่จะใช้เงินของร้านกลับควักเงินของตัวเองไปซื้อแล้วก็ไม่ได้ทำการเบิกเงินร้านกลับมา
เหล่านี้ทำให้สุดท้ายเราจะไม่รู้ว่า ตกลงแล้วร้านเรามีกำไรหรือขาดทุนต่อเดือนเท่าไหร่กันแน่
สิ่งที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ก็คือการแยกเงินของร้านกับเงินส่วนตัวออกจากกัน แบบต้องชัดเจนไปเลยนะครับ โดยการกำหนดเงินเดือนให้กับตัวเราเองและทำการจ่ายสิ้นเดือนเหมือนกับพนักงานทั่วไป
และเรามีหน้าที่บริหารค่าใช้จ่ายของเราไม่ให้เกินเงินเดือนที่เราตั้งใจ เท่านี้ก็จะทำให้ไม่ต้องมานั่งปวดหัวเรื่องเงินร้านหรือเงินเราอีกต่อไป
#ไม่เข้าใจระบบภาษี
ไม่ว่าเราจะเกลียดตัวเลขขนาดไหนก็ตาม นี่เป็นยาขมที่เราต้องดื่มค่ะ ใครที่กำลังคิดจะเปิดร้านอาหารหาความรู้เรื่องเหล่านี้ไว้คร่าว ๆ เลย
ไม่ว่าจะเป็น การจดแบบบุคคลธรรมดา/นิติบุคคล อัตราภาษีแตกต่างกันยังไง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษี ณ ที่จ่าย ภาษีป้าย ภาษีที่ดิน ภาษีศุลกากร ฯลฯ เพราะบอกเลยว่าเวลาโดนย้อนหลังมันน่ากลัวกว่ามาก ๆ และเจ็บโคตร ๆ
#ลืมคิดต้นทุนแฝง
ต้นทุนแฝงไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนการเดินทางในการซื้อของเข้าร้าน การจ้างและเทรนด์พนักงาน การซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในร้าน การจ่ายค่าปรับและธรรมเนียมต่าง ๆ เรียกได้ว่าเป็นภัยเงียบที่แอบทำลายร้านอาหารอยู่เสมอเมื่อคุณพลาด พอรู้ตัวอีกทีก็อาจจะขาดทุนจนไม่สามารถแก้ไขอะไรได้แล้ว
ซึ่งต้นทุนแฝงสามารถเกิดขึ้นได้ตลอด ดังนั้นการคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ภายในร้าน เจ้าของร้านต้องหมั่นเช็กให้ละเอียดทุกซอกทุกมุม ไม่งั้นอาจจะทำให้ร้านเราเจ๊งได้โดยที่เราไม่รู้ตัว
#ไม่ได้ทำบัญชี
ไม่เก็บหลักฐาน ไม่ทำบัญชี ทำให้ไม่รู้รายรับ รายจ่าย และกำไรอย่างชัดเจน หรือจดทุกอย่างตามอารมณ์สุด ๆ รายรับรายจ่าย ค่าวัตถุดิบ วันนี้อาจจะยังไม่เดือดร้อนแต่เดี๋ยวจะมารู้สึกตอนต้องมานั่งทำย้อนหลัง นั้นแหละเหนื่อยและกินพลังมาก ๆ
ลองถามตัวเองว่ามีรายได้กี่ประเภท? เข้าทางไหนบ้าง? จากหน้าร้าน จากเดลิเวอรี และเพื่อให้ครบถ้วนขึ้นไปอีก ให้ดูว่าเรามีเอกสารเป็นหลักฐานครบรึยังในทุก ๆ กระบวนการ อย่างเช่น ใบเสร็จ บิลต่าง ๆ เป็นต้น ทุกวันนี้เรามีรายจ่ายอะไรบ้าง หาเอกสารหลักฐานมาบันทึกให้ครบไม่ว่าจะจ่ายแบบไหนก็ตาม ทั้งเงินโอนและเงินสด
เก็บทุกอย่างให้เป็นระเบียบ แยกตามเดือน ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้ทั้งเราหยิบจับเอาไปใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้นนั่นเอง
คนทำร้านอาหาร กับตัวเลข เรียกว่าเป็นไม้เบื่อไม้เมาตลอดไป เกลียดตัวเลขแค่ไหนเราก็ไม่มีทางหนีการจัดการบัญชีและภาษีพ้น ตราบใดที่เรายังทำธุรกิจอยู่ การให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหาจัดการเป็นเรื่องที่ ‘จำเป็น’ ต้องทำ
อย่ามองเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะไอเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เนี่ยแหละ ทำให้หลายร้านเจ๊งแบบไม่รู้ตัวมาแล้วนะคะ
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
- ทำร้านแบบไหนจ่ายภาษีน้อยกว่า กัน ? นิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา
- กำไรเยอะ ก็เจ๊งได้ นะ 5 ทริคง่าย ๆ ในบริหารกระแสเงินสดให้คล่องสำหรับเจ้าของร้านอาหาร
- เริ่มทำบัญชีร้านอาหาร ต้องทำยังไง พื้นฐาน 4 ข้อที่ควรทำให้ได้
- มัดรวม ปัญหาการเงิน ที่ร้านอาหารเจอแล้วเสี่ยงเจ๊ง รู้แล้ว รีบแก้ด่วน
- สูตรวิเคราะห์ จุดคุ้มทุน สำหรับร้านอาหาร รู้ไว้ ไม่มีขาดทุน
- วิธีเช็ก สภาพคล่องของกิจการร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้
- วิธีบริหารต้นทุน (Cost Control) สำหรับร้านอาหาร แบบเข้าใจง่าย
- วิธีพยากรณ์ยอดขาย (Sales Forecast) อย่างแม่นยำ สำหรับร้านอาหาร
- มัดรวมเรื่อง ภาษีร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้
- วิธีง่ายๆ ใน การทำงบกำไรขาดทุน (P&L) สำหรับร้านอาหาร
- ทำร้านอาหารให้เงินเดือนตัวเองเท่าไหร่ดี? วิธีคิด เงินเดือนเจ้าของกิจการ
- ‘ภาษีป้าย’ อีกหนึ่งเรื่องเล็กๆ ที่เจ้าของร้านส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าต้องจ่ายด้วย