จิตวิทยา IKEA ที่ใช้กระตุ้นลูกค้าให้อยากซื้อเพราะคิดว่าถูก
สำหรับใครที่อยากศึกษาเรื่องของการทำการตลาด แบรนด์ IKEA นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีมากครับในการศึกษาเรื่องของการทำการตลาดโดยใช้หลักจิตวิทยาต่าง ๆ ในการเล่นกับกลุ่มเป้าหมายแบบแนบเนียน จนแทบจับโป๊ะไม่ได้เลยด้วยซ้ำ
การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าด้วยหลักจิตวิทยาเหล่านี้เอง ทำให้ IKEA นั้นสามารถขยายกิจการไปได้กว่า 433 สาขาใน 52 ประเทศทั่วโลก และกลายเป็นเจ้าตลาดเฟอนิเจอร์โลก
มาเข้าเรื่องกัน หนึ่งในหลักจิตวิทยาที่มีส่วนช่วยสร้าง IKEA ให้กลายเป็นแบรนด์ระดับโลก ก็คือ ‘Bulla Bulla’ นั่นเอง มันคือการสร้างความรู้สึกเชิงบวกต่อสินค้าจำนวนมาก ๆ อันนี้คือจะตรงกันข้ามกับ Scarcity Effect เลยครับ ที่เล่นกับความมีน้อย หายาก Limited Edition อันนี้ยิ่งเยอะ ยิ่งกองรวมกันยิ่งทำให้รู้สึกอยากซื้อ
อย่างการที่เราเห็นกองสินค้าใน IKEA เช่น กองเทียนหอม กองตุ๊กตา แล้วรู้สึกต้องหยิบติดไม้ติดมือกลับบ้านทั้งๆ ที่ไม่ได้คิดจะซื้อตั้งแต่แรก เพราะราคาไม่แพง ยิ่งพออยู่ท่ามกลางพวกเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ที่ราคาแพงกว่ามากยิ่งทำให้ของพวกนั้นน่าดึงดูดเข้าไปอีก
กองสินค้าเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้มีหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้คนหยิบและทำให้คนเริ่มจ่ายเงินจากของที่ถูกก่อน เมื่อมีของอยู่ในตะกร้าซักอย่างนึงแล้วเนี่ย ก็ย่อมที่จะอยากช็อปอย่างอื่นต่อ เพราะไหนๆ ก็มาถึงที่แล้ว
จะว่าไปแล้วมันก็หลักการเดียวกับการขายของเป็นกองๆ ตามร้านเสื้อผ้า ร้านหนังสืออ่ะครับ การเอาสินค้ามากองๆ รวมกันช่วยกระตุ้นความสนใจของคนได้ดี เพราะเป็นภาพจำของการลดราคา ทำให้เรารู้สึกว่าเป็นของถูก มากกว่าสินค้าที่ตั้งอยู่โดดๆ ตัวเดียวนั่นทำให้ดูมีราคาแพง ทั้งที่ความจริงแล้ว มันก็ไม่ได้ถูกไปมากกว่ากันเท่าไหร่
เราสามารถนำหลักการนี้มาปรับใช้กับธุรกิจเราได้เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องทำให้สินค้าดูหายากเสมอไป เพราะแบบนี้ก็ช่วยกระตุ้นให้คนอยากซื้อเพิ่มขึ้นเหมือนกัน
แต่ทริคที่ขาดไม่ได้เลยในการใช้ก็คือ ต้องคอยสับเปลี่ยนของใหม่ๆ อยู่เสมอ เพราะถ้าลูกค้ากลับมาทีไรก็เจอแต่สินค้าเดิมๆ ก็จะหมดความสนใจทันที
และนั่นก็เป็นเหตุผลว่าทำไม IKEA ถึงไม่ได้มีแค่ตุ๊กตาฉลาม แต่ยังมีหมาโกลเด้นฯ หมี หมู และตุ๊กตาแบบอื่นๆ ที่แวะเวียนมาให้เราเห็นแบบไม่ซ้ำหน้ากันเลย
และนี่ก็คือ จิตวิทยา IKEA ที่เราสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจไได้ค่ะ หวังว่าบทความที่นำมาฝากกันในวันนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการทุกท่านนะคะ ฝากติดตาม Torpenguin ในทุก ๆ ช่องทางด้วยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ 😊
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อ
- Loss Leader Strategy ‘ยอมเสียเพื่อให้ได้มากกว่าเดิม’ กลยุทธ์ราคาที่ทุนจีนมักใช้เมื่อเข้ามาตีตลาด
- จิตวิทยา Starbucks ทำไมถึงเลือกใช้โต๊ะทรงกลมในร้าน?
- ธุรกิจร้านอาหารปี 2025 ภาพรวมจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมขนาดไหน?
- Paradox of Choice เมื่อการมีตัวเลือกมากเกินไป อาจทำให้ลูกค้าไม่เลือกอะไรเลย
- ทำร้านอาหารให้น่าเชื่อถือ ด้วยการหลัก Social Proof
- ‘Hunt The Treasure’ กลยุทธ์แบบการเล่นเกม ที่ช่วยให้ลูกค้าสนุกและอยู่กับแบรนด์นานยิ่งขึ้น