ขายดีมาก แต่ก็ยังไม่กำไร…
ขายดีมาทั้งเดือน แต่สิ้นเดือนมาได้เท่าทุน…
ไปดูในส่วนวัตถุดิบก็ไม่มี Waste…
ถ้าร้านของเราเผชิญกับเรื่องเหล่านี้ ต้นเหตุอาจเกิดจาก 3 อย่างนี้
.
#การตลาดเข้าเนื้อ
.
แม้จะมีการตลาดที่ยอมขนาดทุน แต่การตลาดเหล่านั้นยอมขาดทุนเพื่อให้กิจการอยู่ได้ระยะยาว ถ้าเรายอมขาดทุนแต่กิจการเราใกล้เจ๊ง ดังนั้นก่อนจัดโปรโมชั่น อย่าลืมคำนวณให้ร้านไม่ขาดทุนนะครับ
.
#ตั้งราคาผิดตั้งแต่เริ่ม
.
การตั้งราคาเป็นเรื่องสำคัญ มีหลายร้านที่ขาดทุนเพาะตั้งราคาผิดตั้งแต่เริ่ม โดยปัจจัยสำคัญที่เราใช้ในการตั้งราคานั้นประกอบไปด้วย
.
1. ทำเลที่ตั้ง : ถ้าค่าเช่าที่เราแพงกว่าร้านใกล้เคียง แล้วเราตั้งราคาเท่าร้านเขา ยังไงเราก็ขาดทุน
.
2. สภาพการแข่งขัน : นอกจากการตั้งราคา ยังมีอีกหลายวิธีที่ทำให้เราได้เปรียบคู่แข่ง เช่น
– การเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับสินค้าของเรา
– การสร้างความรู้สึก ‘แตกต่าง’ และ ‘คุ้มค่า’ ให้กับลูกค้า
– การสร้างบรรยากาศ และบริการที่ดีกว่า
.
3. คุณภาพวัตถุดิบ : ถ้าเราใช้วัตถุดิบอย่างดี ราคาแพง ยังไงเราก็ขายถูกไม่ได้ครับ เราอาจจะอยู่ได้ในช่วงแรก แต่เมื่อไหร่ที่เราเริ่มขาดทุนจนพยุงไม่ไหว ตอนนั้นแหละครับที่เราจะเหนื่อยมาก ๆ
.
4. ต้นทุนวัตถุดิบต่อจาน : การที่เราจะรู้ต้นทุนวัตถุดิบต่อจานได้ ร้านของเราจำเป็นต้องมีมาตราฐานสูตรอาหาร (SOP) เพื่อนำไปหาปริมาณวัตถุดิบ ปริมาณส่วนผสม และราคาต้นทุนต่อจานว่าเป็นจำนวนกี่บาท สิ่งสำคัญที่จะลืมไม่ได้คือราคาวัตถุดิบต่อจานต้องผ่านการหาต้นทุนวัตถุดิบก่อนและหลังตัดแต่ง (Yield) มาก่อนด้วย
.
เมื่อได้ต้นทุนต่อจานมาแล้ว จึงนำมาคำนวณในสูตรต่อไปนี้
ราคาขาย = ต้นทุนอาหารต่อจาน / ต้นทุนที่ต้องการ (หน่วยเป็นเปอร์เซ็น)
.
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้นทุนต่อจานของผัดไทยอยู่ที่ 50 บาท แล้วเราอยากให้สัดส่วนต้นทุนที่ต้องการอยู่ที่ 35% ต่อจาน จะสามารถคำนวณออกมาได้ดังนี้
.
ราคาขาย = 50 / 35% = 142.85 บาท ซึ่งร้านโดยมากมักจะปัดขึ้นเป็น 145 – 150 บาท
.
แต่หากเราไม่มีความชำนาญด้านการตั้งราคาจริง ๆ การหาคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการตั้งราคาเข้ามาจัดการ ก็สามารถช่วยเราได้เยอะเลยครับ
.
#เงินหายเพราะโดนขโมย
.
สำหรับปัญหานี้ แก้ได้ด้วยการวางระบบ ติดกล้องวงจรปิด และการนำระบบ POS เข้ามาใช้ในร้านครับ
.
ระบบ POS จะทำให้เราตรวจสอบยอดขายในแต่ละวันได้ รู้ที่มาที่ไปของเงิน และในบางระบบยังเชื่อมกับการจัดการสต๊อกหลังบ้านได้อีกด้วย
.
แต่อุปกรณ์เหล่านี้ช่วยเราได้แค่ใช้ในการตรวจสอบ ไม่ได้ช่วยจับ ตัวเราเองนี้แหละครับ ที่ต้องวางระบบ และสร้างการตรวจสอบขึ้นมา
.
หวังว่าทั้งหมดนี้จะช่วยแก้ปัญหา ขายดีมาก แต่ก็ยังไม่กำไร ได้นะครับ
.
.
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ลดรายจ่ายร้านอาหาร แจกเทคนิคเพิ่มกำไรให้มากยิ่งขึ้น
Yield คืออะไร สำคัญแค่ไหน เรื่องต้องรู้ก่อนตั้งราคาอาหาร
วิธีง่ายๆ ใน การทำงบกำไรขาดทุน (P&L) สำหรับร้านอาหาร
วิธีพยากรณ์ยอดขาย (Sales Forecast) อย่างแม่นยำ สำหรับร้านอาหาร
ทำความรู้จัก QSC ร้านอาหาร ระบบประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารควรมี
เคล็ดลับ นับสต๊อกร้านอาหาร และจัดการวัตถุดิบ ทำเป็นเห็นกำไร
ต้นทุนวัตถุดิบสูง ปัญหาใหญ่เจ้าของร้านอาหาร หาทางออกอย่างไร ให้ลูกค้าไม่หนี