กฎหมาย PDPA ร้านอาหาร

เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งกฎหมายที่หลายฝ่ายเริ่มหันมาให้ความสนใจและให้ความสำคัญมากขึ้นนั่นก็คือ กฎหมาย 𝗣𝗗𝗣𝗔 นั่นเอง ซึ่งเรื่องนี้ใครคิดว่าไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารและมองข้าม บอกเลยว่าคิดผิดมาก ๆ เพราะกฎหมาย 𝗣𝗗𝗣𝗔 นั้นก็มีความเกี่ยวข้องกับร้านอาหารที่ผู้ประกอบต้องรู้เช่นกัน เพราะฉะนั้นเจ้าของร้านควรจะรู้ว่า กฎหมาย PDPA ร้านอาหาร มีอะไรบ้าง

กฎหมาย PDPA ร้านอาหาร

กฎหมาย 𝗣𝗗𝗣𝗔 (𝗣𝗲𝗿𝘀𝗼𝗻𝗮𝗹 𝗗𝗮𝘁𝗮 𝗣𝗿𝗼𝘁𝗲𝗰𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗔𝗰𝘁) เป็น พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อห้ามใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอม ซึ่งกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ทั้งส่วนบุคคลและธุรกิจทุกภาคส่วน รวมถึงร้านอาหารด้วยเช่นกัน

> ประเภทและความหมายของข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อมูลส่วนบุคคลคือ ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลนั้น ๆ โดยในทางกฏหมาย PDPA แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่

1. ข้อมูลส่วนบุคคลพื้นฐาน เป็นข้อมูลที่สามารถระบุ หรือบอกได้ว่าใครคือเจ้าของ เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทร เลขบัตรประชาชน บัญชีธนาคาร หรือทะเบียนรถ เป็นต้น

2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน เป็นข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ศาสนา รสนิยมทางเพศ หรือความคิดเห็นทางการเมือง เป็นต้น

กฎหมาย PDPA ร้านอาหาร มีอะไรบ้าง

>> การติดกล้อง CCTV หรือกล้องวงจรปิดภายในร้านอาหาร
ที่ผ่านมาการติดกล้องวงจรปิด สำหรับร้านอาหารแทบจะเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นอีกหนึ่งการรักษาความปลอดภัยให้กับร้าน ซึ่งในส่วนของบุคคลหรือลูกค้าที่โดนถ่าย ถือว่าเป็นการถ่ายภาพบุคคลที่อยู่ในข้อมูลส่วนบุคคลคุ้มครอง PDPA ดังนั้นหลังจากที่กฎหมาย PDPA มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ร้านอาหารจึงจำเป็นต้องมีการขออนุญาตบุคคลที่จะเข้าร้านก่อน โดยสามารถขอความยินยอมได้อัตโนมัติจากการติดประกาศให้ทราบชัดเจน หรือติดสติกเกอร์ให้ลูกค้าทราบก่อนเข้าร้านทุกครั้ง

>> ระบบสมาชิกร้านอาหาร
อีกหนึ่งเทคนิคการส่งเสริมการขายของร้านอาหารก็คือ การทำระบบสมาชิก ซึ่งจุดนี้จะต้องใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือ อีเมล เช่นเดียวกันตั้งแต่กฎหมาย PDPA เริ่มบังคับใช้ ร้านจะต้องมีการขอความยินยอมจากลูกค้า เพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคล โดยต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการขอข้อมูลว่าจะนำข้อมูลไปทำอะไร ซึ่งในอนาคตลูกค้าที่จะสมัครสมาชิกกับร้านนั้น ๆ จะมีสิทธิในการขอลบข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองได้

>> การตลาดเพื่อโปรโมทร้าน
คนทำธุรกิจร้านอาหาร การทำสื่อสารทางการตลาดเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นการที่ร้านจะโปรโมทภาพหรือคลิปวิดีโอเพื่อประชาสัมพันธ์ร้านอาหาร หรือต้องการอัปเดตกิจกรรมต่าง ๆ ที่ถ่ายติดบุคคล แล้วไม่ได้มีการขอความยินยอม เพื่อให้ไม่ผิดกฎหมาย PDPA ทางร้านสามารถโพสต์ภาพหรือวิดีโอได้ แต่ต้องไม่ให้รู้ถึงตัวบุคคล ทำได้ด้วยการเบลอหน้าบุคคลก่อนก็สามารถที่จะลงได้

ส่วนในกรณีที่ร้านอาหารต้องการส่งโปรโมชันให้กับกลุ่มลูกค้า ร้านอาหารสามารถส่งข้อมูลต่าง ๆ ให้กับลูกค้าที่สมัครเป็นสมาชิกได้ แต่หากเป็นลูกค้าที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ทางร้านจะต้องทำฟอร์มขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าใหม่ยินยอมในการรับโปรโมชัน หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมการขาย โดยลูกค้าสามารถขอให้ทางร้านลบข้อมูลส่วนตัวได้ในอนาคต

>> รับออเดอร์อาหารผ่านช่องทางออนไลน์
การรับออเดอร์อาหารออนไลน์ หรือแชตซื้อขายเป็นธุรกรรมที่ทำได้เช่นเดิม ไม่ต้องมีเอกสารยินยอม เนื่องจากการสนทนาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อลูกค้าเริ่มทักไปหาร้านค้า ซึ่งเป็นการแสดงถึงความต้องการของลูกค้าก่อนเป็นที่เรียบร้อย

อย่างไรก็ตาม กฎหมาย PDPA เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และยังมีรายละเอียดอีกมากมาย ผู้ประกอบการร้านอาหารควรที่จะศึกษาอย่างละเอียดเพิ่มเติม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาชวนปวดหัวได้ในภายหลัง

 

📌 ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin

👉 อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เคล็ดลับ นับสต๊อกร้านอาหาร และจัดการวัตถุดิบ ทำเป็นเห็นกำไร
สร้างเมนูใหม่กำไรเข้าร้าน ด้วยไอเดีย จัดการ Food Waste สไตล์ตะวันตก
ต้นทุนวัตถุดิบสูง ปัญหาใหญ่เจ้าของร้านอาหาร หาทางออกอย่างไร ให้ลูกค้าไม่หนี
มีครบมั้ย? 4 ปัจจัยหลักที่ทำให้คุณ สร้างยอดขาย แบบฉบับเร่งด่วนได้
คิดแบบ Sushiro ร้านซูชิสายพานที่ใช้ทุกอย่างในร้านเก็บข้อมูลลูกค้า ยันทำคอนเทนต์
Lucky’s Hungry ข้าวผัดอเมริกันบนเดลิเวอรี ที่ไม่ได้ใช้แค่ “โชค” เป็นส่วนประกอบ
เช็กเลย! คุณกำลัง ลดต้นทุนร้านอาหาร แบบผิด ๆ อยู่หรือเปล่า?
ถอดบทเรียน พี่เขียวข้าวเหนียวห่อ ทำคอนเทนต์ยังไงให้ปังบน TikTok