เชื่อว่า เจ้าของธุรกิจ หลาย ๆ คน เมื่อดำเนินธุรกิจมาจนถึงขีดจำกัดในธุรกิจของตัวเองสำหรับ  คนที่พอใจกับสถานะของตัวเองก็คงไม่ใช่ปัญหา แต่คนที่ต้องการความท้าทายมากขึ้น มีความต้องการอยากให้ธุรกิจของตัวเองเติบโตมากกว่าเดิม การระดมทุนจากนักลงทุนต่าง ๆ ก็เป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยให้เราขยายธุรกิจของเราได้เช่นกัน

 .

เจ้าของธุรกิจ ทุกคนต้องรู้และตอบตัวเองให้ได้ว่า เป้าหมายการระดมทุนครั้งนี้คืออะไร ไม่ใช่เพียงการอธิบายถึงธุรกิจของตัวเองแต่เพียงเท่านั้น แต่การสร้างความน่าเชื่อถือด้วยข้อมูลต่าง ๆ ที่เรามี ซึ่งสามารถอธิบายเป้าหมายของธุรกิจได้อย่างชัดเจน ก็เหมือนเป็นการช่วยเปิดโอกาสให้ได้รับการระดมทุนจากนักลงทุนต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

.

สิ่งที่เราต้องทำต่อไปนั้น ก็คือเราต้องกลับมาตอบตัวเองต่อให้ได้ว่าทำไมถึงเลือกการระดมทุนในการขยายธุรกิจ เพราะธรรมชาติของการลงทุนของแต่ละคนนั้นย่อมแตกต่างกันไป แต่หลัก ๆ แล้วจะแบ่งได้ตามนี้

.

  1. Stage

หรือระยะการลงทุน นักลงทุนบางคนชอบลงทุนช่วง Early Stage บางคนชอบลงทุนช่วง Late Stage ดังนั้น ก่อนที่เราจะไปหานักลงทุนเราต้องดูก่อนว่าธุรกิจของเราอยู่ในช่วงไหน และเหมาะสมกับนักลงทุนประเภทใด พวกเขาจะสามารถยอมรับความเสี่ยงได้ระดับไหน? เพราะถ้าไม่เข้าใจจุดเหล่านี้ ก็ไม่มีใครกล้าเสี่ยงจะเข้ามาลงทุนด้วยแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น เราเปิด ธุรกิจร้านอาหาร ขึ้นมาในช่วงเริ่มต้นเราก็ต้องมองหานักลงทุนแบบ Early Stage เพราะคนลงทุนมักจะลงทุนจากความชอบและความถนัดของเขา ดังนั้นกบุ่มนี้จึงเหมาะกับ ร้านอาหาร ของเรา เป็นต้น

.

2.Lead or Follow

ดูประเภทของนักลงทุน เราจำเป็นต้องศึกษาด้วยว่านักลงทุนแต่ละคนเป็น Lead Investor หรือ Follow Investor เพราะนักลงทุนแต่ละประเภทก็ไม่มีเหมือนกัน ยกตัวอย่าง ถ้าเขาเป็น Follow Investor เราควรที่จะขายไอเดีย ธุรกิจร้านอาหาร ให้หลังจากมีนักลงทุน Lead Investor เข้ามาใน ธุรกิจของเราเรียบร้อย เพราะเมื่อมี Lead Investor เข้ามา นักลงทุนประเภท Follow Investor จะสนใจเข้าร่วมลงทุนใน ร้านอาหาร ของเรามากขึ้น 

.

3.Portfolio

ประวัติในการลงทุน ถือเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องรู้ หากนักลงทุนที่เราหมายตาและอยากให้มาลงทุนเพิ่มด้วย เคยมีประวัติการลงทุนกับบริษัทที่ดีมาก่อน ก็เป็นไปได้ว่า พวกเขาจะมาช่วยต่อยอดธุรกิจหรือให้คำแนะนำดี ๆ กับเราได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น พวกเขาจะมีความรู้ในเรื่อง การตลาด จากประสบการณ์ที่เคยลงทุนมา หรือ พวกเขาจะให้คำแนะนำที่ดีเพื่อให้ ธุรกิจร้านอาหาร ของเราเติบโตมากขึ้น และสิ่งเหล่านี้หากเราไม่นำมาพิจารณาด้วยเราจะได้เพียงนักลงทุน แต่ไม่ได้ประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งการมองหาคนที่มีประสบการณืก็จะช่วยส่งเสริมธุรกิจของเราให้ดียิ่งขึ้น

.

4.Valuation

การประเมินมูลค่าของบริษัทหรือธุรกิจของเราออกมา โดยสามารถตีมูลค่าเทียบอิงกับธุรกิจแบบเดียวกันในตลาด จากการคำนวณยอดขายในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ออกมาเป็นมูลค่าบริษัทหรือธุรกิจ เช่น ธุรกิจร้านอาหาร มีค่าใช้จ่ายในการจ้างคน วัตถุดิบ การตลาด ค่าซ่อมบำรุง ค่าน้ำค่าไฟเท่าไหร่ และมีรายได้ต่อเดือน ต่อปีคำนวนออกมาเป็นเท่าไหร่ เป็นต้น

.

5.Value Other Than Money

เราควรพิจารณานักลงทุนที่เราเลือกด้วยว่า นอกจากเงินที่พวกเขาจะมาร่วมลงทุนกับธุรกิจของเรา พวกเขายังมีอะไรมากกว่านั้นอีกหรือไม่ เพราะหลายครั้งนักลงทุนก็ทำให้ธุรกิจเติบโตได้ จากทั้งประสบการณ์ หรือคอนเนคชั่น ที่พวกเขามี ซึ่งถือว่ามีค่ามากกว่าเงินที่ร่วมลงทุนซะอีก

เพราะฉะนั้นนอกจากเงินระดมทุน ปัจจัยอื่น ๆ ที่จะเข้ามาส่งเสริมธุรกิจของเรานั้นสำคัญมากที่เราจะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน และถ้าเป็นไปได้ตอนเลือกหรือคุยกับนักลงทุนต่าง ๆ ให้เรานำเสนอผลการทำงานต่าง ๆ ของเรา หรือสถิติข้อมูลต่าง ๆ ในธุรกิจ เพื่อมาช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจของเราเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการทำให้มูลค่าของธุรกิจเราเพิ่มขึ้นจนเป็นที่สนใจของนักลงทุน และเมื่อเขาสนใจในธุรกิจของเราเขาก็จะกล้าเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการขยายตลาดจากรากฐานที่เรามีอยู่นั่นเอง