เทคนิคการเก็บพริก ให้สดใหม่ได้นาน ลด Waste ต้นทุนไม่บานปลาย
พริก เป็นวัตถุดิบที่อยู่คู่ครัวไทยมาอย่างยาวนานและมีความสำคัญต่ออาหารไทยแทบทุกเมนู ไม่ว่าจะเป็นแกง ต้ม ผัด หรือน้ำพริก พริกช่วยเพิ่มสีสันให้อาหารดูน่ารับประทานและสร้างมิติของรสชาติที่หลากหลายโ
ดยเฉพาะความจัดจ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทย นอกจากนี้ ความเผ็ดร้อนของพริกยังช่วยกระตุ้นความอยากอาหารได้เป็นอย่างดี
หนึ่งในปัญหาสำหรับการเลือกใช้พริกที่พบเจอบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในร้านอาหารก็คือ การซื้อพริกในปริมาณมากเพื่อให้ได้ราคาต้นทุนต่อกิโลกรัมที่ต่ำลง ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับร้านอาหารที่ต้องใช้วัตถุดิบจำนวนมากในแต่ละวัน
แต่หากเก็บรักษาพริกอย่างไม่ถูกวิธี พริกที่ซื้อมาอาจเน่าเสียก่อนจะถูกนำไปใช้ ทำให้เกิดการสูญเสียวัตถุดิบที่สามารถใช้ได้ (food waste) และเพิ่มต้นทุนที่ต้องซื้อใหม่อีกด้วย นอกจากนี้พริกที่ไม่สดใหม่อาจมีกลิ่นที่ไม่หอมจนส่งผลเสียต่อรสชาติของอาหารอีกด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ราคาของพริกที่มีความผันผวนในบางช่วงเวลา โดยเฉพาะในฤดูที่ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยหรือมีปัญหาด้านการเพาะปลูก ราคาพริกที่พุ่งสูงขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อการควบคุมต้นทุนในการทำอาหารด้วยเช่นกัน
ดังนั้นในการจัดการวัตถุดิบให้สดใหม่และคงคุณภาพที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งวันนี้ Cook วงใน จะมาแชร์เทคนิคการจัดการพริกสด ให้สดใหม่อยู่ได้นาน ด้วยขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากมาให้ทดลองนำไปปรับใช้กัน ด้วยวิธีดังนี้ค่ะ
#คัดเลือก
เลือกซื้อพริกที่มีคุณภาพดี สีสันสดใส ผิวเรียบตึง ไม่มีรอยเหี่ยวย่น ขั้วพริกสด ไม่เหี่ยว และไม่เปลี่ยนสี พริกที่ดีควรมีความแข็งเมื่อกดเบาๆ ไม่นิ่มหรือยุบตัว ไม่มีรอยช้ำหรือกลิ่นเหม็น ซึ่งขั้นตอนการคัดเลือกนี้มีความสำคัญ เพราะพริกที่มีคุณภาพดีจะมีอายุการเก็บรักษาที่นานยิ่งขึ้น
#ล้าง
การล้างพริกให้สะอาดช่วยป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคและช่วยยืดอายุการเก็บรักษา ซึ่งเราควรล้างพริกด้วยน้ำสะอาด และอย่าแช่น้ำนายเกินไป เพราะจะทำให้น้ำซึมเข้าไปในพริกและเกิดการเน่าเสียได้ ระหว่างล้างควรเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ และคัดแยกเม็ดพริกส่วนที่เสียออก วางพริกบนตะแกรงหรือกระชอน เพื่อให้สะเด็ดน้ำเพราะความชื้นที่ตกค้างจะทำทำให้พริกเน่าเสียได้ง่าย
#เด็ดขั้ว
ขั้วพริกเป็นส่วนที่บอบบางและเน่าเสียได้ง่ายจึงควรเด็ดขั้วพริกออกก่อนเก็บ ใช้มีดคมตัดขั้วพริกให้ชิดกับเม็ดพริกมากที่สุด ถ้าใช้มีดที่ไม่คมจะทำให้พริกมีรอยช้ำและเน่าเสียง่าย
#ห่อ
ใช้กระดาษทิชชูอเนกประสงค์ห่อพริกก่อนเก็บ เพราะกระดาษอเนกประสงค์จะช่วยดูดซับความชื้น และป้องกันการเสียดสีระหว่างพริกกับภาชนะที่ใช้เก็บซึ่งช่วยลดความเสียหายและป้องกันการเกิดเชื้อรา ไม่ควรห่อพริกแน่นเกินไปและหมั่นเปลี่ยนกระดาษอเนกประสงค์ที่ห่อพริกเมื่อเห็นมามีความชื้นซึมออกมาด้านนอก
#บรรจุกล่อง
เก็บพริกที่ห่อแล้วในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท เช่น กล่องพลาสติก ถุงซิปล็อก หรือถุงสูญญากาศ เพื่อป้องกันอากาศ ความชื้น และเชื้อโรคจากภายนอก รวมถึงลดการสูญเสียความชื้นของพริกเองอีกด้วย
#เก็บ
ควรเก็บพริกในช่องผักซึ่งมีอุณหภูมิที่เหมาะสม และตรวจสอบพริกเป็นระยะ หากพบว่าพริกเริ่มเน่าเสีย ให้คัดแยกส่วนที่เสียนั้นออก เพื่อป้องกันพริกส่วนอื่น ๆ เน่าเสียตามไปด้วย และถ้าต้องการเก็บพริกให้นานยิ่งขึ้น สามารถเก็บพริกในถุงสูญญากาศ ก่อนนำไปแช่ในช่องแช่แข็ง ก็จะช่วยให้พริกมีความสดนานมากขึ้น
นอกจากรู้ในเรื่องวิธีการเก็บผักให้อยู่ได้นานยิ่งขึ้นแล้ว ในการคำนวณต้นทุนอาหารในแต่ละครั้ง เราอาจจะต้องคิดเผื่อในช่วงที่วัตถุดิบตัวสูงขึ้นโดยอาจจะหาค่าเฉลี่ยราคาของวัตถุดิบ ในช่วงที่ราคาวัตถุดิบต่ำ ราคาคงที่ และช่วงที่ราคาขึ้นสูง แล้วคำนวณออกมาเป็นต้นทุนกลาง ๆ ของวัตถุดิบนั้น ๆ จะทำให้ไม่ต้องปรับต้นทุนในทุก ๆ ครั้งที่วัตถุดิบขึ้นราคา เพราะต้นทุนที่เพิ่มขึ้น หมายถึงถึงกำไรที่ลดลงตามไปด้วยเช่นกัน
หวังว่า เทคนิคการเก็บพริก จากเชฟหมีที่นำมาฝากกันในวันนี้ จะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการทุกคนนะคะ ไว้เจอกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ 🥰
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : @torpenguin
YouTube: Torpenguin
อ่านบทความ Cookวงใน อะไรต่อดี?
- แสบมือจากพริก เรื่องไม่เล็กของคนทำครัว แก้ให้หายด้วยวิธีเหล่านี้
- วิธีเก็บถั่วงอกดิบ คืนชีพถั่วงอกให้สดใหม่อยู่ได้นาน ไม่ต้องซื้อใหม่ ลด Waste คุมต้นทุนได้
- แจกสูตรน้ำจิ้มแจ่ว รสเด็ด กินกับอะไรก็อร่อย แถมทำที่เดียวเก็บได้ยาว ๆ สำหรับร้านอาหาร
- ทำไมทำร้านอาหารถึงต้องมีเขียงหลายสี? มีประโยชน์อย่างไร
- เก็บต้นหอมให้อยู่ทน เปิดทริคสำหรับร้านอาหาร ให้อยู่ได้นานถึง 20 วัน
- เทคนิคการเลือกใช้ผักจัดจานให้ดูแพง สะดวก ง่าย ประหยัดต้นทุน กระตุ้นยอดขาย
- ปอกหัวหอมไม่ให้แสบตา เคล็ดลับหั่นหอมแบบไม่ต้องเสียน้ำตาอีกต่อไป
- เก็บผักให้อยู่ได้นาน กับ 3 เทคนิคเก็บผักสำหรับร้านอาหาร สู้ต้นทุนผักพุ่ง!
- คืนชีพผักเหี่ยว ให้กลับมาสดกรอบน่ากิน สำหรับร้านอาหาร 3 วิธีนี้