ชื่อร้านอาจเป็นสิ่งที่ เจ้าของธุรกิจ หลาย ๆ คนไม่ได้ให้ความสนใจ เพราะมั่นใจว่า ร้านอาหาร ของท่านมีดีที่รสชาติอาหาร ทำอย่างไร? คนก็ชอบและมาใช้บริการอยู่ดี แต่คุณอาจจะลืมไปนะครับว่า ชื่อร้าน ก็เหมือนประตูด่านแรกที่ทำให้คนรู้จักกับ ร้านอาหาร ของคุณ หรือ อาจเรียกได้ว่าเป็น การตลาด ให้กับ ธุรกิจร้านอาหาร เลยก็ได้ เพราะ คงไม่มีหรอกครับคนที่เข้าไปกินอาหารโดยที่ไม่รู้แม้กระทั่งชื่อร้านหรอกใช่มั้ยครับ?

.

ชื่อร้านที่ดีทำให้ง่ายต่อการทำ การตลาด อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสให้คนบอกต่อเพื่อเพิ่มโอกาสในการขายได้อีกด้วยนะครับ วันนี้ผมมีเทคนิคการตั้งชื่อร้านมาฝากเจ้าของธุรกิจกันครับ

.

  1. ชื่อร้านต้องจำได้ง่ายและสะกดง่าย

นิสัยของคนไทยชอบตั้งชื่อให้เว่อร์วังอลังการเอาไว้ก่อน แต่ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า ชื่อที่อ่านยาก ต้องนั่งผันวรรณยุกต์กันแบบนี้ อาจไม่เข้าปากคนไทย ดังนั้นโปรดเลือกชื่อที่จำได้ง่าย อ่านออกได้ทุกคนจะดีกว่าครับ เช่น ร้านอาหารชื่อ au bon pain คนไปอ่านว่า อุบลเพ็ญ!! เป็นต้น

 

เลยกลายเป็นว่าสมมุติว่าวันนี้ลูกค้ามาทานอาหารที่ร้านของเราซึ่งเป็น ร้านเบเกอร์รี่ร้านหนึ่ง ซึ่งลูกค้าชอบมากประทับใจมาก และตั้งใจจะแนะนำเพื่อนต่อ ประโยคสนทนาจะออกมาเป็นแบบนี้ครับ “นี่วันนี้ ฉันไปกินขนมปังร้านนึงมา อร่อยมาก ชื่อร้านอะไรนะ อุบลเพ็ญ อะไรซักอย่างนี่ล่ะ” หรือเลวร้ายกว่านั้น อาจจะเล่าแค่ว่า “ไปกินขนมปังร้านหนึ่งมา อร่อยมากแต่จำชื่อร้านไม่ได้แล้วล่ะ” พอเป็นแบบนี้คนรู้จักของลูกค้าเราแทนที่จะได้มาตามรอย หรือ ไปเสิร์ชหาเพื่อไปทานบ้างก็ทำต่อไม่ได้ แบบนี้เรียบร้อยเลยเพราะแม้จะเกิดการบอกต่อ แต่ไม่สามารถมาถึง ร้านอาหาร ของเราได้ก็คือจบเลยครับ

อันนี้เพิ่มเติมครับ ถ้าอย่างเราทำร้านอาหารไทยเนี่ย ข้อควรระวังเลยคือ ชื่อร้านเรามันจะต้องเป็นอะไรที่ฝรั่งก็ต้องสะกดได้ง่ายด้วย เป็นเทคนิคเล็กๆ ที่เผื่อใครเอาไปใช้นะครับ

 

  1. ต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

อย่าเสียเวลาไปตั้งชื่อให้คล้ายกับคู่แข่งเลยครับ คุณอาจเคยเห็นเคสแบบนี้ตามร้านอาหารทะเล ที่ชื่อคล้ายกันมาก ปูเป็นปู ปูเป็น ๆ ปูเป็น ๆ ปูสดเป็นๆ ฯลฯ นากจากจะทำให้ลูกค้าสับสน และอาจะพาลไปผิดร้านแลว อีกอย่างที่น่ากลัวก็คือถ้าเราชื่อเสียงไม่ดีกว่าเขา ลูกค้าจะรู้สึกว่าเราไป Copy ร้านนั้นทันทีเลยครับ แถมยิ่งเป็นการทำให้คู่แข่งเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้นทางที่ดีเรามาหาทางตั้งชื่อร้านที่แตกต่างไปจากที่มีในตลาดไปเลยจะดีที่สุดครับ

 

  1. ชื่อร้านจะต้องบ่งบอกถึง Concept ร้าน และประเภทของอาหารที่ขาย

พอเราได้ชื่อร้านที่อ่านง่าย และแตกต่างแล้ว อย่าลืมบอกด้วยนะครับว่าร้านเรา Concept ขายอาหารแบบไหน เพราะลูกค้าคงไม่เข้าร้านที่ไม่รู้ว่ากำลังจะขายอะไรอยู่แน่นอนครับ เช่น ยืนอยู่ตรงหน้าร้านที่มีไก่แขวนอยู่แต่ไม่แน่ใจว่าขายข้าวมันไก่ หรือ ไก่ต้มไหว้เจ้ากันแน่ แบบนี้ก็คือลูกค้าไม่เข้าใจ Concept ร้านนั่นเอง

เทคนิคในการตั้งชื่อร้านเป็นสิ่งสำคัญมากในธุรกิจร้านอาหาร เพราะมันสามารถบอกประเภทของอาหารได้เลย นั่นคือ การเอาประเภทของอาหารขึ้นต้นชื่อ หรือลงท้ายชื่อไปเลยก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ใช้ได้เหมือนกันครับ และอีกเรื่องนึงที่ควรระวังเลยคือ การลงท้ายด้วยคำว่า Bistro, Brasserie, Cuisine ซึ่งผมเห็นเยอะมากครับ ศัพท์เหล่านี้เป็นศัพท์ที่ลูกค้าคนไทยไม่ค่อยเข้าใจความหมาย และมันจะทำให้เขาตัดสินไม่เข้าร้านคุณได้เช่นกัน

  1. อย่าลืมคิดถึงการขยายตัวในอนาคตด้วย

เราอาจเห็นหลาย ๆ ร้านที่ตั้งชื่อร้านโดยใส่ทำเลที่ตั้งลงท้ายไปด้วย ซึ่งจริงๆ มันก็ในแง่ของ การตลาด นะครับเพราะลูกค้าสามารถรู้ได้เลยว่าร้านเราอยู่ตรงไหน ยิ่งถ้ามีสาขาเดียวมันเป็นเรื่องที่ดีครับ แต่เมื่อไหร่ที่ เจ้าของกิจการ คิดจะขยายสาขา หรือ ขายแฟรนไชส์ขึ้นมา มันจะเป็นปัญหาแล้วล่ะครับ เพราะลูกค้าอาจจะสับสนได้ ดังนั้น การคิดชื่อเผื่อเอาไว้เมื่อคุณต้องการจะขยายสาขาก็ดีเหมือนกันนะครับ ลูกค้าจะได้ไม่สับสนไปด้วย

 

พูดมาถึงตรงนี้แล้ว ผมก็อยากจะบอกว่าการตั้งชื่อร้านเป็นอะไรที่จำเป็นและสำคัญมากๆ ด้วย สำหรับ ธุรกิจร้านอาหาร เพราะชื่อนี้มันจะอยู่กับเราไปตลอดชีวิตของการทำร้านนี้เลย ถ้าตั้งไม่ดีหรือไม่ตั้งใจตั้งตั้งแตแรกมันอาจกลายเป็นตราบาปที่ติดตัวเราไปตลอดชีวิตเลยนะครับ.