เปิดเพลงในร้านอาหาร

บอกเลยว่ายุคนี้เรื่องของ ลิขสิทธิ์ เป็นอะไรที่เริ่มจริงจังมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก ซึ่งอีกหนึ่งสิ่งที่เกี่ยวข้องกับก็คือ ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์เพลงต่าง ๆ ที่เจ้าของร้านต้องระวัง และควรศึกษาถึงข้อกฎหมายในเรื่องนี้ให้มากขึ้น ไม่งั้นปัญหาชวนปวดหัวได้ตามมาอีกแน่ ๆ มาดูกันว่ามีถ้าจะ เปิดเพลงในร้านอาหาร คาเฟ่ให้ถูกกฎหมายต้องทำอย่างไร

ขั้นตอนการ เปิดเพลงในร้านอาหาร
ไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์

1. อยากแรกเลย เจ้าของร้านควรตรวจสอบรายชื่อเพลงที่จะใช้เปิด ว่ามีบริษัทใดจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์บ้าง โดยตรวจสอบได้ที่ เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา www.ipthailand.go.th

2. ป้องกันตัวเองดีที่สุด ด้วยการเลือกใช้เพลงที่ศิลปินหรือค่ายเพลงนั้น ๆ ประกาศอนุญาตให้ใช้ได้โดยไม่เสียค่าลิขสิทธิ์

3. หมั่นศึกษาและตรวจสอบความเคลื่อนไหวของรายชื่อเพลงที่แจ้งจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ ในเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง

4. จำกัดการใช้งานเพลงเพื่อหลีกเลี่ยงการโดนค่าลิขสิทธิ์ และลดปัญหาการถูกดำเนินคดี ถือเป็นการลดต้นทุนอย่างหนึ่งได้ด้วย

5. หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์เพลงขึ้นมาจริง ๆ และต้องการจ่ายค่ายอมความ เจ้าของร้านจะต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ และระบุรายชื่อเพลง และจำนวนเงินที่ยอมความในบันทึกยอมความไว้เป็นหลักฐานเสมอ

จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้ว ขั้นตอนไม่ได้ยากเลย ในการทำเรื่องเจรจาค่าลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เจ้าของร้านเองก็จะได้สบายใจ ไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้ แต่ในอีกกรณีที่ถ้าบางร้านอาจจะไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการเจรจาค่าลิขสิทธิ์ หรือเปิดเพลงที่ไม่ได้รับอนุญาตโดยไม่ทราบ จนถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์นั้น จะต้องทำตามขั้นตอนเหล่านี้

1. ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เนื่องจากคดีละเมิดลิขสิทธิ์เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว หรือความผิดอันยอมความได้ เจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจะต้องแจ้งความร้องทุกข์ก่อนดำเนินคดี มิฉะนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่มีอำนาจในการจับกุมดำเนินคดี

2. ตรวจสอบหลักฐานการแสดงความเป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น หลักฐานการเป็นผู้สร้างสรรค์ ผู้รับโอนสิทธิ์ หรือเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ หรือการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์โดยวิธีอื่น

3. ตรวจสอบหลักฐานการมอบอำนาจ ให้ตัวแทนมาดำเนินคดี เช่น หนังสือมอบอำนาจหมดอายุหรือไม่ การมอบอำนาจนั้นสามารถมอบอำนาจช่วงได้หรือไม่ การมอบอำนาจช่วงต้องกระทำโดยไม่ขาดสายถึงผู้มอบอำนาจคนแรก และมีอำนาจในการร้องทุกข์ ถอนคำร้องทุกข์ หรือยอมความหรือไม่เป็นต้น

4. การดำเนินคดี จะต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาด้วย และผู้ประกอบการอาจขอดูบัตรประจำตัว เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าจับกุม

5. การตรวจค้นในที่รโหฐาน เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องมีหมายศาลมาแสดง ก่อนที่จะทำการตรวจค้น

6. คดีละเมิดลิขสิทธิ์เพลง สามารถยอมความ (ตกลงค่าเสียหาย) เพื่อยุติคดีด้วยการถอนคำร้องทุกข์ หรือถอนฟ้อง หากต้องการยอมความ ควรทำต่อหน้าพนักงานสอบสวนเท่านั้น และลงบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่ายอมความในลิขสิทธิ์เพลงอะไร จำนวนเงินเท่าใด

>> วิธีตรวจสอบ ลิขสิทธิ์เพลง <<

1.เข้าไปที่เว็บไซต์
1.1 ตรวจสอบรายชื่อบริษัท
1.2 ตรวจสอบรายชื่อเพลง ของแต่ละบริษัทจัดเก็บ

2. ตรวจสอบว่าเพลงที่ต้องการใช้ มีการจัดเก็บในลิขสิทธิ์ประเภทใด

2.1 ดนตรีกรรม (งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้องไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และหมายความรวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว)
.
2.2 สิ่งบันทึกเสียง (สิ่งที่ประกอบขึ้นจากเสียงที่ได้บันทึกลงในสื่อเช่น คอมแพคท์ดิสก์, คาสเสทท์, เทป หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถบันทึกเสียงได้ หรืออีกนัยหนึ่ง คือต้องเป็นเสียงที่อยู่บนซีดี (ไม่ใช่ตัวแผ่นซีดี) จึงจะถือว่าเป็นสิ่งบันทึกเสียงได้)

3. การจ่ายค่าตอบแทนให้กับบริษัทจัดเก็บ
3.1 เพลง รักเอย
ดนตรีกรรม + งานสิ่งบันทึกเสียง
บริษัท ก. อ้างสิทธิจัดเก็บ เท่ากับว่า จ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับบริษัท ก. รายเดียว

3.2 เพลง รักเอย
ดนตรีกรรม = บริษัทจัดเก็บ ก. อ้างสิทธิจัดเก็บ
สิ่งบันทึกเสียง = บริษัทจัดเก็บ ข. อ้างสิทธิจัดเก็บ
เท่ากับว่า จ่ายค่าลิขสิทธิ์ทั้งบริษัท ก. และ บริษัท ข.

3.3 เพลง รักเอย
ดนตรีกรรม = บริษัทจัดเก็บ ก. อ้างสิทธิจัดเก็บ
สิ่งบันทึกเสียง = บริษัทจัดเก็บ ข. อ้างสิทธิจัดเก็บ
ดนตรีกรรม = บริษัทจัดเก็บ ค. อ้างสิทธิจัดเก็บ

กรณีนี้ ถือว่ามีการอ้างสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมมากกว่าหนึ่งรายการ หลีกเลี่ยงการใช้งานเพลงนี้ เพราะแม้ว่าจะจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับบริษัท ก. และบริษัท ข. แล้ว บริษัท ค. อาจอ้างสิทธิ์ในงานดนตรีกรรม เพื่อเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์ หรือดำเนินคดีได้ ดังนั้น กรณีนี้ถือว่าเป็นเพลงที่มีปัญหาความซ้ำซ้อนในการเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์ค่อนข้างมาก ควรหลีกเลี่ยงในการนำมาใช้จะดีกว่า

เห็นแล้วว่าเรื่องของลิขสิทธิ์ ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เลย เพราะฉะนั้นควรรอบคอบในการ เปิดเพลงในร้านอาหาร อย่างมาก ถ้าคุณไม่อยากเสียเวลา เสียเงิน ที่สำคัญเสียชื่อเสียงที่อาจกู้กลับมาได้ยาก

ข้อมูล กรมทรัพย์สินทางปัญญา

 

📌 ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin

👉 อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
คิดแบบ Sushiro ร้านซูชิสายพานที่ใช้ทุกอย่างในร้านเก็บข้อมูลลูกค้า ยันทำคอนเทนต์
Lucky’s Hungry ข้าวผัดอเมริกันบนเดลิเวอรี ที่ไม่ได้ใช้แค่ “โชค” เป็นส่วนประกอบ
เช็กเลย! คุณกำลัง ลดต้นทุนร้านอาหาร แบบผิด ๆ อยู่หรือเปล่า?
ถอดบทเรียน พี่เขียวข้าวเหนียวห่อ ทำคอนเทนต์ยังไงให้ปังบน TikTok
เจ้าของธุรกิจ ไม่ได้เป็นง่ายอย่างที่คิด 5 สิ่งที่ เจ้าของกิจการต้องรู้ดีที่สุด
วิธีบริหารคน แบบฉบับ McDonald’s ทำอย่างไร ถึงสร้างมาตรฐานเหมือนกันทุกสาขาทั่วโลก