กลยุทธ์ตั้งราคาสินค้า

อีกหนึ่งความท้าทายของคนทำธุรกิจก็คือเรื่องของ การตั้งราคาสินค้า เพราะไม่ใช่ว่าอยากตั้งเท่าไหร่ก็ได้ แต่คุณต้องกำหนดราคาของสินค้าก่อนวางจำหน่ายให้มีความเหมาะสมต่อปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ รวมถึงคำนึงถึงกลยุทธ์ทางธุรกิจ ตั้งอย่างไรถึงจะมีความเหมาะสม โดนใจผู้ซื้อ และไม่กระทบกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ เอาล่ะมาดูวิธีการตั้งราคาสินค้ากัน แล้วต้องใช้ กลยุทธ์ตั้งราคาสินค้า แบบไหนถึงทำให้ลูกค้ายอมจ่ายได้

กลยุทธ์ตั้งราคาสินค้า

👉 ตั้งราคาแบบประหยัด (Economy Pricing) กลยุทธ์นี้เหมาะกับธุรกิจร้านที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เนื่องจากเป็นการใช้วิธีตั้งราคาประหยัด ทำให้กำไรลดลง แต่ยอดซื้อมากขึ้น หากธุรกิจของคุณเพิ่งเริ่มต้น หรือเป็นธุรกิจค้าขายขนาดเล็ก วิธีนี้อาจไม่เหมาะ

👉 ตั้งราคาแบบสูงกว่าตลาด (Premium Pricing) เทคนิคนี้สามารถทำได้เมื่อคุณมั่นใจในสินค้าของร้านตัวเองว่า มีคุณภาพเทียบเท่าหรือมากกว่าคู่แข่ง และต้องเป็นสินค้าที่ค่อนข้างมีราคา เพราะเมื่อตั้งราคาที่สูงแล้ว ส่งผลให้ลูกค้าย่อมคาดหวังในตัวสินค้าแน่นอน รวมถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ แพ็กเกจจิ้ง และบริการหลังการขายด้วย

👉 ตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา (Psychological Pricing) อีกหนึ่งกลยุทธ์ยอดนิยมไม่แพ้กันก็คือ การตั้งราคาแบบอาศัยหลักจิตวิทยา คุณอาจสังเกตได้ว่าร้านค้าหลาย ๆ ร้าน ใช้วิธีการตั้งราคาที่ลงท้ายด้วยเลข 9 ซึ่งเราเห็นบ่อยมาก เช่น จากราคา 300 ก็ตั้งเป็น 399 บาท ทำให้รู้สึกว่าราคาไม่แพง เพราะในทางจิตวิทยาคนส่วนใหญ่สนใจเลขตัวหน้ามากกว่า

กลยุทธ์ตั้งราคาสินค้า
👉 ตั้งราคาแบบจับคู่สินค้าลดราคา (Bundle Pricing) กลยุทธ์นี้เรียกว่าเป็นอีกวิธียอดนิยมที่หลายร้านมักเลือกใช้ โดยการนำสินค้ามาจับเป็นคู่หรือเป็นเซตในราคาพิเศษ เพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณขายของได้ง่ายขึ้นด้วย รวมถึงช่วยให้สินค้าที่ขายออกยากมีโอกาสขายได้ไปด้วยนั่นเอง

👉 ตั้งราคาแบบรุกตลาด (Penetration Pricing) การตั้งราคาแบบนี้ เป็นการตั้งราคาของสินค้าที่ผู้ขายต้องการดึงดูดลูกค้าให้มาซื้อสินค้า หรือบริการตัวใหม่ โดยจะทำการรุกตลาดด้วยวิธีการตั้งราคาให้ต่ำในช่วงแรกที่นำเข้ามาขาย เมื่อมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น ก็จะปรับมาเป็นราคาปกติ

👉 ตั้งราคาแบบตามคู่แข่งในตลาด (Competitive Pricing) สินค้าตามท้องตลาดในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่ามักจะเป็นสินค้าคล้าย ๆ กัน การตั้งราคาแบบตามคู่แข่งในตลาดจึงถูกนำมาใช้ค่อนข้างมาก ตั้งราคาสูง ต่ำ ไม่หนีกันเท่าไหร่

👉 ตั้งราคาตามฤดูกาล (Seasonal Pricing) กลยุทธ์สุดท้ายนี้ ก็เป็นวิธีที่เราเห็นได้ค่อนข้างบ่อย เพราะเป็นการดึงดูดผู้ซื้อโดยใช้วันสำคัญ หรือเทศกาลต่าง ๆ เข้ามามีส่วนในการตั้งราคาพิเศษเฉพาะวันนั้น ๆ เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้ซื้อตั้งตารอคอยสินค้ามากขึ้น รวมถึงเพิ่มโอกาสในการขายอีกด้

📌 ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin

👉 อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ถอดบทเรียน พี่เขียวข้าวเหนียวห่อ ทำคอนเทนต์ยังไงให้ปังบน TikTok
เจ้าของธุรกิจ ไม่ได้เป็นง่ายอย่างที่คิด 5 สิ่งที่ เจ้าของกิจการต้องรู้ดีที่สุด
วิธีบริหารคน แบบฉบับ McDonald’s ทำอย่างไร ถึงสร้างมาตรฐานเหมือนกันทุกสาขาทั่วโลก
คิดแบบ Sushiro ร้านซูชิสายพานที่ใช้ทุกอย่างในร้านเก็บข้อมูลลูกค้า ยันทำคอนเทนต์
Lucky’s Hungry ข้าวผัดอเมริกันบนเดลิเวอรี ที่ไม่ได้ใช้แค่ “โชค” เป็นส่วนประกอบ
เช็กเลย! คุณกำลัง ลดต้นทุนร้านอาหาร แบบผิด ๆ อยู่หรือเปล่า?